Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เรื่องเครื่องสำอางกับรัก
•
ติดตาม
18 ก.ค. 2021 เวลา 04:11 • ความงาม
วันนี้เอาใจสายรักษ์โลก
หลังจากที่ แอนนิเมชั่น #Save_Ralph ถูกแชร์ออกไปทั่วไทยและทั่วโลก
ทำให้ทุกๆคนตระหนักต่อ คำว่า
#สวยไม่ทำร้ายสัตว์มากขึ้น
No animal should suffer and die in the name of beauty
วันนี้รักจะมาแชร์
10 ข้อต้องรู้เรื่อง Cruelty free และ non animal testing
เพื่อให้ทุกคน #รู้อดีต
ที่มากว่าจะเป็นแอนิเมชั่นที่หลายๆคนต่างพูดถึง
ทำไมต้องทดลองกับสัตว์
#รู้ปัจจุบัน
กฎหมายตอนนี้อัพเดตไปถึงไหน
และจะทำยังไงถ้าอยากจะทำอะไรซักอย่างเพื่อขอโทษสัตว์ตัวเล็กๆที่ต้องมาเจ็บตัวเพราะเรา
#รู้อนาคต
รู้ทริคที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากนี้
เพราะหลังจากนี้การตลาดต้องมาเต็มแน่นอน
เพื่อให้คนที่อยากเซฟชีวิตน้องได้เซฟจริงๆ
และให้น้องๆกระต่ายรวมถึงสัตว์ทดลองอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น
10 ข้อต้องรู้เรื่อง Cruelty free และ non animal testing
#ข้อ1
#การทดสอบเครื่องสำอางในสัตว์ทดลองมีมานานแล้ว
โดยเฉพาะวงการยา
แต่เครื่องสำอางในครั้งแรกที่ทำก็เพราะว่ากฎหมายพูดว่าผู้ผลิตต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้บริษัทเครื่องสำอางตีความผิด เห็นว่ายาก็ทดลองกับสัตว์เลยทำบ้าง และด้วยความที่กลัวโดนฟ้องจากเคสแพ้และเสียภาพลักษณ์จึงทำให้ตัดสินใจเทสเรื่อยมา
#ข้อ2
#เมื่อการทดลองมีมานานการต่อต้านก็มีมานานเช่นกัน
ตั้งแต่ปลายยุค 80-90
คนในวงการเครื่องสำอางต่างรับรู้
แต่เพิ่งมาดังจริงๆในปมู่คนทั่วไปก็ตอนมี #SaveRalph
เเละสาเหตุก็คือ
เครื่องสำอางเริ่มเคลมความปลอดภัยแบบจัดใหญ่ไฟกระพริบมากขึ้น
มีการออกสินค้าใหม่ตลอดในทุกๆซีซั่น
ทำให้การทดสอบในสัตว์ทดลองหนักหน่วงขึ้น
เทสทั้งสาร ทั้งผลิตภัณฑ์ซ้ำซ้อนไปหมด
โอกาสเกิดการเทสเถื่อนก็มาก
ทำให้เริ่มมีการเคลื่อนไหวขององค์กรอิสระออกมาก่อน
และพัฒนาเป็นกฎหมายในบางประเทศ
#ข้อ3
#แต่ถึงจะมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ก็ยังมีประเทศที่สวนกระแสนี้อยู่
นั่นคือ จีนและญี่ปุ่นที่ยังบังคับทดสอบ
โดยเฉพาะประเทศจีนที่เอาจริงเอาจังมาก ไม่เทสไม่ต้องขายจีน
ญี่ปุ่นถึงจะยังบังคับ แต่ก็ทดสอบแค่ Quasi drug
ส่วนประเทศไทยไม่บังคับอะไรเลย จะทดสอบก็ไม่ผิดแต่ก็ไม่ได้สนับสนุนให้ตระหนักเช่นกัน
#ข้อ4
#Cruelty_free_ที่พูดถึงกันเป็นแค่ความร่วมมือแต่ถ้ากฎหมายต้อง_non_animal_testing
Cruelty ออกโดยองค์กรอิสระ
เช่น PETA (People for the Ethical Treatment of Animals) ของอเมริกา
หรือ CCF (Choose Cruelty-Free) ของออสเตรเลีย
ส่วน non animal testing เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย ของ EU
ซึ่งถ้าใครอยากจะส่งไปขาย EU ไม่ยากเลย
แค่ต้องพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ทดลองกับสัตว์แม้แต่นิดเดียว
(สวนทางกับจีนสุดๆ)
#ข้อ5
#เมื่อการบังคับใช้ต่าง_ความหมายก็ต่างไปด้วย
cruelty free จะต้องไม่มีการทดลองกับสัตว์เลย
ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ สูตรที่กำลังพัฒนา จนถึง product
และสัญญาว่าจะทำแบบนี้เรื่อยไปแต่ไม่ห้ามทำการตลาด
ในขณะที่ non animal testing
มีความหมายเหมือนกันแต่ห้ามโฆษณาหรือทำการตลาดด้วย
ตามกฎมายล่าสุดของปี 2013
เพราะเค้าถือว่าเป็นความจำเป็พื้นฐานที่ทุกคนควรรู้และไม่จำเป็นต้องชวนซื้อด้วยเรื่องนี้
#ข้อ6
#ถึงจะมีคำว่า_cruelty_free_หน้ากล่องแต่ก็ยังซ่อนทริคต่างๆอีกมากมายได้อีก
เพราะนิยามแต่ละองค์กรหรือประเทศไม่ตายตัว
สิ่งที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้เคลม Cruelty free ได้หมด
-วัตถุดิบทดสอบ แต่ Product ไม่ได้ทดสอบ
-แบรนด์ไม่ได้ทดสอบเอง แต่จ้างคนอื่นทดสอบ
-แบรนด์ไม่ได้ทดสอบเอง แต่ไปหยิบผลจากบริษัทอื่นที่เค้าทดสอบมาใช้
- หนีไปทดสอบประเทศอื่น เช่น เดิมขายในยุโรปที่เค้าห้าม แต่พอไปขายจีนเลยเทส
-วัตถุดิบมาจากสัตว์อาจจะมีการ Kill บ้าง แต่ไม่ได้เทสกับสัตว์ (อันนี้เคลมcruelty free ได้ แต่เคลม vegan หรือมังสวิรัติไม่ได้)
#ข้อ7
#แต่ๆ_cruelty_free_แบบที่ไม่มีทริคก็มีนะ
เช่น
- แบรนด์เคยเทสกับสัตว์มาก่อน แต่ตอนนี้ไม่ทำแล้ว
- ใช้วัตถุดิบที่เคยเทสมาก่อน แต่ตอนนี้สารนั้นก็เลิกเทสไปแล้ว
- ทำทุกอย่างที่ตรงเงื่อนแต่ดันไม่ขอโลโก้ (มักเกิดข้นในประเทศที่ไม่ได้มีการบังคับแต่กัยังไม่ได้ตระหนักรู้ เช่น ไทย)
- ส่วน cruelty free ที่เป๊ะสุดแบบไม่งง คือ
ทำทุกอย่างตามเงื่อนไขและ ขอโลโก้มาใช้จริงๆเป็นกิจลักษณะเลย
#ข้อ8
#มารู้จัก_Logo_ที่ถูกต้องกันดีกว่า
Non animal testing ไม่มีโลโก้ใดๆ มีแต่ตัวหนังสีอที่เขียนแปะไว้เท่านั้น
Cruelty คือ สัญลักษณ์กระต่ายกระโดดหนี หรือ leaping bunny
และที่สำคัญ คือ ก่อนซื้อ ควรเข้าไปในเว็บไซต์ขององค์กรและเช็กแบรนด์ที่จดทะเบียนก่อนจึงจะชัวร์ที่สุด
เพราะแปะไว้แต่ไม่ขอใช้ก็มีเยอะ
#ข้อ9
#การอิมพอร์ตเครื่องสำอางจากประเทศที่มีการรับรองว่าไม่ทดสอบในสัตว์
ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีการทดสอบในสัตว์ทดลองอีกเลย
เพราะส่งขายที่ไหนใช้กฎหมายประเทศนั้น
เช่น เคยขายยุโรปถ้าจะขายจีนก็ต้องเทสกับสัตว์ก่อน
หรือขายที่อเมริกาจะขายในไทยก็ไม่จำเป็นต้องเทสหรือจะเทสก็ไม่ผิด
ถ้าให้ชัวร์ต้องซื้อของที่ทั้งมีตราสัญลักษณ์ และจำหน่ายในประเทศนั้นๆด้วย
#ข้อ10
#สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำได้จากเรื่องนี้
ตอนนี้ใช้ของที่มีให้คุ้มค่ากับชีวิตน้องที่เสียไปให้มากที่สุด
ใช้ทุกวันสม่ำเสมอ ไม่ทิ้งขว้าง เพราะการเทสที่น้องเจอน้องต้องถูกทาทุกวันมาเหมือนกัน
และในอนาคตเมื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทดลองกับสัตว์
ก็อย่าลืมเทสการแพ้และระคายเคืองก่อนใช้
เพราะการแพ้เป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่ว่าจะมีกระต่ายหรือคนที่ทดสอบมาก่อน
ยังไงก็ต้องรีเช็กเพื่อความชัวร์นะคะ
สุดท้าย
รักดีใจที่วันนึงเรื่องนี้ก็เกิดการตระหนักรู้
เมื่อปีก่อนรักเคยทำคลิปพูดถึงเรื่องนี้แบบสั้นๆ
ซึ่งตอนนั้นคนยังไม่เข้าใจ
แต่วันนี้ในวันที่ทุกคนเข้าใจ ตระหนัก และอยากแก้ไขให้ดีขึ้น
รักจึงออกมาให้ข้อมูลทุกอย่างเท่าที่รักรู้
ทั้งทำเป็นบทความและผ่านการไลฟ์
ถ้าหากสนใจในเชิงลึกแบบปล่อยหมดเปลือก
ลองติดตามได้นะคะ
รักเชื่อว่าในวันข้างหน้าเมื่อทุกคนตระหนักเหมือนๆกันหมด
สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆน่ารักๆจะได้ไม่ต้องมาเจ็บปวดหรือตยเพื่อความงามของมนุษย์อีกต่อไปนะคะ
Because No animal should suffer and die in the name of beauty
#เภสัชกรรัก
1 บันทึก
3
2
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย