9 ก.ค. 2021 เวลา 09:40 • สุขภาพ
COVID-19: ผู้ช่วย โฆษก ศบค. แถลงยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดเข้มข้น ใน 10 จังหวัด
7
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วย โฆษก ศบค. แถลงผลสรุปมติที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ โดยสรุปดังนี้
ศบค. เห็นชอบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ โดย สีแดงเข้ม คงเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา สีแดง ปรับจาก 5 จังหวัด เป็น 24 จังหวัด สีส้ม 9 จังหวัด เป็น 25 จังหวัด สีเหลือง 53 จังหวัด เป็น 18 จังหวัด
6
และเห็นชอบให้ยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดเข้มข้นในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (จังหวัดสีแดงเข้ม) โดยแบ่งเป็น
2
สำหรับ กทม.และปริมณฑล 6 จังหวัด
3
1. จำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด (เฉพาะกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
- กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะ Work From Home ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน
- ระบบขนส่งสาธารณะ ปิดให้บริการในห้วงเวลา 21.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
- ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโด้รุ่ง ปิดเวลา 20.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตื้มอลล์ เปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน ทั้งนี้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
- ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
- ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม
- สวนสาธารณะ สามารถเบิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น.
- ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณี ที่มีการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
17
สำหรับพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด (กทม. ปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้)
5
2. ห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็นและห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี
3. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ศบค.ที่ได้มีประกาศ
ไปแล้วก่อนหน้านี้
1
4. กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด
2
5. ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ1-4 ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่างๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24, 25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
5
6. ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติ อย่างเข้มงวด โคยให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 64 เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป ทั้งนี้กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังดับใช้บทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558
2
นอกจากนี้ ยังได้ประกาศมาตรการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เร่งรัดให้มีการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงระบบตรวจหาเชื้ออย่างเพียงพอ เร่งรัดการแยกกักที่บ้าน และแยกกันในชุมชน รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรในบัญชีหลัก ได้แก่ฟ้าทลายโจร และเร่งรัดการจัดตั้ง ICU โรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลสนามชุมชน
1
พร้อมปรับแผนการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรคร้ายแรง ให้ได้ 1 ล้านคน ภายใน 1-2 สัปดาห์ และสำรองวัคซีนบางส่วนสำหรับควบคุมการระบาดใน กทม.
1
กรณีการใช้ วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส และ แอสตร้าเซเนก้า 1.05 ล้านโดสที่ได้รับการบริจาคจากต่างประเทศ อนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์เป็นบูสเตอร์โดส สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ผู้สูงอายุ และกลุ่มโรคเรื้อรัง ชาวต่างชาติสูงอายุ และมีโรคเรื้อรัง และกลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีนเพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ ส่่วนแอสตร้าเซเนก้า อนุมัติให้ใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มโรคเรื้อรัง ชาวต่างชาติสูงอายุ และมีโรคเรื้อรัง และกลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีนเพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ
โฆษณา