9 ก.ค. 2021 เวลา 09:52 • ข่าว
สรุปมติ ศบค. "ล็อกดาวน์" 10 จังหวัด พ่วง "เคอร์ฟิว" ปิดห้าง-ร้าน ตามเวลากำหนด มีเงื่อนไข-การปฏิบัติอย่างไรบ้างไปชมกัน
2
วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. ผ่านระบบ Video Conference ตั้งแต่เวลา 10.00 น. และได้แถลงผลประชุมเมื่อ 16.00 น.
ข้อสรุปมีดังนี้ เห็นชอบตามข้อเสนอยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค โควิด-19 สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร) และ 4 จังหวัดภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา)
ทั้งนี้ให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ยึดหลักการ ดังนี้
-ห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็น และห้ามออกนอกเคหะสถานระหว่างเวลา 21.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี และการเดินทางข้ามจังหวัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
-ขอให้เวิร์คฟอร์มโฮม (WFH) ให้มากที่สุด ยกเว้นงานบริการประชาชนและงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค, ขอความร่วมมือจากประชาชนงดการเดินทางโดยไม่จำเป็นยกเว้นการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค การไปโรงพยาบาล ฉีดวัคซีนหรือมีความจำหรือมีความจำเป็นที่จะต้องออกไปทำงาน
-จำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด, ขอความร่วมมือผู้ประกอบการลดการจัดบริการยานพาหนะของ ขนส่งสาธารณะที่ต้องเดินทางจากพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งบกและอากาศการขนส่งยกเว้นการขนส่งสินค้า, ลดการรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน เช่นงดการจัดอบรด งดจัดประชุม งดจัดสอบหรือกลับเข้าสถานศึกษา
-ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้แก่ ปิด สถานที่เสี่ยงการติดโรค เช่น นวดแผนโบราณ (ยกเว้นนวดเท้า) สปา สถานเสริมความงาม ร้านสะดวกซื้อปิดเวลา 20.00-04.00 น. ห้างสรรพสินค้าเปิดได้เฉพาะร้านอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ร้านเครื่องมือสื่อสาร ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ โดยเปิดได้จนถึงเวลา 20.00 น.
-ร้านอาหารเปิดขายได้แต่ห้ามบริโภคในร้าน ห้ามจำหน่ายสุราเปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. ส่วนระบบขนส่งสาธารณะปิดเวลา 21.00-03.00 น. กำหนดเวลาปิดสวนสาธารณะ ในเวลา 20.00 น.
มีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
ส่วนมาตรการงดเดินทาง ให้เริ่มตั้งด่านปฏิบัติงานมีผลตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564
ข้อมูล ศบค.
โฆษณา