9 ก.ค. 2021 เวลา 13:00 • สุขภาพ
การแพทย์แผนไทย ย้ำ! ฟ้าทะลายโจร ไม่ใช่ยารักษาโควิด แต่มีประโยชน์ในการป้องกันหวัด ยับยั้งการติดเชื้อไวรัสของเซลล์ปอด และมีฤทธ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
3
ตอนนี้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเป็นที่ต้องการของประชาชนจำนวนมาก จนบางยี่ห้อขาดตลาดไปแล้ว ซึ่งคนที่เปิดเผยข้อมูลและคุณประโยชน์เกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรที่เกี่ยวพันกับการเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงโควิดระบาดเป็นคนแรกๆ คือ ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร บอกว่า “แม้ว่ายาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ในการนำมาใช้กับผู้ป่วยโควิด (ตั้งแต่การระบาดระลอกแรก) กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลยในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แล้วพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการน้อยๆ เหล่านั้น หลังได้รับยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการดีขึ้น โดยไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ข้อเท็จจริงคือ ฟ้าทะลายโจรไม่ใช่ยารักษาโควิด เพียงแต่มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหวัด และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
7
ตอนนี้อภัยภูเบศรได้มีการนำเอาฟ้าทะลายโจรไปทำการวิจัยร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษากลไกในการต้านโควิด-19 จากผลการศึกษาพบว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารแอนโดรกราโฟไลด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร มีความสามารถในการยับยั้งกระบวนการติดเชื้อไวรัสของเซลล์ปอด โดยผ่านกลไกที่สำคัญคือการยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโควิดในทุกระยะ จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาการใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเดี่ยว หรือใช้ควบรวมกับสูตรยามาตรฐานในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด ปัจจุบันผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Natural Products แล้ว
2
ทางด้านแพทย์หญิงศรันยา สาครินทร์ แพทย์แผนปัจจุบัน จบจากโรงพยาบาลรามาธิบดี และศึกษาต่อปริญญาโทด้านฝังเข็มยาจีน นวดทุยหนา และโภชนาการจากสหรัฐอเมริกา จึงมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการรักษาโรคจากทั้งศาสตร์ตะวันออกและตะวันตกให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลวิจัยของฟ้าทะลายโจรว่า
2
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญชื่อว่า ‘สารแอนโดรกราโฟไลด์’ (Andrographolide) ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ในทุกระยะ และช่วยยับยั้งการอักเสบ และยังมีสารประกอบสาร Lactone 4 ชนิดที่มีฤทธิ์เย็นหนืด ช่วยจับโปรตีนของไวรัสให้อยู่กับที่ ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรต้านไวรัสได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะได้ ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอ ป้องกันและบรรเทาหวัด
1
ในทางแพทย์แผนจีนนั้นระบุว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์เย็นจัด มีรสขมและแห้ง มีสรรพคุณลดความร้อน ทั้งความร้อนในร่างกายและความร้อนเกินที่เข้ามาในร่างกาย เช่น ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ช่วยดูดความชื้นในร่างกาย ขจัดเสลดของเหลวต่างๆ ให้แห้ง จึงช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้เวลาเป็นไข้ขึ้นสูง ลดเจ็บคอ ช่วยเรื่องการทำงานของปอดเป็นหลัก สำหรับหมอเองก็ใช้ฟ้าทะลายโจรควบคู่กับสูตรยาจีนเพื่อช่วยลดอุณหภูมิความร้อนให้คนไข้ เพราะสามารถใช้ร่วมกันได้ หมอแนะนำให้กินแบบธรรมชาติ คือกินเป็นใบทั้งแบบสดหรือแบบตากแห้งบดก็ได้ โดยปริมาณในการกินยาฟ้าทะลายโจรนั้นมีดังนี้
5
กินเพื่อป้องกัน (For Prevention)
สามารถกินแบบใบสด ประมาณวันละ 2-3 ใบ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายได้
กินแบบตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล กินวันละ 1 แคปซูล (ประมาณ 500 มิลลิกรัม) ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน ระยะเวลาและขนาดปริมาณประมาณนี้ยังไม่มีผลข้างเคียงเรื่องการทำลายตับ มีงานวิจัยคำนวณอิงสารแอนโดรกราโฟไลด์เพื่อป้องกันหวัดจะใช้ปริมาณ 11.2 มิลลิกรัมต่อวัน กิน 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 3 เดือน มีผลป้องกันหวัดได้)
2
กินเพื่อรักษา (For Treatment)
สำหรับปริมาณการรักษา หมอแนะนำให้เลือกแบบตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล กินครั้งละ 1,500-3,000 มิลลิกรัม จำนวน 4 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 2-4 แคปซูล วันละ 3 มื้อ ระยะเวลา 7-10 วัน (หรือไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์) หากอิงจากสารแอนโดรกราโฟไลด์ ระดับในการรักษาคือประมาณ 60-120 มิลลิกรัมต่อวันนั่นเอง
อ้างอิง:
- โรงพยาบาลอภัยภูเบศร
- กรมสุขภาพจิต
FYI
- ข้อห้ามใช้ของยาฟ้าทะลายโจร
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอากาแพ้ฟ้าทะลายโจร
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
- ห้ามใช้แก้เจ็บคอ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูมาติก
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูงและหนาวสั่น
1
ข้อควรระวัง
2
- หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการชาหรืออ่อนแรง
- หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 2 วันแล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และพบแพทย์
- ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่กระบวนการ​เมตาบอลิซึมมผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 1A2, CYP 2C9 และ CYP 3A4
- การใช้ยาฟ้าทะลายโจรอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้ เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้
3
เรื่อง: ภูริตา บุญล้อม
โฆษณา