Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
17 ก.ค. 2021 เวลา 05:00 • อาหาร
'ซิลิคอน วัลเลย์สิงคโปร์' ตอบโจทย์ความมั่นคงด้านอาหาร
'ซิลิคอน วัลเลย์สิงคโปร์' ตอบโจทย์ความมั่นคงด้านอาหารโดยกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จากห้องแล็บของสิงคโปร์ใช้วัตถุดิบในการผลิตหลากหลายชนิดทั้งพืช แมลง สาหร่าย และเชื้อรา
'ซิลิคอน วัลเลย์สิงคโปร์' ตอบโจทย์ความมั่นคงด้านอาหาร
ในเย็นวันหนึ่งที่สภาพอากาศอบอุ่น ผู้คนกำลังเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหาร1880 ริมแม่น้ำในสิงคโปร์ ซึ่งนำเสนอเมนูอาหารน่าสนใจหลายอย่างให้ลูกค้าได้ลิ้มลอง นั่นคือเมนูอาหารที่มีชื่อเพราะพริ้งว่า“ฟอเรสต์ ฟลอร์” และ“ฟลัด ฟิวเจอร์”แต่พระเอกตัวจริงของการจัดเลี้ยงวันนั้นคืออาหารที่ถูกนำเสนอให้ลูกค้าในรูปแบบที่ไม่หวือหวาเท่าไหร่อย่าง“วาฟเฟิล ไก่ทอด” และ“ซาลาเปาไก่ทอด”
ที่บอกว่าอาหารสองจานหลังเป็นพระเอกตัวจริงก็เพราะเนื้อไก่ที่นำมาปรุงอาหารไม่ใช่เนื้อไก่ธรรมดา แต่เป็นเนื้อไก่ที่ทำจากเสต็มเซลล์ของไก่จริงๆและนำมาปลูกในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบพิเศษและลูกค้าที่มางานเลี้ยงนี้ก็เป็นลูกค้ากลุ่มแรกที่ยินดีจ่ายเงินเพื่อมารับประทานอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อไก่ที่เลี้ยงในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์
“ไคมานา ชี” เชฟประจำอีท จัสต์ สตาร์ทอัพด้านอาหารมีฐานดำเนินงานในนครซาน ฟรานซิสโก ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์เนื่้อไก่ชนิดนี้และเป็นผู้จัดเตรียมเมนูอาหารในค่ำคืนนั้น กล่าวว่า “ผมถึงกับน้ำตาไหล เพราะไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้เห็นอาหารนี้อยู่บนจานให้ลูกค้าได้ลิ้มรสในชั่วชีวิตของผม”
ด้วยความที่การขออนุมัติเพื่อใช้เนื้อไก่ประเภทนี้ต้องผ่านขั้นตอนของราชการและผ่านการตรวจสอบด้านกฏระเบียบมากมาย ขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงมีความระแวดระวังในการบริโภคเนื้อที่ผลิตจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ชี วัย 43 ปี มั่นใจว่ากว่าจะได้รับอนุญาติให้ใช้เนื่้อไก่ชนิดนี้ต้องใช้เวลาหลายปี ทั้งยังคิดด้วยซ้ำไปว่า ภาระกิจที่เขาทำที่อีท จัสต์ ที่เขาเริ่มร่วมงานด้วยเมื่อปี 2559 นั้นจะเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดการปรุงอาหารเมนูต่างๆโดยใช้เนื้อสัตว์ที่ผลิตจากพืช หรือผลิตในห้องแล็บแก่คนรุ่นต่อๆไป
เพราะฉะนั้น เมื่อทางการสิงคโปร์กลายเป็นประเทศเดียวที่อนุมัติให้มีการขายโปรตีนในรูปแบบดังกล่าวในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ชี จึงดีใจจนทำอะไรไม่ถูก ขณะที่บรรดาผู้สังเกตุการณ์ในอุตสาหกรรมอาหารหลายคนไม่แปลกใจที่รับฟังความคืบหน้าในเรื่องนี้
1
“ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่สิงคโปร์เป็นประเทศแรกของโลกที่ทำการเพราะเนื้อในห้องแล็บ ที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ลงทุนในทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสร้างระบบนิเวศวิทยาสำหรับนวัตกรรมอาหารที่ได้รับการตอบรับจากทั่วโลก”เมิร์ท โกสเคอร์ จากกู๊ด ฟู้ด อินสติติว เอเชีย แปซิฟิก (จีเอฟไอเอพีเอซี)หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรในสิงคโปร์ กล่าว
การพัฒนาเนื้อสัตว์จากห้องแล็บอย่างจริงจังของสิงคโปร์ที่ถือเป็นการสร้างแหล่งโปรตีนทางเลือกที่สำคัญและเป็นหนึ่งในความพยายามสร้างความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตนั้น สิ่งที่ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างเนื้อเหล่านี้มาจากแหล่งที่มาหลากหลายทั้งพืช แมลง สาหร่าย และเชื้อรา
สหประชาชาติ (ยูเอ็น)ประเมินว่าประชากรกว่า 350 ล้านคนทั่วภูมิภาคเอเชียยังคงมีอาหารรับประทานไม่พอเพียง และประมาณ 1,000 ล้านคนเผชิญหน้ากับภาวะความไม่มั่นคงด้านอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรงในปี 2562 เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหาร และบางกรณีไม่มีอาหารรับประทานเป็นเวลาหลายวัน
ความท้าทายเรื่องแหล่งอาหารที่เกิดขึ้นกับหลายประเทศไม่เฉพาะกับสิงคโปร์ประเทศเดียว เริ่มสร้างแรงกดดันมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ที่เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารรุนแรงขึ้นและทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆเร่งหาทางรับมือกับผลกระทบของเรื่องนี้ หนึ่งในแนวทางที่ว่า ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์กำลังใช้คือการสร้างแหล่งอาหารที่หลากหลาย โดยปัจจุบันสิงคโปร์ นำเข้าอาหารจาก 170 ประเทศและภูมิภาค เทียบกับเมื่อปี 2547 ที่นำเข้าจากประเทศต่างๆประมาณกว่า 30 ประเทศ
นอกจากจะสร้างแหล่งอาหารที่หลากหลายแล้ว ทางการสิงคโปร์ ยังพยายามพึ่งพาตัวเองด้านอาหารมากขึ้นด้วย โดยในเดือนมี.ค.ปี 2562 ทางการสิงคโปร์ประกาศเป้า “30 by 30”เพื่อผลิตอาหารในท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการโภชนาการในประเทศให้ได้ในสัดส่วน 30% ภายในปี 2030 (หรือปี 2573) เพิ่มขึ้นจาก 10%
“การมีความยืดหยุ่นด้านอาหารหมายถึงมีความสามารถในการต้านทานภาวะความวุ่นวายสับสนหรือการดิสรัปในระบบห่วงโซ่อุปทานด้านอาหารได้”พอล เต็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงด้านอาหารจากนันยาง เทคโนโลจิคัล ยูนิเวอร์ซิตี (เอ็นทียู)ของสิงคโปร์ ให้ความเห็น พร้อมทั้งกล่าวว่า ตอนที่เขาและทีมงานเริ่มต้นศึกษาเรื่องความยืดหยุ่นเรื่องอาหารประมาณปี 2548 ที่เน้นหาแนวทางสร้างความมั่นคงด้านอาหารนั้น ไม่มีใครสนใจฟังรายงานที่เขาและทีมงานนำเสนอเลย
อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับประเทศที่มีความมั่นคงด้านอาหารของโลกโดยอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต(อีไอยู)เมื่อปี 2563 จัดให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 19 ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับที่ดี แต่ก็ยังไม่อาจทำให้ทางการสิงคโปร์นิ่งนอนใจในเรื่องแสวงหาแหล่งอาหารให้มีความหลากหลายได้
“ภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ถ้าจีดีพีของประเทศเราขยายตัวเราก็มีกำลังสั่งนำเข้าอาหาร เราไม่ต้องกังวลเพราะบางประเทศก็พร้อมที่จะขายอาหารให้เรา นอกเสียจากว่าเกิดปัญหาในด้านการผลิตและเกิดปัญหาในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหาร”เต็ง กล่าว
แต่ราคาอาหารก็ทะยานขึ้นในช่วงปี 2551 ที่เกิดวิกฤติการเงิน มาเลเซียระงับการส่งออกปลายในปี2557 และมีสถานการณ์อื่นๆที่ตอกย้ำถึงความเปราะบางด้านอาหาร จากนั้นก็มาเกิดการระบาดของโรคโควิด-19
“การระบาดของโรคโควิด-19ทั่วโลกทำให้ระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารเกิดความปั่นป่วน บางประเทศที่เป็นแหล่งอาหารระงับการส่งออกอาหารหลายชนิดเพื่อเก็บไว้เลี้ยงคนในประเทศในช่วงที่ประเทศประกาศมาตรการล็อกดาวน์ ”เมลวิน โชว์ ผู้อำนวยการอาวุโสจากแผนกบริหารจัดการและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอาหารของสำนักงานอาหารสิงคโปร์ กล่าว
10 บันทึก
16
1
5
10
16
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย