11 ก.ค. 2021 เวลา 13:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สวัสดีผู้อ่านและลูกเพจทุกท่าน (ไม่รู้ยังเหลือยู่ไหม 555)
ผมแอดมินดาราศาสตร์หลังบ้าน ที่หายหน้าหายตาไปนาน นานจนหลายๆคนน่าจะคิดว่าเป็นเพจร้างไปแล้ว
ส่วนสาเหตุที่ผมหายไปนานก็มาจากหลายๆ อย่างครับ แต่สาเหตุหลักๆในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้นการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ที่ทำให้ต้องปรับตัวกันยกใหญ่เลย
กว่าจะพอเข้าที่เข้าทางได้ก็ใช้เวลากันมากทีเดียว และก็ยังไม่รู้ว่าพวกเราจะต้องสู้กับมันไปอีกนานแค่ไหน ยังไงผมก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทุกท่าน ให้สามารถผ่านช่วงเวลาที่แสนยากลำบากนี้ไปให้ได้ครับ
โอเคร เข้าเรื่องของเราในวันนี้กันดีกว่า !!!
ทุกคนคงรู้จัก "ลิฟต์" ใช่ครับไอ้กล่องเหล็กที่ให้คนเข้าไปข้างใน
ที่มีรอกชักขึ้นชักลงให้คนที่อยู่ข้างใน สามารถใช้ประโยชน์จากมันได้เพื่อลดเวลา และ ไม่ทำให้เราต้องเหนื่อยวิ่งขึ้นวิ่งลงบันไดหลายๆ รอบ
แต่ไม่ใช่ว่าผมจะมาอวดสรรพคุณของลิฟต์ที่เราเห็นกันจนชินตา แต่ผมจะพูดถึง "ลิฟต์อวกาศ" แนวคิดสุดโต่งที่มาจาก
คอนเซ็ปอาร์ท: ลิฟต์อวกาศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศ และ จรวดขับดัน ชาวรัสเซีย นามว่า คอนสแตนติน โซลคอฟสกี (Constantin Tsiolkovsky)
เขาเสนอแนวคิดนี้ครั้งแรกในบทความที่ตัวเขาเขียนขึ้นเองในชื่อ "Daydream about the Earth and the Heaven" หรือ ที่แปลเป็นไทยว่า "ฝันกลางวันเกี่ยวกับโลกและสวรรค์"
ภาพถ่าย : คอนสแตนติน โซลคอฟสกี
ที่กล่าวถึง "หอคอยสูงเสียดฟ้าจากผิวโลกถึงอวกาศ" แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งก่อสร้างนี้ก็ดูจะเป็นเพียงแค่ความฝัน
เพราะแม้แต่วิทยาการในปัจจุบันก็ยังเป็นสิ่งที่ยากที่จะสร้างมันขึ้นมาจริงๆ
ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้จริงๆ แต่ก็มีการเสนอไอเดียจากนักวิทยาศาสตร์ถึงความเป็นไปได้ที่จะก่อสร้าง ลิฟต์อวกาศ นี้ขึ้นมาจริงๆ
คอนเซ็ปอาร์ท: ลิฟต์อวกาศ
โดยที่พวกเขามีแนวคิด ดังนี้
1. จะต้องสร้างสถานีลอยน้ำที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร
2. สายเคเบิลของลิฟต์ จะต้องทำจากวัสดุน้ำหนักเบา และ มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ
ปัจจุบันวัสดุที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาสร้างสายเคเบิลของ ลิฟต์อวกาศ มากที่สุด
คือ คาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon nanotubes) ที่อาจจะต้องใช้ความยาวมากถึง 100,000 กม. ซึ่งมากพอจะพันรอบโลกได้ถึง 2 รอบครึ่ง
คอนเซ็ปอาร์ท: คาร์บอนนาโนทิวบ์
3. ตัวลิฟต์โดยสาร ที่จะใช้พลังงานจากไฟฟ้า หรือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยคาดการณ์ว่ามันจะใช้เวลาขึ้นลงแต่ละรอบประมาณ 1 สัปดาห์
คอนเซ็ปอาร์ท: ตัวลิฟต์โดยสารของลิฟต์อวกาศ
4.สถานีอวกาศ ที่สามารถให้นักบินอวกาศมาพักผ่อนได้
5. น้ำหนักถ่วง โดยมีแนวคิดสุดล้ำคือจะใช้ ดาวเคราะห์น้อยมาเป็นตัวยึดตึงกับสายเคเบิลเพื่อให้มันตึงอยู่ตลอดเวลา
คอนเซ็ปอาร์ท: การนำดาวเคราะห์น้อยมาเป็นตัวน้ำหนักถ่วง
โดยทั้งหมดเป็นแนวคิดที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าถ้าสามารถทำเงื่อนไขทั้งหมดให้เป็นจริงได้ เราก็จะสามารถสร้าง "ลิฟต์อวกาศ" ขึ้นมาได้จริงๆ ครับ
และ ถ้าเกิดสร้างขึ้นมาได้จริงๆ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากมันบ้าง ?
1. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอวกาศมากขึ้น เพราะ แต่ละครั้งที่มีการส่งจรวดขึ้นไปจะมีการทิ้งท่อเชื้อเพลิงไว้ซึ่งต่อมาสิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็น ขยะอวกาศ
2. ทำให้การเดินทางสู่อวกาศมีราคาที่ถูกลง โดยมีการประมาณการไว้ว่าค่าใช้จ่ายโดยการใช้ ลิฟต์อวกาศ จะถูกกว่าการส่งขึ้นไปแบบจรวดมากกว่า 100 เท่า
คอนเซ็ปอาร์ท: ลิฟต์อวกาศ
ถึงว่าแม้ว่าในตอนนี้จะยังสร้างไม่ได้ แต่อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ในสิ่งที่เราเรียกว่า "อนาคต"
โฆษณา