13 ก.ค. 2021 เวลา 08:17 • ข่าว
ต่อข้อสงสัยของวัคซีน Sinovac
ในปัจจุบันสังคมไทยยังคงมีข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางจากประสิทธิภาพของวัคซีนรองของประเทศอย่าง Sinovac ที่เวลาผ่านไปเมื่อแผนวัคซีนหลักอย่าง Astra Zeneca ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ทำให้ในปัจจุบันวัคซีนรองได้กลายเป็นวัคซีนหลัก
พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของคำถามในสังคมไทย เมื่อพบว่ามีบุคคลากรทางการแพทย์จำนวนมากติดเชื้อ Covid-19 ภายหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac ครบแล้วทั้งสองโดส
ผมจึงเขียนขึ้นเพื่อตอบสนองความอยากรู้ของตัวเองล้วน ๆ และแสวงหาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ในโลกเท่าที่ความสามารถจะหาได้จากข้อมูลแหล่งต่าง ๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac
เริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ CEO ของบริษัท Sinovac Biotech Ltd ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนสัญชาติจีน Yin Weidong ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg โดยมี Emma O'Brien เป็นผู้สัมภาษณ์เมื่อ 13 พ.ค.64 (สามารถฟังเสียงสัมภาษณ์ได้ตามลิงค์ยูทูปที่ลงไว้ให้ครับ) โดยได้ถอดคำถามและการตอบการสัมภาษณ์ตามคลิปอย่างตั้งใจ ทั้งภาษาอังกฤษและแปลเป็นไทยตามที่ความสามารถที่ตนเองมี โดยไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใด ไม่ได้สนับสนุนใครและกลุ่มใดด้วย ขอให้ทุกท่านพิจารณากันเอง
Emma: We are seeing a bigger drop of cases in countries that are using more Messenger RNA vaccines for Pfizer Biontech, Moderna. Are you concern about a disparity developing between the part of the world that are using your vaccines and less effective vaccines and part of the world that are using MRNA vaccines?
เอ็มมา: เรากำลังเห็นการลดลงของจำนวนเคสที่มากขึ้นในประเทศที่วัคซีน MRNA เช่น Pfizer Biontech, Moderna คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความต่างกัน ที่เริ่มเกิดขึ้นระหว่างพื้นที่ส่วนหนึ่งของโลกที่ใช้วัคซีนของคุณและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า กับพื้นที่ส่วนหนึ่งของโลกที่ใช้วัคซีน MRNA หรือไม่?
Yin: While it is hard to reach 100% vaccination rate even when you have the vaccines, the next key consideration is safety, vaccine safety has a great impact on vaccination rate for a massive population, if a vaccine has severe side effects even it's just very rare, it will hurt people willingness for vaccine overall.
Yin: ในขณะที่มันเป็นการยากที่จะมีอัตราการฉีดวัคซีนให้ได้ 100% แม้ว่าคุณจะมีวัคซีนก็ตาม ข้อพิจารณาสำคัญถัดไปคือความปลอดภัย ความปลอดภัยของวัคซีนส่งผลอย่างมากต่ออัตราการฉีดวัคซีนสำหรับประชากรมหาศาล ถ้าหากวัคซีนมีผลข้างเคียงร้ายแรง ซึ่งแม้ว่าผลข้างเคียงนั้น จะเกิดขึ้นได้ยากก็ตาม แต่มันก็จะไปทำร้ายความสมัครใจในการรับวัคซีนโดยรวม
Yin: We have seen some countries which have already recieved huge amount of vaccines and have reached high vaccination coverage and they all have well-established cold chain system, which is not accessible for many countries in the world. What we are facing is a global pandemic not just an outbreak in one country, efficacy varied among different vaccines, but I want to emphasize "A goal is not to compared whose efficacy is high or low, but who can bring cases down in this country this region or this city. That's our ultimate goal.
Yin: เราเห็นว่าบางประเทศที่ได้รับวัคซีนเป็นจำนวนมากแล้ว มีการครอบคลุม การฉีดวัคซีนที่สูง และมีระบบลูกโซ่ความเย็นที่เป็นที่ยอมรับ (Cold Chain System คือ ระบบการออกแบบและจัดการที่จะทำให้วัคซีนอยู่ในอุณหภูมิที่ถูกต้องเหมาะสมตลอดเวลา ทั้งในขณะจัดเก็บและขนส่งวัคซีนถึงหน่วยบริการ) ซึ่งมีประเทศจำนวนมากที่ไม่ได้มีระบบดังกล่าว สิ่งที่เรากำลังเผชิญคือการระบาดระดับโลก ไม่ใช่การระบาดเพียงในประเทศเดียว ประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นมีความแตกต่างกันในวัคซีนแต่ละชนิด แต่ผมต้องการเน้นว่า "เป้าหมายไม่ใช่การเปรียบเทียบว่า (วัคซีน) ของใครประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ แต่เป็นของใครที่สามารถลดจำนวนเคสในประเทศ ในภูมิภาค หรือในเมือง (ที่มีการฉีดวัคซีน) นั่นคือเป้าหมายสูงสุด
Emma: I understand that though, I do think the different efficacy rate for different efficacy rate has potentially led to some hestitation, in some of those countries, around corona vac, because as you said yourself earlier there are such a high level of scrutiny on these vaccines higher than any vaccines that ever been made really with the public knowing much more about them than they would about the ordinary Flu vaccines or other vaccines that they are taking. What's your response to that?
เอ็มมา: ฉันเข้าใจในประเด็นนั้น ฉันคิดว่าอัตราประสิทธิภาพ (ของวัคซีน) ที่ต่างกันก็สามารถก่อให้เกิดความไม่แน่ใจในบางประเทศต่อวัคซีนโคโรนาไวรัส เพราะตามที่คุณพูดก่อนหน้านี้ มันมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในระดับสูงต่อวัคซีนเหล่านี้มากกว่าวัคซีนใด ๆ เท่าที่เคยถูกผลิตขึ้นมา สาธารชนรู้ข้อมูล (วัคซีนโคโรนา) มากกว่าที่รู้ข้อมูลวัคซีนทั่ว ๆ ไป เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ วัคซีนอื่น ๆ ที่พวกเขากำลังได้รับ คุณจะมีการตอบสนองต่อเรื่องนี้อย่างไร?
Yin: We will do more study on protection rate, but the efficacy shown in phase 3 trial can't truly represent the protection following vaccination. We have seen the effectiveness from Chile real world study is higher than the efficacy in phase 3 trial. So at the end of the day everybody will look to the reduction in cases in your country as the most important protection rate.
Yin: เราจะทำการศึกษามากขึ้นเกี่ยวกับอัตราการป้องกัน แต่ประสิทธิภาพที่แสดงให้เห็นในการทดลองเฟส 3 ไม่สามารถแสดงการป้องกันที่เกิดขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีนได้อย่างแท้จริง เราเห็นประสิทธิภาพจากประเทศชิลีในสถานการณ์โลกจริง ว่ามีสูงกว่าการทดลองในเฟส 3 ดั้งนั้นสุดท้ายแล้ว ทุกคนจะกลับไปมองที่การลดจำนวนเคสในประเทศของคุณ ว่าเป็นอัตราการป้องกันที่สำคัญที่สุด
Emma: In hindsight, Would there be anything that you would have done differently particularly communication side?
เอ็มมา: เมื่อมองย้อนกลับไป มีอะไรบ้างที่คุณจะทำแตกต่างจากที่ทำอยู่ โดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร
Yin: It wouldn't be that different. In an emergency situation doing the most important thing will alway be our top priority. When Covid break out the priority has to be meeting the huge vaccines demand from different countries even if we were in the similiar situation in the future we still make such trade off wheter we get the paper out first or wheter we should get the vaccine registered first.
Yin: คงไม่ได้มีอะไรแตกต่างมากนัก ในสถานการณ์วิกฤต การทำเรื่องสำคัญก่อนเป็นสิ่งที่เป็นความสำคัญสูงสุดสำหรับเรา เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด สิ่งที่สำคัญก็คือการตอบสนองความต้องการของประเทศต่าง ๆ ที่มีจำนวนมหาศาล และแม้ว่าเราจะมีเหตุการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นในอนาคต เราก็ยังคงจะต้องเลือกอยู่ดีว่าเราจะรอให้เอกสารรับรองออกมาก่อน หรือเราจะให้วัคซีนขึ้นทะเบียนได้ก่อน
Emma: What do you think this global vaccines roll out says about China's nascent pharmaceutical industry and it's future and what do that you think is the main differences that you've seen between the way Chinese company's had approached this vaccine development and roll out.
เอ็มมา: คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับการกระจายวัคซีนในระดับโลกครั้งนี้กับอุตสาหกรรมยาที่พึ่งเริ่มต้นของจีน และอนาคตของอุตสาหกรรมยาจีนในอนาคต และคุณคิดว่าอะไรเป็นความต่างหลักของบริษัทจีนในการพัฒนาและกระจายวัคซีน
Yin: So far, we had provided three hundred million doses globally, Sinovac now has a capacity to manufacture 2 billion doses of vaccine in Beijing, our monthly production could reach over 200 million doses or even 300 million doses, thus speak the level of China vaccine industry.
Yin: ที่ผ่านมาเรากระจายวัคซีนไป 380 ล้านโดสทั่วโลก ซิโนแวคมีกำลังการผลิต 2 พันล้านโดสในปักกิ่ง กำลังการผลิตต่อเดือนของเราสามารถทำได้ถึง 200 ล้านโดส หรือแม้แต่ 300 ล้านโดส ซึ่งนั่นสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวัคซีนของจีนได้
คลิป 1 - คลิปที่ผมถอดความ (ลงลิงค์ผิดไปนิดขอปรับเป็นลิงค์นี้ครับ
คลิป 2 - คลิปที่จะมีคำถามจากผู้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเทศชิลี (ลองฟังกันเองก่อนครับ) คำถามเกี่ยวกับวัคซีนในการรับมือกับสายพันธุ์เดลต้า
ซึ่งทาง CEO ได้ตอบไว้ในคลิป 2 ผมสรุปได้ว่าถ้ามีตัวอย่างเชื้อของสายพันธุ์เดลต้า สามารถทำการผลิตวัคซีนที่รับมือกับสายพันธุ์เดลต้าได้ในระยะเวลาสองเดือน - ปัจจุบันที่ผมเขียนอยู่ก็ผ่านมา 2 เดือนแล้ว (13 ก.ค.64 สัมภาษณ์เมื่อ 13 พ.ค.64) ยังไงก็ลองไปฟังจากปาก CEO กันเองด้วยนะครับ
------- ต่อไปเป็นความเห็นนะครับ ---------
- ความเห็นของผมคือวัคซีนลอตแรก ๆ ของซิโนแวคไม่สามารถรับมือกับเดลต้าได้จริงครับ ผมเชื่อว่าอย่างนั้น แต่คิดว่าในลอตต่อ ๆ ไป คิดว่าน่าจะ เน้นว่าน่าจะนะครับ ว่าจะมีการพัฒนาเพื่อรับมือกับการกลายพันธุ์
อยู่ที่ทุกท่านจะพิจารณาข้อมูลแล้วล่ะครับ - แต่ข้อเท็จจริงคือวัคซีนทุกชนิดไม่สามารถป้องกันได้ 100% - ทุกวัคซีนต่างมีข้อบกพร่อง - การฉีดวัคซีนดีกว่าไม่ฉีดวัคซีนเลย - ขอเว้นเรื่องประเด็นการการเมืองนะครับ
โฆษณา