13 ก.ค. 2021 เวลา 08:51 • บ้าน & สวน
รู้แล้วผอมและหุ่นดี(3)
โรคอ้วน จุดเริ่มต้นของโรคภัย
โรคอ้วน น้ำหนักเกิน จุดเริ่มต้นของโรคภัย
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
แป้ง น้ำตาล ไขมัน
สารอาหารที่เรากินมากเกินไปในแต่ละมื้อ
หากร่างกายเราเผาผลาญไม่ทัน
ร่างกายเราจะนำไปเก็บไว้ในรูปของ...ไขมัน
ที่หน้าท้อง สะโพก ต้นขา และอื่นๆ
ไขมันที่เก็บไว้มากเกินไปนี่เองที่เป็นที่มาของโรคภัยต่างๆ
ด้วยไขมันที่เก็บไว้มากๆเกินไป
ผนวกกับการที่เราชอบกินแต่เมนูที่ชอบและกินอยู่บ่อยๆซ้ำๆ
ทำให้การกินอาหารไม่หลากหลายใน 1 มื้อ
ทำให้มื้อนั้นๆได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ
โดยเฉพาะวิตามินและเกลือแร่ รวมทั้งโปรตีนด้วย
การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบและสมดุล
จะส่่งผลทำให้ต่อมไร้ท่อต่างๆหลั่งโฮร์โมนผิดปกติ
ซึ่งการหลั่่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ(น้อยไปหรือมากเกินไป)นี่เอง
ที่ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย
หากทานอาหารครบและพอดีตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละมื้อ
ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนก็ทำงานปกติ ระบบในร่างการก็ปกติไม่เจ็บป่วย
มารู้จักต่อมไร้ท่อกัน (ยกตัวอย่างเบาๆพอสังเขป)
ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อร่างกาย (Essential Endocrine Gland)
เป็นต่อมไร้ท่อที่ร่างกายขาดไม่ได้ไม่เช่นั้นจะทำให้เจ็บป่วยถึงชีวิตได้ ได้แก่
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid)
เป็นต่อมไร้ท่อที่ฝังอยู่ด้านหลังเนื้อเยื่อไทรอยด์
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนชื่อ “พาราทอร์โมน” (Parathormone)
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่การควบคุมกระบวนการเผาผลาญ(metabolism)ของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างกระดูกและควบคุมสมดุลหรือการสลายแคลเซียมในในกระดูกและฟัน และอวัยวะต่าง ๆ
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland)
เป็นเนื้อเยื่อรูปสามเหลี่ยมบริเวณด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง
ลักษณะเป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่
เนื้อเยื่อชั้นนอก (Adrenal Cortex) เจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (Mesenchymas) ในชั้นมีโซเดิร์ม (Mesoderm) ของตัวอ่อน
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ
กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid Hormone)
ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
มินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid Hormone)
ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่
ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone)
ทำหน้าที่ช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ในร่างกายทั้งเพศชายและหญิง
เนื้อเยื่อชั้นใน (Adrenal Medulla)
อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ที่ควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองจากสิ่งเร้าภายนอก
ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
อะดรีนาลีน (Adrenalin/Epinephrine Hormone) และนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenlin/Norepinephrine Hormone) ซึ่งทำหน้าที่คอยกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ต่อมไอส์เลตส์ของตับอ่อน (Islets of Langerhans) เป็นกลุ่มเซลล์ขนาดเล็ก (ราวร้อยละ 3) ในตับอ่อน (Pancreas) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ อินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
โฮร์โมนบางชนิด หากร่างกายหยุดหลั่งอาจถึงแก่ชีวิตทันที
โฮร์โมนดังกล่าวคือ อะดรีนาลีน (Adrenalin/Epinephrine Hormone)
และนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenlin/Norepinephrine Hormone)
ซึ่งทำหน้าที่คอยกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
เมื่อไหร่ก็ตามที่ฮอร์โมนทั้ง2นี้ หลั่งมากเกินไปหรือหลั่งน้อยเกินไป ก็จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ (เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป) จะส่งผลต่อสัญญาณชีพทันที
อินซูลิน ก็เช่นกัน หากอินซูลินถูกกระตุ้นให้หลั่งบ่อยเกินไป หรือจำนวนน้อยเกินไป ก็ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สิ่งสำคัญพบว่า เมื่อเราทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาล ทุกครั้งก็จะเกิดการหลั่งของอินซูลิน ซึ่งหากหลั่งบ่อยๆไม่เป็นเวลาก็เป็นที่มาของภาวะดื้ออินซูลิน
แล้วมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อการหลั่งอินซูลิน นอกจาก แป้งและน้ำตาล
ภาวะดื้ออินซูลินจะส่งผลต่ออะไรบ้าง โปรดติดตามในโพสต์ต่อๆไปนะครับ
ฮอร์โมนชนิดอื่นก็มีความสำคัญกับสุขภาพร่างกายเช่นเดียวกัน
ครั้งต่อไปจะทะยอยๆนำเอาความรู้เหล่านี้มาเซิร์ฟท่าน
เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการดุแลสุขภาพของตัวเองต่อไป
#สุขภาพสำคัญที่สุด
#โภชนาการเพื่อการดูแลสุขภาพ
#รู้แล้วผอม #รู้แล้วหุ่นดี #รู้แล้วสุขภาพดี
โฆษณา