13 ก.ค. 2021 เวลา 10:53 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🏥 สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เห็นนักลงทุนหลายท่านกำลังให้ความสนใจหุ้นที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลเนื่องจากมีข่าวนำเข้าวัคซีน โควิด-19 ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต แม้ไม่อยากเข้าใกล้โรงพยาบาลแต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย
📌สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่สนใจลงทุนในหุ้นโรงพยาบาลแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี 
ทางเราได้สรุปเนื้อหาข้อมูลที่ควรรู้คร่าวๆ กระชับ มาไว้ให้เเล้วค่ะ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยย
‼️สนับสนุนเพจเพิ่มเติมได้ที่ ‼️
……………………………………
ที่มา
หนังสือความรู้พื้นฐานของธุรกิจการแพทย์(โรงพยาบาล)
#หุ้นโรงพยาบาล #หุ้น #BDMS #การลงทุน
📌เรามาเริ่มกันที่ประเด็นหลักที่ควรรู้กันนะคะ โดยจะมีด้วยกันอยู่ประมาณ6ประเด็น
ได้แก่
1.สัดส่วนผู้ป่วยต่างชาติ 2ค่ารักษาพยาบาลต่อคน
3.จำนวนโควต้าประกันสังคม 4.ความสามารถให้บริการ (Capacity)
5. อัตราการครองเตียง
6. ปัจจัยทางฤดูกาล
เช่น หาดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือเกิดโรคระบาดจะทำให้ผู้คนมีโอกาสป่วยมากขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มโรงพยาบาล
📌 โครงสร้างรายได้ของหุ้นโรงพยาบาล
สำหรับโครงสร้างรายได้โรงพยาบาลเอกชนไทย แบ่งเป็น ดังนี้
1. ค่ายาและเวชภัณฑ์ 36%
2. ค่าบริการทางการแพทย์ 22%
3. ค่าห้อง 14%
4. ค่าแลปและเอกซเรย์ 11%
5. อื่นๆ 17%
ข้อมูลจาก ฝ่ายวิจัย บล.บัวหลวง คิดจากค่าเฉลี่ย 7 รพ.เอกชนไทย ได้แก่ BCH, BDMS, BH, CHG, RJH, PR9 และ THG
📌มาต่อกันที่จุดเด่นของหุ้นโรงพยาบาล
1. รายได้แน่นอน
โรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่มีรายได้ประจำ (Recurring Income) ค่อนข้างแน่นอน ลงทุนใหญ่ครั้งเดียว ก็สามารถเก็บกินผลตอบแทนได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
2. ผันผวนน้อย
ธรรมชาติของโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจด้านสุขภาพ มักมีลักษณะเป็น “Defensive Stock” หรือธุรกิจตั้งรับ คือ ทนทานต่อความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดี แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำหรือโตสุขขีด ก็ไม่ค่อยมีผลต่อธุรกิจ และความสามารถในการทำกำไรมากเท่าไหร่
1
3. สถานะการเงินแข็งแกร่ง
เทียบกับธุรกิจอื่นๆ ในตลาด โรงพยาบาลส่วนมากในไทยถือว่ามีอัตราหนี้สินต่ำ และมีกระแสเงินสดค่อนข้างสูง.
4. ธุรกิจเป็นเมกะเทรนด์
อย่างที่รู้กันว่าเรื่องสุขภาพ คือ เมกะเทรนด์แห่งอนาคต ที่นับวันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เมื่อโรงพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องใช้บริการ และสังคมผู้สูงอายุกำลังใกล้เข้ามาทุกที
📌ทราบจุดเด่นไปแล้วต่อมาเรามาดูความเสี่ยงกันค่ะ
1. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานหรือกฎระเบียบต่างๆ
2.ความเสี่ยงทางด้านนโยบายสุขภาพของรัฐ
3.ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากร
4. ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน
5. ความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้อง
6. ความเสี่ยงด้านการชำระค่ารักษาพยาบาล
7. ความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากผู้รับบริการชาวต่างชาติ
8.ความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ
📌เทียบตัวเลขทางการเงินสำคัญ กลุ่มโรงพยาบาล vs SET
สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยอยู่ที่ 400,000 ล้านบาทต่อปีหรือ 13% ของรายจ่ายทั้งประเทศเฉลี่ยคนละ 6282 บาท
แบ่งตามประเภทได้แก่ค่ารักษาพยาบาล 57% ค่ายา 43%
📌เรามาทำความรู้จักกับโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หากข้อมูลมีความผิดพลาดสามารถคอมเม้นต์บอกเพื่อทำมาแก้ไขให้ถูกต้องใต้โพสต์ได้เลยนะคะ🥰
📌5 อันดับหุ้นโรงพยาบาล เรียงตามมูลค่ากิจการ (Market Cap.)
หุ้นโรงพยาบาลมูลค่าสูงสุด
1. BDMS : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน)
โรงพยาบาลในเครือ : โรงพยาบาลกรุงเทพ, พญาไท, สมิติเวช, เปาโล, BNH
Market Cap. : 3.48 แสนล้านบาท
2. BH : บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
โรงพยาบาลในเครือ : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Market Cap. : 9.37 หมื่นล้านบาท
3. SVH : บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)
โรงพยาบาลในเครือ : โรงพยาบาลสมิติเวช
Market Cap. : 4.18 หมื่นล้านบาท
4. BCH : บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน)
โรงพยาบาลในเครือ : โรงพยาบาลเกษมราษฎร์, เวิลดิ์เมดิคอล, การุญเวช
Market Cap. : 3.46 หมื่นล้านบาท
5. RAM : บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน)
โรงพยาบาลในเครือ : โรงพยาบาลรามคำแหง
Market Cap. : 3.42 หมื่นล้านบาท
โฆษณา