15 ก.ค. 2021 เวลา 05:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยานยนต์ไทยในทศวรรษหน้า
Zero Emission Vehicle (ZEV)
ยานยนต์พลังงานสะอาดแห่งอนาคต
CABB (แค็บบ์) แท็กซี่เพื่ออนาคต  ภาพจาก https://www.bangkokbiznews.com
เป็นที่ทราบกันดีว่ารถยนต์ รวมทั้งเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ในปัจจุบันยังใช้น้ำมันเป็นพลังงานหลัก และเป็นที่ประจักษ์อีกเช่นกันว่าพลังงานจากน้ำมันนั้นส่งผลเสียต่อโลกยังไง
ทั้งภาวะมลพิษฝุ่นละอองในอากาศ ภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลเพิ่ม เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั้งโลกยังอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจ เรื่องปากท้องยังเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า และน้ำมันก็เป็นปัจจัยการผลิตที่ยังคงมีเพียงพอ และต้นทุนต่ำ
มลพิษทางอากาศในประเทศจีน ภาพจาก http://www.ej.eric.chula.ac.th
แม้ว่าในปัจจุบันโลกจะประสบกับปัญหาการติดเชื้อโรคโควิด - 19 ที่ทำให้หลายประเทศล็อคดาวน์ตัวเองลง ส่งผลให้ปริมาณคาร์บอนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงน้ำมัน และเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น ๆ ลดลงเป็นประวัติการณ์
ภาพจาก https://www.bot.or.th
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่าง ๆ เริ่มฟื้นฟู แต่นักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่าเป็นเพียงอุบัติการณ์หนึ่งแค่ช่วงสั้น ๆ ไม่สามารถหยุดยั้งภาวะโลกร้อนได้แต่อย่างใด
ภาพจาก www.pptvhd36.com
แต่ก็ใช่ว่าโลกจะไม่มีทางออก ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของการบริโภคพลังงานจากฟอสซิลเพิ่มมากขึ้น หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
ภาพจาก https://mgronline.com
เราเริ่มเห็นยานยนต์ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น หลายประเทศเริ่มผลักดันการใช้พลังงานสะอาด สหราชอาณาจักรมีแผนในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจไร้คาร์บอนไดออกไซด์ ภายในระยะเวลา 30 ปี หลังจากนี้
ภาพจาก https://www.ftpi.or.th
รัฐบาลจีนผลักดันการขายยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ มีนโยบายในการใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานทดแทน พร้อมกับตั้งเป้าให้ยานยนต์ทุกคันไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100 % ภายในปี 2035
ภาพจาก https://thestandard.co/
และอีกหลาย ๆ ประเทศก็มีนโยบายเกี่ยวกับพลังงานในอนาคตเป็นไปในทำนองเดียวกัน
หลายฝ่ายมองว่าความต้องการน้ำมันจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมน้ำมันอาจเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ภาพจาก https://arabiyamedia.com/
บีพี บริษัทน้ำมันใหญ่ของโลกคาดการณ์น้ำมันโลกไม่มีวันกลับมามีมูลค่าเท่าเดิม ทำให้บริษัทหันไปลงทุนในพลังงานทดแทน เช่นเดียวกับ เชลล์ ที่ลดค่าใช้จ่ายการผลิตน้ำมันลงเกือบครึ่ง และเริ่มลงทุนเกี่ยวกับพลังงานสะอาดมากขึ้น
ภาพจาก https://www.shell.co.th
เช่นเดียวกับประเทศไทยของเรา ที่มีความตื่นตัวอย่างมากเกี่ยวกับการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะยานยนต์พลังงานสะอาด
รูปภาพจาก https://today.line.me/
ยานยนต์พลังงานสะอาด คือ Zero Emission Vehicle (ZEV) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โดยคำนึงถึงแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่นำมาใช้กับยานพาหนะชนิดนี้
หากเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็ยังนับว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
ภาพจาก https://themomentum.co/
แต่ ZEV คือยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยแหล่งที่มาที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะใด ๆ แก่ชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น
เช่น การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ หรือแม้แต่การใช้พลังงานจากไฮโดรเจนเหลว
ภาพจาก https://www.narasci.go.th/
ประเภทของยานยนต์ ZEV มีดังนี้
1. Plug-in hybrid – ยานยนต์น้ำมันที่มีแบตขนาดใหญ่และรูเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟจากบ้านเรือน ยานยนต์ที่อยู่ในหมวดหมู่นี้ได้แก่ Chevrolet Volt, Toyota Prius Prime (เป็นรุ่น PHEV) เป็นต้น
ภาพจาก https://www.one2car.com/
2. Battery electric vehicles – ยานยนต์ไฟฟ้าสมบูรณ์แบบ 100% มีแต่แบตเตอรี่อย่างเดียว ยานยนต์ที่อยู่ในหมวดหมู่นี้ได้แก่ Tesla Model S, Nissan leaf, Tesla Model 3, Tesla Roadster, Chevrolet Bolt, Audi E-tron, Porsche Taycan, เป็นต้น
ภาพจาก http://www.spyderautoimport.com/
3. Hydrogen fuel cell vehicle – ยานยนต์ที่ใช้ Fuel Cell เป็นแหล่งพลังงานหลัก และใช้แบตเตอรี่ หรือ Super-Capacitor (SuperCap) เป็นตัวเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยานยนต์ให้ดีขึ้น
หรือเรียกอีกอย่างว่า ใช้ hydrogen มาเป็นทำปฏิกริยากับ oxygen ในแผง fuel cell จากนั้นก็ผลิตกำลังไฟฟ้าออกมาเพื่อใช้ปั่นมอเตอร์ ยานยนต์ที่อยู่ในหมวดหมู่นี้ได้แก่ Toyota Mirai เป็นต้น
ภาพจาก https://car.kapook.com/
ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี 2019 มีการผลิตอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก มีศักยภาพมากพอที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ คือการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด
ภาพจาก  https://www.hsemmotor.com/
รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อวางแผนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยในอนาคต
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ถือเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีศักยภาพและบทบาทสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจ
คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ แบ่งการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเป็น 3 ระยะคือ
– ระยะสั้น (2020-2022) ผลิตรถสำหรับรถราชการ รถสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ 60,000-110,000 คัน
– ระยะกลาง (2021-2025) จะผลักดัน ECO EV จำนวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จำนวน 300,000 คัน
– ระยะยาว (2026-2030) ให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประมาณ 750,000 คัน
ภาพจาก http://www.soccersuck.com/
3 แบรนด์ไทย ที่ผลิต "ยานยนต์ไฟฟ้า" แห่งอนาคต
1.MINE กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ สู่ธุรกิจรถบัส-เรือไฟฟ้า
ภาพจาก https://www.bangkokbiznews.com/
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เริ่มจากการผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงไบโอดีเซล โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน สู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า โดยได้เปิดตัวรถบัสไฟฟ้า และให้บริการเดินเรือไฟฟ้า ในชื่อ MINE โดยดำเนินการภายใต้บริษัท ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด รวมถึงขยายสู่การให้บริการสถานีชาร์จ E@ Anywhere ที่ดำเนินการภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด
ภาพจาก https://motortrivia.com/
2. SHARGE ธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จ
ภาพจาก  https://www.facebook.com/thestandardwealth
SHARGE (ชาร์จ) เริ่มให้บริการสถานีชาร์จ (Charging Service Provider) ที่วางกลยุทธ์เพื่อรองรับ LIFESTYLE CHARGING ECOSYSTEM ของผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า 3 สไตล์ คือ NIGHT, DAY และ ON-THE-GO
ภาพจาก https://mgronline.com/
3.CABB (แค็บบ์) แท็กซี่เพื่ออนาคต
ภาพจาก https://www.thestorythailand.com/
บริษัท เอเชีย แค็บ จำกัด ภายใต้กลุ่ม ซี.เอ.เอส (C.A.S. Group) ให้บริการรถแท็กซี่สีน้ำเงินซึ่งประยุกต์จาก "ลอนดอนแท็กซี่" รถต้นแบบสุดคลาสสิก
เริ่มให้บริการบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2563 ในลักษณะของแท็กซี่สาธารณะมาตรฐานใหม่
ภาพจาก https://encrypted-tbn0.gstatic.com/
โฆษณา