"ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ... "
ผู้ใดก็ตามที่เลือกเดินเข้าสู่เส้นทางการปฏิบัติธรรม
ปลายทางที่มุ่งหวัง ย่อมหมายถึงความพ้นทุกข์
ธรรมบทนี้ได้สรุปถึงแนวทางการปฏิบัติ
รวมทั้งผลของการปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วน
กระแสปฏิจจสมุปบาทดับลงอย่างถ้วนรอบ
แทงทะลุไปจนถึงอวิชชาดับ เกิดวิชชา และวิมุตติ
จนพบกับที่ไม่โศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น
พ้นไปได้จากกองทุกข์ทั้งปวง
โดยการตัดอาหารแห่งวงจรการเกิดขึ้น
ของกระแสปฏิจจสมุปบาท
ตัดอาหารไม่ได้หมายถึง ห้ามไม่ให้อาหารทั้งสี่เกิดขึ้น
แต่หมายถึงไม่ให้เกิดราคะ นันทิ ตัณหา
ในขณะที่เสวยอาหารทั้งสี่
ยกตัวอย่าง อาหารคือผัสสะ ไม่ได้ห้ามไม่ให้ผัสสะเกิด
แต่ในขณะที่เกิดการกระทบ ไม่เกิดราคะ นันทิ ตัณหา ต่อ
ไม่ไหลไปเป็นสิ่งนั้น
:
ให้แทนที่ด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์แปด
ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีสติตั้งมั่นในฐานทั้ง ๔
วิญญานขันธ์ก็เจริญงอกงามต่อไม่ได้
วงจรแห่งการเกิดขึ้นของกองทุกข์
จะขาดสะบั้นลงเรื่อย ๆ สั้นลงเรื่อย ๆ
จนดับสนิทอย่างถาวร ...
เมื่อวิญญานขันธ์ที่ประกอบไปด้วยอวิชชาดับ ทุกข์ก็ดับลง
อยู่เหนือรูปธรรม นามธรรม ความปรุงแต่งทั้งปวง
เกิดการสลัดคืนทุกสิ่งที่เคยเกาะเกี่ยวผูกพัน
สลัดคืนธรรมชาติในฝั่งสังขตธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป
หรืออีกนัยยะ คือ กองขันธ์ทั้งห้า
ที่อาศัยปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นมา
ที่มีสภาพแปรเปลี่ยนตลอดเวลา
ที่มีสภาพบีบคั้น ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก
ไม่เคยอยู่ในอำนาจบังคับบัญชา
อสังขตธรรมปรากฏ ธรรมชาติที่ไม่อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง
ธาตุรู้ หรือ พุทธสภาวะ
อมตธาตุ อมตธรรม วิสังขารธรรม
รู้ ตื่น เบิกบาน อย่างเต็มภูมิ
ที่มีสภาพเที่ยง เป็นสุข และไม่มีตัวตน
.
มีเพียงทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ...
อ้างอิง :