Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ขนอุยฯ เล่าเรื่อง
•
ติดตาม
14 ก.ค. 2021 เวลา 07:05 • ไลฟ์สไตล์
ห่า.. ราก...
ด้วยความสงกะสัยส่วนตัว.. ว่าหากเราจะหัดภาษาอังกฤษใหม่ตอนนี้ เราควรจะอิงที่สำเนียงใด
เมื่อความรู้เดิม มันคือการท่องจำเสียส่วนใหญ่.. เช่นกู๊ดดดมอนิ่ง ทิดเชอร์ แอมฟายแตงกิ้ว..
10ปีเต็ม กับคำพูดนี้.. ตั้งแต่ม.1" จนจบมหาลัย .. แต่ต้องถูกลบล้างด้วยวิดีโอในติ๊กต๊อกเพียง1.30วินาที.. ว่าฝรั่งในปัจจุบัน เขาไม่ได้กันเว้ากันว่าจั๋งซันแล้ว
มันดูไม่เมคเซ้น.. เช่น "เพื่อนๆ วันนี้เราจะไปรับประทาน kfc กันไหม" ฟังดูทะแม่งหูเนอะ.. แต่ถ้าชวนว่า วันนี้พวกมึงจะไปแดกkfcกันปะ ค่อยยังชั่วหน่อย..
.ด้วยภาษาไม่ตาย... มันจึงมีนักวิชาการหลายท่าน ออกมาให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า สำเนียงอเมริกัน คือสำเนียงแท้ดั่งเดิม กว่าต้นฉบับคืออิงแลนด์
มันมีข้อสันนิษฐานว่า.. ชาวอังกฤษพยายามประดิษฐ์คำใหม่ๆมา ก็เพื่อจะแยกตนเอง แถมเป็นการยกระดับตนเองให้สูงขึ้น ตามค่านิยมผู้ดีอังกฤษ
นั่นก็ยังไงเล่าไอ้หมา.... ชาวกรุง.. ศรีสยามของเรา ก็ใช้หลักการของการเคลื่อนภาษาคล้ายคลึงกัน
.จนคนพ.ศ นี้ มักไปบลูลี่ชาวสุพรรณ ว่าแม่งเหน่อได้ใจกูจริมๆ.. แต่หารู้ไหมว่า ภาษาถิ่นเดิม เราเคยพูดกันมาแบบนี้... แหมทำเป็นลืมกำพืด.. นะไอ้หน้าหมา....
ดีแค่ไหนแล้ว... ที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิขึ้นเป็นใหญ่ ไม่งั้นคงดูไม่จืด.. ถ้าจะให้ของลับใคร แล้วต้องพูดว่า กะโด๋ย... ธมธม.
ทุกวันนี้... จะหารากศัพท์แท้ๆมันดูยาก... เพราะเราได้กระทำการสับรากกันไปเรียบร้อย
การสับรากในเชิงเกษตร.. นับเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่ง่ายและได้ผล.... มันง่ายยังไงมาดู.... ก่อนอื่นก็หาจอบหาเสียม มาขุดหารากของผักหวานป่า... จากนั้นก็สับๆรากมัน ไม่นานนักผักหวานก็จะเกิดขึ้น จากรากที่สับไปนั่น
ดังนั้นมันจะแปลกอะไร ที่สำเนียงอเมกัน ออสเตเลีย และอิงแลนด์จะพูดต่างกัน เพราะต่างคนต่างสับเพื่อสร้างเอกลักษณ์ในชนชาติตัวเอง
เราจึงไม่สามารถชวนเพื่อนไปแดกkfc ที่อเมริกา แล้วขอโตเมโต้ซอสมาจิ้มไก่จากร้านเขาได้ เพราะคนที่นั่นเรียกซอสมะเขือเทศว่าเคทช็อบ เหมือนอย่างคนใต้จะหา"เหนี๋ยวห่อกล้วย" แดกในภาคอื่นๆของไทย
ยิ่งเดี๋ยวนี้.. ศัพท์วัยรุ่นเกิดใหม่แทบทุกวัน หากตามไม่มันอาจจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
อย่างวันนี้.. ได้หยิบหนังสือรายปักษ์สตรีสารเล่มล่าสุดขึ้นมาอ่าน.... ก็แทบจะอ่านไม่รู้เรื่องแล้ว...
โคตรมะ.. คืออัลไล เด็ดดวง.. คืออะไร ดีนะที่ยังจะพอกล่อมแกล้มคำ ว่า โหล่ยโท่ย ว่าความหมายมันคงเป็นเรื่องอะไรที่ไม่ดีแน่ๆ
อุ้ย! ตาเถร.. เราเดาถูก เพราะเมื่อเปิดกูเกิล.. ก็พบว่าโหล่ยโท่ยเป็นศัพท์วัยรุ่นยุค90เขาไว้พูดกัน..
ส่วน มะ เป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบกับทหารอเมริกันที่เข้ามาตั้งฐานทัพ ว่านี่กูเทห์เหมือนตะหานมะกันยังว่ะเพื่อน เออ.. เออ มึงโครตมะเลย
เด็ดดวง ในยุคก่อนสงคราม คำนี้ความหมายก็คงไม่ต่างกับคำว่าจ๊าบในยุค90 หากมีคนชมเราว่าจ๊าบจะรู้สึกดีไหมนะ.. อยากจะรู้จริงๆ
มาต่อกันที่รากภาษาของไทยแท้ๆเลยดีกว่า ว่าหากอยากจะหาภาษาถิ่นเดิมที่ไม่มีการสับ หรือสับน้อยที่สุด เราจะหาฟังได้จากไหน
ปัจจุบันน่าจะเหลือแหล่งเรียนรู้เพียงแค่2-3แห่ง นั่นคือชุมชนชาวกรุงศรีที่ถูกต้อนไปพม่า... นั่นก็พอจะหลงเหลือคำไทยที่ใช้กันอยู่บ้าง
2.ชาวไทใหญ่.... แต่ต้องดูให้ดีนะ เพราะล่าสุดไปเจอดาวติ๊กต๊อกเป็นสาวชาวไทใหญ่เข้า โห.. แม่มสวยกว่าคนไทยที่ได้ใบหน้า เป็นสัญชาติเกาหลีเสียอีก
มาถึงสถานที่สุดท้าย.. คือรัฐอัสสัมในอินเดีย.... ไม่น่าเชื่อว่าในรัฐนี้ จะมีคนพูดภาษาคล้ายบ้านเรามากๆ ทั้งๆที่อินเดียมีภาษาใช้กันมากกว่า200ภาษา แต่ภาษานี้ยังมีหลงเหลืออยู่
ก็จะไม่ให้ทึ่งได้ไง.... เพราะเพียงประเทศไทย ก็มีภาษาและสำเนียงที่ใช้ต่างกันแล้วตามภูมิภาค
ทางปักษ์ใต้ก็พูดอย่าง... ทางปักษ์เหนือก็พูดอีกอย่าง...
ถึงตรงบรรทัดนี้.. ถึงกับต้องหยิบสตรีสารฉบับรายปักษ์ขึ้นมาดูใหม่ ว่าเหตุไฉนจึงเรียกเป็นรายปักษ์
OMG!! เมื่อปักษ์คือหน่วยนับ ในแต่ละครึ่งของเดือน หนังสือเล่มนี้จึงมี2หัวหนังสือใน1เดือน
แล้วคำว่าปักษ์ใต้... นั่นก็ย่อมจะแปลว่า.. จากชุมพรลงไปคือครึ่งของประเทศด้วยใช่ไหม... เราแบ่งแบบนี้กันมานานแค่ไหนแล้วว่ะนี่... โห.. นี่ต้องขอบใจสตรีสารเล่มล่าสุดจริงๆ.. ที่ทำให้ตาสว่าง ไม่งั้นคงคุยกับใครเขาไม่รู้เรื่อง
ตอนนี้ตกผลึกแระ.. จะฟังจะอ่านจะพูดอังกฤษสำเนียงใดก็ช่างแม่มมัน อย่าไปสนใจ
เอาแค่สื่อสารกับมันให้รู้เรื่องบ้างก็พอ....
ถ้าการพูดว่า.. "ลูกตอลำอีหลีฮิ .. แล้วคน ทุกภาคเข้าใจ... ก็พูดๆแม่งไปเถอะ.. จ๊าบจะตาย
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย