Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NanoZ Science & Technology
•
ติดตาม
14 ก.ค. 2021 เวลา 13:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สำหรับ "ซูชิ " นั้นคงจะเป็นอาหารที่โปรดปรานของใครหลายๆคน แน่นอนครับว่า เป็นที่โปรดปรานของผมด้วย แต่เมื่อกล่าวถึงซูชิแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่อดคิดถึงไม่ได้เลยก็คือ "วาซาบิ " เรียกได้ว่าสองสิ่งนี้เป็นของคู่กันเลยทีเดียว และวันนี้ "วาซาบิ" ก็จะเป็นหัวข้อหลักในการนำเสนอบทความ กับคำถามที่ว่า... "เหตุไฉนวาซาบิจึงจี๊ดขึ้นสมอง" ...เชิญรับชมขอรับ...
สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่านครับ เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ลิ้มลองกับอานุภาพแห่งวาซาบิมาแล้ว แต่ท่านเคยสงสัยหรือมีคำถามเกิดขึ้นในใจหรือไม่ว่าเหตุไฉนเมื่อรับประทานวาซาบิเข้าไปแล้วจึงมีความรู้สึก เหมือนโดนกระชากหนังศีรษะพร้อมกับเหมือนมีตะเกียบมาเสียบไว้ที่รูจมูกทั้งสองข้างในเวลาเดียวกัน แล้วถ้ามันเผ็ดทำไมจึงเผ็ดไม่เหมือนพริกทั่วๆไป
อย่างแรกต้องเข้าใจว่าร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยในปัจจุบันนั้น บางส่วนก็เป็นวาซาบิแท้ๆ และอีกบางส่วนจะพบวาซาบิที่ทำขึ้นจากฮอร์สแรดิชผสมมัสตาร์ด ซึ่งส่วนมากมักพบในห้างสรรพสินค้า และจะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนั้น สาเหตุหลักเกิดจาก ไอระเหย ของสารประกอบออแกนิกซัลเฟอร์ที่มีชื่อว่า Allyl isothiocyanate หรือ AITC ซึ่งเจ้า Allyl isothiocyanate เป็นส่วนประกอบของวาซาบิ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนรูปของสาร glucoside ที่อยู่ในวาซาบิ โดยเอนไซม์ที่มีชื่อว่า myrosinase และมีหน้าที่ในการป้องกันสัตว์กินพืชนั่นเอง ถึงกระนั้นก็ตาม ก็มิอาจจะป้องกันมนุษย์กินพืชอย่างพวกเราได้ เพราะเมื่อมนุษย์อย่างเราได้ลิ้มลอง แทนที่จะมองเป็นสิ่งเลวร้ายกลับมองเป็นเรื่องสนุก และยังเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเครื่องเทศที่หาไม่เจอในพืชชนิดใดบนโลกอีกด้วย
Allyl isothiocyanate ( AITC )
แต่สารประกอบที่อยู่ในวาซาบินั้นก็สามารถสร้างความระคายเคืองได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเวลารับประทานวาซาบิแล้วนอกจากจะได้กลิ่นไอระเหย เรายังรู้สึกแสบจมูกอีกด้วย และนั่นก็ส่งผลให้ระบบประสาทของเรารู้สึกเหมือนจมูกโดนทำร้ายด้วยวาซาบินั่นเอง
ขอบคุณสำหรับการอ่านครับ ผู้อ่านที่รักยิ่งทุกท่าน
สำหรับวันนี้...ฝันดีครับ ^-^
แหล่งที่มาข้อมูล :
1)
https://en.wikipedia.org/wiki/Allyl_isothiocyanate
2)
https://www.beartai.com/brief/sci-news/203486
3)
https://unsplash.com/photos/U3FD3M8mCC0
เรียบเรียงโดย :
NanoZ Science & Technology
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย