15 ก.ค. 2021 เวลา 03:48 • สุขภาพ
SINOVAC
NAb test in Thailand
Mahidol U.
* มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการทดลองเพื่อประเมินศักยประสิทธิภาพของ NAb ที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากการติดเชื้อ (30 คน) หรือ ได้รับวัคซีน Sinovac (60 คน) ต่อ สายพันธุ์ต้นแบบดั้งเดิม (WT) และ สามชนิดที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ สายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟ่า), B.1.351 (เบต้า) และ B.1.617.2 (เดลต้า)
* โดยใช้ซีรั่มที่ได้มาจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับ Sinovac 2 เข็ม และ จากอีก 2 กลุ่มที่ประกอบด้วยผู้ป่วย COVID-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในปี 2020 และ 2021 พบว่า
* แม้จะมีการผลิต IgG ที่จับกับ S1-RBD และ seropositivity 100% ที่เท่าเทียมกัน แต่ NAb ที่ได้มาจากซีรั่มทั้งจากคนที่ได้รับวัคซีน Sinovac และบุคคลที่ติดเชื้อตามธรรมชาติ และ เมื่อเทียบกับ WT พบว่า NAb titers กับ Alpha และ Beta นั้นใกล้เคียงกัน แต่ Delta ดูเหมือนจะมีความทนทานมากกว่า NAbs ในทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ
* มีการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนของวัคซีนโควิด 7 ยี่ห้อในสหรัฐอเมริกา โดยวิเคราะห์ข้อมูลการทดลองวัคซีนในระยะที่ 3 พบว่า ค่า NAb มีความสัมพันธุ์กับประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันความรุนแรงของโรคจากการติดเชื้อโควิดที่มีอาการ
* โดยมีการประเมินว่าระดับของ NAb ที่ร่างกายต้องการใช้ในการป้องกัน 50% ต่อการติดเชื้อโควิด และ ระดับ NAb ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันโรคร้ายแรง 50%
จากการกระตุ้นด้วยวัคซีนคือ 20.2% และ 3% ของค่าเฉลี่ย NAb ที่ได้จากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อตามธรรมชาติ ตามลำดับ และจากการใช้แบบจำลองเพื่อประเมินการสลายตัวของ NAb ในช่วง 250 วันแรกหลังการได้รับวัคซีน พบว่าค่า NAb อาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่การป้องกันโรคในระดับที่รุนแรงส่วนใหญ่ยังคงอยู่
# จากการทดลองของมหาวิทยาลัยมหิดล และ การทดลองในสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าหากนำมาเทียบเคียงกัน แม้ว่าค่า NAb ที่ได้จากการฉีดวัคซีน จะลดลงมากสำหรับการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ Delta แต่จากค่า NAb ที่ได้จากการทดลองของมหิดล ก็แปลว่า ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน Sinovac น่าจะยังเพียงพอในการป้องกันการเกิดโรคที่มีอาการรุนแรงได้อยู่ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราคาดหวังจากการใช้วัคซีนทุกชนิด คือ ป้องกันการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต
โฆษณา