15 ก.ค. 2021 เวลา 05:29 • ข่าว
การประกาศกลับเมืองไทยของพี่โทนี่ หรือทักษิณ ชินวัตร สร้างความแปลกใจให้กับสังคมเป็นอย่างมาก เขาจะกลับมาในฐานะอะไร เพราะขณะนี้ยังมีคดีความติดตัวที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วกว่า 10 ปี
4
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่หนีคดีไปอยู่ดูไบ พูดถึงการเดินทางกลับเมืองไทย เพียงแต่การพูดใน 2 ครั้งหลังผ่านคลับเฮาท์เป็นการพูดแบบมั่นอกมั่นใจมากกว่าทุกครั้ง ทำให้คนที่ได้ยินต้องรู้สึกแปลกใจในความมั่นใจดังกล่าว พาลให้คิดไปต่างๆนาๆ เขาจะกลับมาด้วยวิธีไหนกันแน่
3
หากจะว่าไปแล้ว ทุกวันนี้คุณทักษิณ สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ทุกเวลา เพียงแต่กลับมาแล้วจะต้องอยู่ในฐานะจำเลย หรือนักโทษตามคำพิพากษา เนื่องจากคุณทักษิณมีคดีถูกฟ้องในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งสิ้น 8 คดี มีหลายคดีทื่ศาลฎีกาฯพิพากษาลงโทษจำคุกไปแล้วโดยไม่รอลงอาญา
5
ประเด็นคือ ถ้าคุณทักษิณกลับมา จะยอมรับโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ แม้บางคดีจะหมดอายุความตามกฎหมายเก่า แต่ตามกฎหมายใหม่กำหนดให้หยุดนับอายุความจนกว่าจะได้ตัวผู้ต้องคำพิพากษากลับมารับโทษ นี่เองจึงเป็นที่มาของเหตุผลที่ว่า หากอดีตนายกฯทักษิณจะกลับบ้านแบบไม่โดนอะไรเลย ก็ต้องมีดีลระดับ “ซูเปอร์ดีล” ใหญ่กว่า “ตั๋วช้าง” กันเลยทีเดียว
1
สำหรับ 8 คดีของนายทักษิณ ประกอบด้วย
คดีแรก อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง คุณทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ต่อมาองค์คณะผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน มีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 พิพากษาว่าคุณทักษิณกระทำผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา แต่ให้ยกฟ้องคุณหญิงพจมาน คดีนี้ไม่มีการยื่นอุทธรณ์คดีต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา สถานะคดีตอนนี้ คุณทักษิณ" ไม่ต้องรับโทษแล้ว เพราะหลบหนีคดีเกิน 10 ปี เลยระยะเวลาที่จะลงโทษได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 เรียกว่าหนีจนขาดอายุความ
คดีที่ 2 คุณทักษิณ ถูกยื่นฟ้องฐานร่ำรวยผิดปกติ ขอให้ริบทรัพย์สิน 7 หมื่น 6 พันล้านบาท พร้อมดอกผลที่ได้มาจากการขายหุ้น “ชินคอร์ป” หรือ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับกลุ่มเทมาเส็กโฮลดิ้ง ของสิงคโปร์
ศาลฎีกาฯ พิจารณาแล้ว มีมติ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยว่า คุณทักษิณ ใช้อำนาจขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ออกนโยบาย เอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ปฯ ธุรกิจที่ครอบครัว ถือหุ้น ทำให้มีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ทำให้รัฐเสียหาย และมีมติ 7 ต่อ 2 พิพากษาให้ยึดทรัพย์สินในชื่อ คุณทักษิณและคนในครอบครัว รวม 4 หมื่น 6 พันล้านบาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดินฝ่ายจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่รับคำอุทธรณ์ เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานใหม่ที่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
1
สำหรับคดีที่เหลือ เป็นคดีที่ยื่นฟ้องช่วงที่คุณทักษิณหลบหนีออกจากประเทศไทยไปแล้ว ได้แก่
คดีที่ 3 คดีออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว หรือที่เรียกกันติดปากว่า “คดีหวยบนดิน”
1
คดีที่ 4 คดีอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของเอ็กซิมแบงก์ หรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โดยอนุมัติเงินกู้ให้กับรัฐบาลเมียนมา วงเงิน 4,000 ล้าน เอื้อประโยชน์ธุรกิจดาวเทียม บริษัทชินแซทเทิลไลท์ และบริษัทในเครือตระกูลชินวัตร (คืออนุมัติเงินกู้จากธนาคารของรัฐ ให้เมียนมาซื้อสินค้าของบริษัทที่คุณทักษิณเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องด้วย
1
คดีที่ 5 คดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิตเอื้อประโยชน์ธุรกิจ “ชินคอร์ป” ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท
คดีที่ 6 ขอให้ศาลวินิจฉัย คุณทักษิณ จงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จฃ คดีนี้ศาลให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และให้ออกหมายจับมาดำเนินคดี เพราะคุณทักษิณหลบหนี
1
คดีที่ 7 คดีทุจริตปล่อยเงินกู้ของธนาคารกรุงไทยให้บริษัทในเครือของกฤษดามหานคร
เดิมที่คดีเหล่านี้ตามกฎหมายเก่า ศาลฎีกาไม่สามารถพิจารณาคดีได้ เนื่องจากยังไม่ได้ตัวจำเลยมาขึ้นศาล แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญปี 60 และมีการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 และออกกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ โดยมีมาตราสำคัญๆ ตามกราฟฟิกบนหน้าจอ
1
สรุปก็คือ ถ้าเป็นคดีทุจริตที่จำเลยหลบหนี ศาลพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ ห้ามอุทธรณ์ เพราะตัวไม่อยู่ในประเทศ ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์เอง และอายุความสะดุดหยุดลง
ทั้งหมดนี้ ทำให้ศาลฎีกาทยอยไต่สวนคดีที่เหลือ และมีคำพิพากษาออกมา เริ่มต้นที่
-คดีปล่อยกู้ เอ็กซิมแบงก์ องค์คณะฯ มีมติเสียงข้างมาก จำคุกเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา คดีถึงที่สุด ศาลให้ออกหมายจับโดยไม่หมดอายุความ และจำเลยอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะไม่ได้มาศาลด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายใหม่
-คดีหวยบนดิน ศาลตัดสินจำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา คดีถึงที่สุด และให้ออกหมายจับเช่นกัน
-คดีแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเอื้อชินคอร์ปฯ ศาลสั่งจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา คดีถึงที่สุด ออกหมายจับ อุทธรณ์ไม่ได้
-คดีทุจริตปล่อยเงินกู้แบงก์กรุงไทย ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด
-และยังมี คดีบริหารแผนฟื้นฟูบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทยจำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ โดยมิชอบ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด
เหล่านี้เอง จึงเป็นคำถามว่าคุณทักษิณจะกลับมาจะยอมรับโทษตามคำพิพากษาคดีเหล่านี้ที่นับรวมกับประมาณ 10 ปีหรือไม่ หรือคุณทักษิณ มั่นใจว่ามีคอนเนคชั่นเกี่ยวกับแนวทางความปรองดองหรือไม่อย่างไร ที่จะทำให้คดีเหล่านี้มีอันระงับไป ถึงได้มั่นใจว่าจะได้กลับประเทศไทยแน่นอน
1
อ่านเพิ่มเติม >> https://www.nationtv.tv/news/378829186/?ams=
โฆษณา