Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สารพันสาระ
•
ติดตาม
15 ก.ค. 2021 เวลา 09:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำงานในที่อับอากาศ!
เสี่ยงสูง! ที่จะจากไป โดยไม่ได้ร่ำลา!
ข่าวการเสียชีวิต 3 ศพ เนื่องจากการขาดอากาศหายใจ ในโรงเพาะเห็ดแห่งหนึ่ง ใน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังความสลด สะเทือนใจให้กับผู้เขียนมิใช่น้อย
ภาพจาก https://www.naewna.com/
เหตุเพราะเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ และไม่ค่อยได้เห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยในลักษณะนี้มากเท่าที่ควร
ภาพจาก https://sde-c.com/
ผู้เขียนเชื่อว่าประชาชนจำนวนมาก ยังขาดความตระหนักถึงภยันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ
เพราะแม้แต่ตัวผู้เขียนเองก็ยังไม่ค่อยรู้สึกสะทกสะท้านใด ๆ เมื่อต้องเข้าไปอยู่ในที่อับอากาศ
เกลียดก็เพียงแต่ความร้อนและความอึดอัดแค่นั้นเอง แต่ไม่ได้ตระหนักถึงว่าอาจเป็นเหตุให้ตัวเองเสียชีวิตกระทันหัน โดยไม่ทันร่ำลาคนที่รักได้
ภาพจาก http://www.xn--12c3c0brbwjb.com/
จากการสืบค้น ผู้เขียนก็เพิ่งรู้ว่าไทยเราก็มีการออกกฎเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศด้วย แต่เนื้อหาข้างใน น่าจะมีจุดมุ่งหมายในการควบคุมนายจ้างให้คุ้มครองลูกจ้างเป็นหลัก
ไม่ได้ครอบคลุมถึงประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นลูกจ้าง แต่ต้องทำงานในที่อับในที่ของตนเอง เช่น โรงเพาะเห็ดของตนเอง จนเกิดโศกนาฏกรรม ดังที่เป็นข่าว
1
ภาพจาก https://www.amarintv.com/
การทำงานในที่อับอากาศ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต ดังนี้
1. ปริมาณออกซิเจน ต่ำเกินไปทำให้ขาดอากาศหายใจ
ภาพจาก https://www.sanook.com/
หลุมที่มีความลึกหรือท่อมักจะมีออกซิเจนน้อย หากต่ำกว่าร้อยละ 20 จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
2.มีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายอยู่ภายในหลุม บ่อ อุโมงค์ หรือที่อับ
ภาพจาก https://news.thaipbs.or.th/
ก๊าซที่พบบ่อย มี 3 ชนิด ได้แก่
1. ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์(Hydrogen sulfide)หรือก๊าซไข่เน่า
ภาพจาก https://www.singha-r-sa.org/
ก๊าซไข่เน่าเกิดจากการย่อยสลายจุลินทรีย์ในน้ำเสีย ขยะจากเศษอาหาร หรือจากสิ่งมีชีวิตที่มีโปรตีนสูง ถูกย่อยสลาย ซึ่งมักพบก๊าซไข่เน่าจากบ่อปฏิกูล บ่อหมักก๊าซ ใต้ท้องเรือประมง และบ่อขยะ เป็นต้น
ก๊าซไข่เน่าที่มีความเข้มข้นสูงถึง 100 พีพีเอ็ม. เมื่อสูดเข้าไปจะทำให้หยุดหายใจ เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว หรือหากมีความเข้มข้นสูง 66 พีพีเอ็ม. ขึ้นไปเริ่มอันตรายให้ออกจากพื้นที่นั้นโดยเร็ว
2.ก๊าซมีเทน
ภาพจาก http://ppp.energy.go.th/
ก๊าซมีเทนเกิดจากกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
เป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนหรือภาวะเรือนกระจก (Green House Effect)
ภาพจาก http://www.mae-o.go.th/
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความไวไฟสูง เบากว่าอากาศ มักจะลอยอยู่ด้านบน
พบการเกิดก๊าซได้มากบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำขังหรือมีการหมักหมมของสารอินทรีย์ เช่น นาข้าว แหล่งน้ำขัง ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
ก๊าซมีเทนสามารถสะสมตัวเองในที่สูง ต้องระวังพื้นที่ปิดด้านบน ก๊าซมีเทนปริมาณสูง จะทำให้เราได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจ เพราะก๊าซมีเทนจะเข้าไปแทนที่ก๊าซออกซิเจนที่เราต้องการ
ภาพจาก https://www.siamchemi.com/
3. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีน้ำหนักเบากว่าอากาศและเมื่อเผาไหม้จะให้เปลวไฟเป็นสีฟ้า
ภาพจาก https://www.ponpe.com/
เมื่อก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจจะเป็นพิษต่อร่างกายเพราะว่าจะเข้ามาแทนที่ออกซิเจนในกระแสโลหิต
ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ก๊าซออกซิเจนได้ จะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ หัวใจเต้นถี่ขึ้น และทำให้เป็นลมหมดสติ ไปจนถึงเสียชีวิตในที่สุด
ผู้ที่สตาร์ทรถยนต์ เปิดแอร์ แล้วจอดนอน มักเสียชีวิตเพราะก๊าซชนิดนี้
ภาพจาก https://pantip.com/
การป้องกันอันตรายขณะทำงานในที่อับอากาศ
ภาพจาก https://www.safetyinthai.com/
1. ก่อนจะลงไปทำงานต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดปริมาณออกซิเจน สารเคมีอันตราย หรือก๊าซพิษก่อน
เครื่องตรวจวัคค่าออกซิเจนในอากาศ รูปภาพจาก https://www.nanasupplier.com/
2. จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะถังบรรจุออกซิเจนและหน้ากาก
ภาพจาก https://www.tosh.or.th/
3. ต้องมีผู้ช่วยเหลืออยู่ที่ปากบ่อหรือปากทางอย่างน้อย 1 คน และผู้ควบคุมการทำงาน 1 คน ทั้งหมดจะต้องผ่านการฝึกอบรม ทั้งการกู้ภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นอย่างดี
4. ควรผูกเชือกที่เอวของผู้ปฏิบัติงานไว้ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ปากบ่อรู้การเคลื่อนไหวตลอดเวลาหากเห็นว่ามีอาการหรือท่าทางผิดปกติ ต้องรีบนำตัวออกมาทันที
ภาพจาก http://chiangmai.labour.go.th/
5. กรณีที่เป็นประชาชน ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดปริมาณก๊าซ ให้ใช้วิธีการสังเกต หากเป็นบ่อน้ำให้ดูสีและกลิ่น
หากมีสีดำเข้มให้ใช้ไม้กวนน้ำเพื่อให้ก๊าซไข่เน่าฟุ้งกระจายออกมา
หากมีกลิ่นเหม็นรุนแรงเหมือนไข่เน่า ให้สันนิษฐานว่ามีก๊าซไข่เน่าอยู่ ห้ามลงไปเด็ดขาด
ภาพจาก https://www.brighttv.co.th/
ข้อมูลจาก
https://www.hfocus.org/
http://www.xn--12c3c0brbwjb.com/
http://www.orangeth.com/
https://news.thaipbs.or.th/
https://www.siamchemi.com/
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย