16 ก.ค. 2021 เวลา 09:52 • สุขภาพ
Article 16 คิดช่วยชาติกับระบบ home isolated
เมื่อคืนผมนอนคิดว่าจะช่วยเหลือประเทศชาติอย่างไรเกี่ยวกับสถานการณ์ covid-19 พยายามนอนคิดหาวิธีหรือรูปแบบที่จะช่วยลดการติดเชื้อหรือการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโควิด คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก คิดจนเผลอหลับโดยไม่รู้ตัว ดันไปคิดออกในฝันซะงั้น
เรื่องในฝันเกิดขึ้น เร็ว และเหมือนจริงมาก เหตุการณ์ในฝัน ผมไปฉีดวัคซีน เมื่อฉีดวัคซีนเสร็จ ข้อมูลทั้งหมดของผมก็ถูกเจ้าหน้าที่บันทึกเรียบร้อยแล้ว ผ่าน App หมอพร้อมหรือไม่พร้อมอะไรสักอย่างนี่แหละ ยังไม่ทันลุกจากที่นั่ง เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่ง เอาชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน (Rapid Antigen Test) มาทำการตรวจผม และให้รอฟังผลพร้อมกับรอดูอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
รับวัคซีนแอสตร้าเซนิก้าเข็มที่ 1
ผมรู้สึกว่าเหมือนถูกบังคับให้ตรวจ covid แต่อีกใจหนึ่ง ก็คิดว่าดีเหมือนกัน ถ้ารู้ผลว่าเราติดเชื้อจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ระหว่างรอผมก็นั่งคิดว่าถ้าเกิดติดเชื้อขึ้นมาจะทำอย่างไรดี จะปกปิดไทม์ไลน์ดีไหมว่าแอบไปไหนมาบ้างไปเจอใครมาบ้าง แล้วจะไปกักตัวที่ไหนโรงพยาบาลสนามตอนนี้ก็เต็มไปหมดแล้วเตียงก็มีไม่พอ
แต่ดันมานึกได้ว่าทำประกันเจอจ่ายจบไว้ 2 ฉบับ ถ้าเกิดตรวจเจอเชื้อ ได้ตังค์อีก 200,000 เลยค่อยรู้สึกสบายใจขึ้น ย้ำนะครับว่านี่เป็นเรื่องในฝันของผม
ประกันเจอจ่ายแต่ทำท่าจะไม่จบ
เช้าตื่นมาดูข่าว รายการเจาะลึกทั่วไทย ก็เจอแต่ข่าว การยกเลิกการตรวจเชิงรุก ของกระทรวงแรงงานปรากฏว่า เชิญรมต. สุชาติ ชมกลิ่น มาให้ข้อมูล คุณสุชาติ บอกว่า กทม.ไม่ให้ตรวจ ทางกระทรวงไม่มีหน้าที่ตรวจเป็นหน่วยสนับสนุน จึงเอางบฉีดวัคซีนแปลงเป็นข้าวกล่องช่วยเหลือพี่น้องแรงงานแทน ส่วนผู้ว่ากทม อัศวิน ขวัญหนีดีฝ่อ ที่สั่งการไม่ให้กระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจ เพราะว่ายิ่งตรวจยิ่งเจอ กลับหายเข้ากลีบเมฆไปเลย ทางรายการขอสัมภาษณ์ก็ติดต่อไม่ได้ แล้วก็ไหนจะข่าววัคซีนแกงโฮะ ของหมอยงที่แนะนำให้ฉีด สลับ เข็ม ทำเอาสับสนสร้างการวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วสื่อโซเชียลออนไลน์
เจาะลึกทั่วไทย ล้มตรวจโควิดแรงงานต่างด้าว
แต่มามีข่าวดีอยู่ขาวนึง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง covid-19 คือการอนุมัติให้ใช้ ชุดตรวจโควิดแบบเร่งด่วน Rapid Antigen Test ซึ่งดันมาตรงกับที่ผมฝันไว้เมื่อคืนเป๊ะเลย
รายชื่อชุดตรวจ Rapid Antigen Test Kit 24 บริษัทที่ อย. อนุญาตมีดังนี้ จากข้อมูล ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2564
1. STANDARD™ Q COVID-19 Ag Test ผลิตโดย SD Biosensor, Inc นำเข้าโดย บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
2. Panbio™ COVID-19 Ag Rapid Test Device (nasopharyngeal) ผลิตโดย Abbott Diagnostics Korea Inc. นำเข้าโดย บริษัท ดีซีเอช ออริกา (ประเทศไทย) จำกัด
3. SARS-CoV-2 Rapid Antigen Test และ SARS-CoV-2 Antigen Control ผลิตโดย SD Biosensor, Inc นำเข้าโดย บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
4. BIOCREDIT COVID-19 Ag ผลิตโดย RapiGEN INC. นำเข้าโดย บริษัท ทิพย์บรรพต กรุ๊ป จำกัด
5. Instant-View-Plus COVID-19 Antigen Test ผลิตโดย ALFA SCIENTIFIC DESIGNS,INC. USA นำเข้าโดย บริษัท ตรีปัญญา จำกัด
6. BIOSYNEX COVID-19 Ag BSS ผลิตโดย BIOSYNEX SWISS SA ,SWITZERLAND นำเข้าโดย บริษัท ดับเบิ้ล เอส ไดแอคนอสติคส์ จำกัด
7. Humasis COVID-19 Ag Test ผลิตโดย Humasis Co.,Ltd. Republic of Korea นำเข้าโดย บริษัท ทรู เฮลธ์แคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
8. Novel Coronavirus (COVID-19) Antigen Test Kit (Colloidal Gold) ผลิตโดย Hangzhou Laihe Biotech Co., Ltd. China. นำเข้าโดย บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด
9. COVID-19 Rapid Antigen Test ผลิตโดย Reszon Diagnostic International Sdn. Bhd. Malaysia นำเข้าโดย บริษัท เจเนอรัลไซเอนซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
10.Sofia SARS Antigen FIA ผลิตโดย Quidel Corporation. USA นำเข้าโดย บริษัท ซี เมดิค จำกัด
11. Exdia COVID-19 Ag ผลิตโดย Precision Biosensor Inc. Republic of KOREA. นำเข้าโดย บริษัท ทิพย์บรรพต กรุ๊ป จำกัด
12. OnSite COVID-19 Ag Rapid Test ผลิตโดย CTK Biotech, Inc. USA นำเข้าโดย บริษัท ซี เมดิค จำกัด
13. CerTest SARS-CoV-2 ผลิตโดย CERTEST BIOTEC S.L., SPAIN นำเข้าโดย บริษัท เฮาส์เซน เบอร์นสไตน์ จำกัด
14. STANDARD F COVID-19 Ag FIA และ STANDARD COVID-19 Ag Control ผลิตโดย SD Biosensor Inc. Republic of Korea. นำเข้าโดย บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
15. BIOCREDIT COVID-19 Ag ผลิตโดย RapiGEN, Inc., Republic if KOREA นำเข้าโดย บริษัท ทิพย์บรรพต กรุ๊ป จำกัด
16. FORA COVID-19 Antigen Rapid Test ผลิตโดย TaiDoc Technology Corp., Taipei City Taiwan นำเข้าโดย บริษัท เมดิทอป จำกัด
17. Vstrip COVID-19 Antigen Rapid Test ผลิตโดย Panion&BF Biotech Inc. Xizhi Factory, Taiwan. นำเข้าโดย บริษัท เจ.เอ.ซี.อินดัสตรี่ จำกัด
18. COVID-19 Antigen Rapid Test (Nasopharyngeal Swab) ผลิตโดย Acro Biotech, INC. U.S.A นำเข้าโดย บริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด
19. COVID-19 Antigen Test Kit ผลิตโดย Lansion Biotechnology Co., Ltd., China. นำเข้าโดย บริษัท เฮาส์เซน เบอร์นสไตน์ จำกัด
20. AFFINOME COVID-19 Ag Rapid Test Cassette ผลิตโดย บริษัท แอฟฟิโนม จำกัด ประเทศไทย
21. 2019-nCoV-Antigen Rapid Test Kit (Colloidal gold immunochromatography) ผลิตโดย Beijing Lepu Medical Technology Co., Ltd. , P.R. China นำเข้าโดย บริษัท พริมา ไซเอ็นติฟิค จำกัด
22. Humasis COVID-19 Ag Test ผลิตโดย Humasis Co., Ltd. Republic of Korea นำเข้าโดย บริษัท ลาโบตรอน จำกัด
23. Trueline COVID-19 Ag Rapid Test ผลิตโดย MEDICON CO., LTD Vietnam นำเข้าโดย บริษัท อินโนเมด (ประเทศไทย) จำกัด
24. SARS-CoV-2 Antigen Rapid Test Kit (Colloidal Gold Immunochromatography) ผลิตโดย Beijing Lepu Medical Technology Co., Ltd P.R. China นำเข้าโดย บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด
กลับมาต่อเรื่องฝันของผมดีกว่า หลังจากรอผลตรวจ 30 นาที คุณพยาบาลเดินมาและแจ้งผลการตรวจกับผมว่า ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ ผลการตรวจออกมาเป็นบวกค่ะ ฉิบหายละซิผมนึกในฝัน แล้วจะทำยังไงดี จะไปกักตัวที่ไหนดี เราก็ยังแข็งแรงดีไม่มีอาการใดๆ นึกได้ในฝันว่าตอนนี้เขาให้ทำ home isolated ได้ ว่าแต่ไอ้ home isolated นี่มันทำยังไง มีอะไรมารองรับหรือยัง วิธีปฏิบัติอะไรประมาณนี้มีหรือปล่าว ใครจะเอาข้าวเอาน้ำมาส่ง เกิดอาการหนักหรือหายใจไม่เข้า จะทำยังไง อูยยย นี่ขนาดแค่ในฝันยังเครียดขนาดนี้ ตกลงหายใจไม่ออกหรือหายใจไม่เข้า นี่ผมยังไม่แน่ใจ ใครรู้บอกด้วย ตามหลักมันต้องเข้าก่อน แล้วจึงค่อยออก มันเป็นแบบนี้ทุกเรื่อง 555
ตื่นมาเลยต้องรีบสืบค้นหาข้อมูลเรื่อง home isolated
ข้อมูล home isolation จากกรมการแพทย์
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยที่จะทำ Home Isolation ประกอบไปด้วย 7 หลักเกณฑ์ คือ
1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ
2. มีอายุไม่เกิน 60 ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
5. ไม่มีภาวะอ้วน
6. ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, เบาหวานที่คุมไม่ได้
7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
สธ. สรุปแนวทาง Home Isolation และ Community Isolation เตรียมรองรับผู้ป่วยสีเขียว 400-600 ราย มีอาหาร 3 มื้อ ติดตามอาการทุกวัน รับเฉพาะผู้สมัครใจ เบื้องต้นได้ทดลองระบบนี้กับ 6 โรงพยาบาลในกทม.นำร่อง "Home isolation" รองรับผู้ป่วยโควิดรอเตียง
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดเวทีบรรยายออนไลน์หัวข้อ "แนวทางการรักษาและ Home isolation (การกักตัวที่บ้าน) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19"
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากใน กทม. และปริมณฑล จำนวนผู้ป่วยขณะนี้เกินกำลังบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 26,000 คน และคาดว่าจะสูงถึง 3-4 หมื่นคน เตียงไม่พอแน่นอน แม้จะขยายเตียงก็ไม่มีหมอพยาบาล
Home isolation มีข้อเสีย 2 ประการ อย่างแรกกับตัวคนไข้เองคือเมื่อเขาอยู่บ้านแล้วภาวะเสี่ยงเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นแดงสุขภาพแย่ลงจะส่งผลกับคนไข้เอง และอย่างที่ 2 การที่ไม่สามารถแยก(Isolate)ตัวเองกับญาติพี่น้อง จะแพร่เชื้อให้ญาติ สู่ชุมชน ถ้าเตียงพอไม่อยากให้ทำ เพราะฉะนั้นต้องป้องกัน 2 เรื่องนี้คือ 1.ไม่ให้เขาแย่ลงต้องลงทะเบียน ต้องให้อุปกรณ์ไปที่บ้าน ปรอทวัดไข้ ที่วัดออกซิเจนในกระแสเลือด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ให้เงินกับโรงพยาบาลอีก 1 พันบาทต่อคนต่อวัน เราส่งอาหาร 3 มื้อ แพทย์ติดต่อกับผู้ป่วยตลอด 14 วันกักตัว
Home isolation เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ใช้กับผู้ป่วย 2 กรณี คือ 1.ผู้ป่วยที่วินิจฉัยใหม่ตามเกณฑ์ ระหว่างรอแอดมิทในโรงพยาบาล แพทย์เห็นว่าสามารถดูแลรักษาที่้บานเพื่อรอเตียงได้ 2.ผู้ป่วยที่ Step Down หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันจนอาการดีขึ้น และจำหน่ายกลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านอย่างเคร่งครัดอีก 4 วัน โดยจะมีหมอและพยาบาลติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
คำแนะนำการแยกกักตัวที่บ้าน 1.ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม 2.ข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโควิดในระหว่างแยกกักตัว 3.คำแนะนำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตามดูแลผู้ป่วยโควิดที่อยู่ที่บ้าน ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยกับการดำเนินการของโรงพยาบาล โดยข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโควิดคือห้ามไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างกักตัว อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก การใช้ห้องน้ำเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากโควิดติดทางสารคัดหลั่ง หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกันหรือมีในบ้านมีห้องน้ำห้องเดียวก็ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ในบ้าน ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก โดยคำแนะนำเหล่านี้จะมีรายละเอียดแจกให้กับผู้ป่วย
แพทย์จะใช้ดุลยพินิจว่าผู้ป่วยจะปลอดภัยหรือไม่ถ้าจะรักษาตัวอยู่ที่บ้าน พิจารณาจากเกณฑ์เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือไม่มีอาการ มีอายุน้อยกว่า 60 ปี อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน สามารถแยกห้องกันได้ ไม่มีภาวะอ้วน และยินยอมที่จะแยกตัวในที่พักของตนเอง
ด้านการดำเนินการของโรงพยาบาล จะมีการประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อ ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อ ติดตามประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน ให้ผู้ป่วยวัดอุณหภูมิและ Oxygen saturation แล้วแจ้งทางโรงพยาบาลทุกวันผ่านระบบสื่อสารที่เหมาะสม ทางโรงพยาบาลจะติดต่อกับคนไข้ ส่งยา อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ หน้าที่ของคนไข้คือต้องรายงานค่าออกซิเจนที่ปลายนิ้วและอุณหภูมิ 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งพยาบาลที่ดูแลจะทำการวีดีโอคอลกับคนไข้ ในกรณีที่ฉุกเฉินก็จะมีสายด่วนถึงแพทย์พยาบาลเพื่อนำคนไข้เข้าสู่การรักษาที่โรงพยาบาลได้ โดยกรมการแพทย์ได้ทำโครงการนำร่องไปที่โรงพยาบาลราชวิถีไปแล้ว 18 ราย ประมาณ 2 เดือน
ผู้ป่วยนอนอยู่ที่บ้านสามารถเบิกยาฟาวิพิราเวียร์ได้ สปสช.ให้แอดมิทเป็นผู้ป่วยใน สนับสนุนเงินค่าคนไข้รวมทั้งค่าอาหาร 1,000 บาทต่อวัน ให้ค่าอุปกรณ์ 2 ชิ้นปรอทวัดไข้ไม่เกิน 1,100 บาทต่อวัน ถ้ามีเอกซเรย์ก็มีอีก 100 บาท ค่ายาต่างหากถ้าเป็นยาไวรัสไม่เกิน 7,200 บาท ในกทม.ได้ค่ารถพร้อมค่าทำความสะอาด 500 บาท รวมแล้ว 4,200 บาท
รายละเอียดสำหรับการกักตัวแบบ home isolated น่าจะครบถ้วนทุกประเด็น ทีนี้ก็เหลือแต่ขั้นตอนการปฏิบัติว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน และจะเกิดปัญหาอะไรบ้างก็ต้องติดตามรอฟังผลกันต่อไป
สำหรับผมมีข้อเสนอแนะว่าการตรวจเชิงรุกยังต้องดำเนินต่อไป แต่ควรเพิ่มการตรวจเชิงรับเข้ามาด้วย การตรวจเชิงรับคือการตรวจ Rapid Antigen Test ให้กับผู้มารับการฉีดวัคซีน ไปพร้อมกันเลยเหมือนในฝันของผม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่ติดเชื้อ ได้รับทราบว่าตัวเองติดเชื้อแล้ว จะได้ดำเนินการกักตัว ร่วมกับระบบ home isolated ก็น่าจะดี ที่สำคัญอย่าลืมแจกยาฟาริพิราเวียร์ หรือโมลนูพิราเวียร์ด้วยจะดีมากๆ สำหรับท่านใดที่มีประสบการณ์ home isolated อยากจะแชร์เชิญได้เลยนะครับ หรือมีแนวคิดอื่นๆที่จะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ เชิญเลยนะครับ
1
ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....
คุณได้รับคำเชิญให้เข้าร่วม "Pariyasut 2018" โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้
โฆษณา