26 ก.ค. 2021 เวลา 02:30 • การศึกษา
หนังสือบทต่อไปของชีวิต
ชีวิตเหมือนการลากเส้นต่อจุด เราไม่รู้ว่าอนาคตจะไปอยู่ตรงไหนที่ใด เราทำได้แค่ลากเส้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
8
จากเด็กเรียนชอบเข้าห้องสมุด ตื่นเต้นกับปลา Coelacanth จากหนังสือเล็กๆเก่าๆในห้องสมุด ตื่นเต้นกับชาร์ล ดาร์วินที่นั่งเรือบีเกิลไปมาดากัสการ์ และวิวัฒนาการของมนุษย์ มีโอกาสได้ไปแข่งโอลิมปิกวิชาการตอนม.ต้นที่ไต้หวัน และม.ปลายไปแข่งโอลิมปิกชีววิทยาในประเทศ
1
ตอนม.ปลายฝันอยากเป็น Paleontologist เพราะอ่าน Your Inner Fish อยากไปขุดฟอสซิลกึ่งปลากึ่งสัตว์เลื้อยคลานอย่าง tiktalik
1
ต่อมาก็เข้าเรียนหมอ ไปแข่งสรีรวิทยานานาชาติ อยากเป็นหมอสมอง ต่อมาอยากเป็นจิตแพทย์ และก็อยากเป็นหมอโรคติดเชื้อ และฝันว่าอยากเป็นหมอระบาดใส่ชุดอวกาศไปควบคุมโรคหลังจากอ่านหนังสือ Hot zone และ Deadly Outbreak อยากอยู่ห้องแล็บ Biosafety level 4 ที่มีเชื้อโรคอันตรายสูงสุดอย่างอีโบลา จึงได้ไปเรียนระบาดวิทยาภาคสนาม ได้เรียนรู้สาธารณสุข ทำงานกับ Big data ของกระทรวง
แต่กลายเป็นว่าสิ่งนี้ก็ไม่เหมือนที่เราคิด จึงลาออกไปหาสิ่งใหม่ ได้มาเจอ Bioinformatics and Computational biology ก็ลองเรียนอยู่หนึ่งปี ได้เห็น DNA mRNA Protein ใช้ Bioinformatics tools และ Machine learning
ต่อมาได้มีโอกาสมาอยู่ห้องแล็บ Computational Cognitive Neuroscience ได้เห็นงาน Deep learning ของ CT Brain ได้ลองทำ Deep learning ของเสียงคนไข้พาร์กินสัน และภาพ Clock drawing task
จนถึงวันนี้หมุดหมายต่อไปคือการไปศึกษาปริญญาโทด้านข้อมูลทางชีวการแพทย์ (Biomedical informatics)
ชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เรามีต้นทุนเสียโอกาสเสมอ และที่สำคัญเป้าหมายชีวิตแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนให้ความมั่นคง บางคนครอบครัว บางคนให้ความมั่งคั่ง บางคนให้ความฝัน บางคนขอแค่มีความสุขในทุกวัน หรือเอาตัวให้รอดก็พอแล้ว ขอแค่ให้ซื่อสัตย์กับตนเอง
SCI-FI
ตั้งแต่เด็กชอบอ่านและดูหนังไซไฟ โลกอนาคตก็คงไม่ต่างจากเวทมนตร์ และเวทมนตร์นั้นคงหนีไม่พ้น AI
ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในทุกวงการ เช่น รถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง การเงิน วิศวกรรม ทนาย รวมถึงการแพทย์
อาชีพหมอจริงๆแล้วมันคือการตัดสินใจบนข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและจำกัด ความรู้ส่วนใหญ่มาจากงานวิจัยเหมารวม อย่างเช่น ยา A ช่วยคนให้อายุยืนขึ้น กว่าคนที่ให้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่อายุยืนขึ้น มีคนหลายคนที่อายุสั้นลงจากยา A
มาถึงยุค Big Data เรามีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับคนไข้หนึ่งคน ตั้งแต่พฤติกรรมที่ได้จากนาฬิกาที่ใส่ มือถือที่เล่นสามารถนับก้าวเดิน การออกกำลังกายหรือการนอนหลับได้ แบบสอบถามหรือแอพที่ไว้ใช้บันทึกการกิน การดื่ม พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
เรามี Electronic medical record หรือแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่อยู่ในฐานข้อมูล มีประวัติทุกอย่างตั้งแต่ ฝ ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การรักษา ผลข้างเคียงของยา ผลเลือด และภาพเอ็กซเรย์ที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของโรค
เรามีเทคโนโลยี genomics ที่สามารถดูลำดับสารพันธุกรรมจำนวน 3 พันล้านเบสของคนๆหนึ่ง ด้วยงบน้อยกว่า 1 หมื่นบาท รวมถึงการแสดงออกของยีนในอวัยวะต่างๆ และสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ อย่างแบคทีเรียในลำไส้ ว่าสวนสัตว์จุลินทรีย์ของเรามีหน้าต่างอย่างไร
ครอบครัวสังคม + พฤติกรรม + จิตใจ + การเจ็บป่วย + ดีเอนเอ = ข้อมูลมหาศาลของคนๆหนึ่ง
เราจะเก็บ แปลผล และนำข้อมูลเหล่านี้ไปแงะเอาความหมายที่มีประโยชน์ต่อคนๆนั้นได้อย่างไรบ้าง
ผมเลยตัดสินใจไปเรียนต่อ Biomedical informatics ที่สหรัฐอเมริกา ที่ University of Pittsburgh และต้องออกเดินทางในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้แล้ว
บทเรียนของการสร้างปราสาท
กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ดูไม่ใช่สำนวนที่ครบถ้วนนัก น่าจะต่อด้วยกรุงโรมก็ไม่ได้สร้างโดยแค่สองพี่น้องโรมุลุสและแรมุสเป็นแน่ แต่สร้างโดยผู้คนหลายร้อย หลายหมื่นคน ตั้งแต่กรรมกรจนถึงสมาชิกสภาโรมัน
2
โลกเรากลับชื่นชมคนๆเดียว เพราะมันง่ายดี ไอสไตน์ไม่ได้คิดทฤษฎีสัมพัทธภาพถ้าไม่ได้อ่านหนังสือการ์ตูนเด็ก และคงคิดไม่ได้ถ้าไม่ได้ปรึกษาเพื่อนนักคณิตศาสตร์
1
อย่าคิดว่าเราไร้ค่า ไร้ความหมายเพียงเพราะไม่ได้ยืนอยู่ที่จุดเดียวกับสตีฟ จ๊อบส์ ทุกคนมีที่ยืน ทุกคนกำลังสร้างปราสาทในบทบาทของตัวเองอยู่
1
Biomedical informatics เป็นสาขาที่กว้างดั่งทะเล พูดถึงทั้งการจัดเก็บข้อมูล การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ การการวิเคราะห์ไปใช้ทางคลินิก มีสาขาย่อยๆมากมาย เช่น
Public health informatics ข้อมูลทางสาธารณสุข เช่นการวิเคราะห์การระบาด
Clinical informatics ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การพัฒนาเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้งานง่าย
Imaging informatics ข้อมูลภาพทางการแพทย์ เช่น ภาพCT สมอง ใช้ AI หารอยโรค
Translational bioinformatics การศึกษาสารพันธุกรรม โปรตีน ระดับโมเลกุลเพื่อนำมาใช้ทางคลินิก
การเรียนครั้งนี้ได้รับทุนจาก Fulbright ที่คาดหวังให้เราไปเรียนรู้การศึกษา วัฒนธรรมของอเมริกา และนำกลับมาพัฒนาในประเทศไทย
1
ทำไมอเมริกา? อเมริกามีบริษัท EMR หลายสิบจนถึงร้อยบริษัท มี start-up Healthtech มากมายหลายร้อยบริษัท ศึกษาตั้งแต่ DNA จนถึงพฤติกรรม หลายคนคงเคยได้ยิน Deep diet แต่ละคนควรกินอาหารที่เหมาะสมกับตัวเอง แม้ยังไม่ชัดเจนว่าทำได้แล้ว อนาคตเชื่อว่าสามารถทำได้อย่างแน่นอน
ถ้ามีโอกาสจะมาเล่าเรื่องราวต่างๆที่จะได้พบเจอต่อไปครับ และจะจากลากจุดจากวันนี้ ไปปัจจุบันของวันพรุ่งนี้
1
ลองลากเส้นต่อจุดของชีวิตตัวเองดูครับว่าวันนี้ของเรามาจากเราในอดีตอย่างไรบ้าง มันเชื่อมโยงอยู่บ้างแหละ ไม่มากก็น้อย
3
อยากให้เล่าเรื่องอะไร ลองคอมเม้นท์ได้นะครับ ยินดีมากๆครับ
โฆษณา