19 ก.ค. 2021 เวลา 04:03 • คริปโทเคอร์เรนซี
Ep. 3 : Defi ความโกลาหลที่งดงาม Libra 2.0 VS. หยวนดิจิทัล และความ ปสด.ของผู้นำประเทศ Looklakluk (ลองเล่าแบบเครียดๆ)
- อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่าผมจะกล่าวถึงการแข่งขันที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งของ Libra และหยวนดิจิทัล ซึ่งส่วนของ Libra ได้อยู่ในส่วนของ V. 2.0 (พัฒนาจาก Libra) จึงเปลี่ยนหัวข้อเป็น Libra 2.0
5
- พยายามจะเล่าอย่างไม่เอียงเอนไปทางใดทางหนึ่ง ตามสไตล์งานเขียนผม (มั้ง)
- เนื่องจากเรื่องเทคโนโลยีมันไวมาก ช่วงนี้ผมอาจจะพยายาม "ขยี้" เรื่องคริปโตเยอะขึ้นในช่วงนี้ เพราะถ้าไม่รีบเขียน มันจะกลายเป็นเรื่อง"เก่า"ทันที
- ผมกลัวหมดมุก 😅
มันก็เหมือนกับการตบตีของมหาอำนาจแหล่ะครับ (ภาพจำลอง)
Libra 2.0 มันคือระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ที่ทำงานผ่านเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งมันถูกนำเสนอโดย Facebook และมันเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำเสนอโดย "โลกตะวันตก"
หยวนดิจิตอล ถูกคิดค้นขึ้นเช่นกันโดยรัฐบาลจีน ซึ่งปัจจุบันมีการทดลองใช้เรียบร้อยแล้ว โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain เช่นกัน โดยระบบ Economic คือ การนำ "หยวนจริง" ค้ำ "หยวนดิจิทัล" ในอัตรา 1:1 (Libra 2.0 มีการใช้ Currency จริงค้ำเช่นกัน ลองศึกษา White paper ดูครับ)
- การชำระเงินในระบบนี้ดีอย่างไร การโอนเงินข้ามประเทศจะ "เร็ว" เท่ากับการส่ง "สติ๊กเกอร์" ในไลน์ ไม่ต้องรอถึง 4-5 วันเช่นแบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน
(อาจจะดูเว่อร์ แต่สำหรับคนที่อยู่ในโลกของ Defi เทคโนโลยี Blockchain มันโอนเหรียญกันได้แบบนั้นนานแล้ว)
เจ้ามือหวยของแม่ผมที่รอแม่ผมโอนเงินค่าหวยมาจากต่างประเทศ
มาทำความเข้าใจระบบการเงินแบบที่เราใช้กันปัจจุบันก่อน ปัจจุบันเราใช้เงินในระบบ Centralized system หรือการเงินแบบมีศูนย์กลาง ที่ถูกควบคุมโดยธนาคารแห่งชาติ (ผมขออนุญาตใช้คำนี้ เนื่องจากไม่อยากให้หมายถึงประเทศใด)ซึ่งไอ้ธนาคารแห่งชาติ ก็ต้องคอยเอาทอง + Currency มาค้ำ "ค่าเงิน" กับ World bank
3
- ปัจจุบัน Currency เราใช้เงินในรูปแบบนี้ คือจริงๆ มันไม่ใช่ "Money" เนื่องจากสหรัฐไม่ได้มีการใช้ "ทอง" ในการค้ำประกันค่าเงินในอัตรา 1:1 แล้ว ซึ่งเราใช้ "ความมั่นใจ" ในเสถียรภาพของสหรัฐมากกว่า (ลองศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องสงครามเวียดนาม การพิมพ์แบ๊ง ฝรั่งเศสที่หอบดอลล่าร์มาแลกทอง และเหตุการณ์ "นิกสัน ช็อค" ผมจะพยายามหยิบมาเล่าเป็น "เกร็ด" เพิ่มเติม)
- ถ้าคุณลองซูมไปที่แบ๊ง Usd คุณจะเห็นว่ามันคือ "Treasury of USA" ไม่ใช่ "money" มันคือ "คูปอง" (เหมือนเป็นการเล่นคำ)
ซูมดูครับ
สาเหตุที่เงินมันต้องใช้ทองค้ำ นั่นก็เพราะมันมาจากการที่ครั้งหนึ่งอังกฤษเคยเป็นมหาอำนาจของโลก แล้วให้คนชื่อคุ้นอย่าง เซอร์ ไอแซ็ค นิวตัน คอยคุมให้ทองแดง เงิน และทอง ให้มันมีค่าไม่สวิงกันมาก (ผมไม่รู้เค้าเรียกอะไร มันคงเหมือนการที่ธนาคารแห่งชาติคอยเอา Currencyไปค้ำค่าเงินแบบสมัยนี้มั้ง)
2
- อนึ่ง ณ ตอนนั้น ผมไม่ทราบว่าเค้าใช้เทคโนโลยีอะไรในการปฏิบัติงาน (เซอร์ ไอแซ็ค นิวตัน เกิด 25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – มรณะ 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia ) ซึ่งเค้าทำแบบ "วันต่อวัน" ซึ่งแน่นอนมันพลาด มันทำให้ราคาทองมัน "พุ่ง" จนอังกฤษต้องเหลือแต่ "ทอง" และตัดเงินกับทองแดงออกจากอังกฤษ
- มันทำให้เกิดอะไรที่เราเรียกว่า "Gold standard" ณ ยุคนั้น เพราะอังกฤษเป็นประเทศที่คิดค้น "Stream" หรือเครื่องจักรไอน้ำ ทำให้เค้าเป็นมหาอำนาจเนื่องจากครอบครองเทคโนโลยี และยังครอบครองมูลค่าของ "เงิน" ด้วย "Gold standard" ซึ่งหากจะค้าขายกับอังกฤษ คุณก็ต้องใช้ทองในการซื้อขาย (ในขณะที่จีนยุคนั้นใช้ "เงิน" หรือ Silver มากกว่า)
เซอร์ ไอแซค นิวตัน กล่าวก่อนบอลยูโรนัดชิง (หลอก)
- มันก่อให้เกิดโดมิโน่เอฟเฟ็ค ทำให้ทั่วโลกต้องเปลี่ยนมาใช้ "ทอง" เป็นสื่อกลางในการค้าขาย
2
- ทีนี้ ทองมันราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จากปกติซื้อกระเพราถั่วฝักยาวได้จานนึง วันต่อมาก็แลกได้สองจาน วันต่อมาแลกได้สามจาน คุณเห็นใช่ไหมว่ามันขาดอะไรในการใช้ทองเพื่อแลกเปลี่ยน?
- ครับ มันขาด "สภาพคล่อง" เพราะมันแพงขึ้นเรื่อยๆ คนที่มีทองเก็บไว้ก็ไม่หยิบมันมาใช้ พอคนไม่ใช้ เศรษฐกิจมันก็ฝืด จริงไหม?
- นอกจากนี้มันยังใช้ยากอีกด้วย ลองนึกดูถ้าคุณออกไปกินข้าว พร้อมกับสร้อยทองเส้นละ 5 บาทในมือ แล้วต้องค่อยๆ "เด็ด" ทองทีละข้อเพื่อไปซื้อก๋วยเตี๋ยวไก่มะระซักถ้วย มันก็ดูไม่ใช่ที จริงไหม
- ใช่ครับ มันเลยเกิด "Money" ขึ้น เพราะมันใช้ง่าย พกพาง่าย
- โดยประเทศแรกที่รับฝากทองจากประเทศต่างๆ เพื่อใช้สำหรับค้ำประกัน "Money" ก็อังกฤษนั่นแหล่ะครับท่าน
ผมที่พยายามจะทำให้บทความเข้าเรื่อง Libra 2.0 vs. หยวนดิจิทัล
- ภายหลังสงครามโลก ขั้วอำนาจได้เปลี่ยนไปอยู่กับฝั่ง USA โลกได้ผ่านเหตุการณ์มากมาย และหลักจากเหตุ "นิกสัน ช็อค" คนทั่วโลกก็ใช้จ่ายโดยใช้ Currency แบบเช่นในปัจจุบันนั่นแหล่ะครับ
4
- ด้วยระบบ Centralized system สิ่งสำคัญมันคือสภาพคล่อง คือเอาง่ายๆ พวกเราต้องทำงานเพื่อหนีอัตราเงินเฟ้อปีละ 2 เปอร์เซ็น ไหนจะค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซึ่งจริงๆ เราทำงานเพื่อหนีอัตราที่เยอะกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เพื่อที่เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามอายุ
- ในเมื่อพวกเราก็หนีอัตราเงินเฟ้อ และมีภาระรายจ่าย ธนาคารก็ต้องจ่ายเช่นกัน ทั้งพนักงาน ทั้งค่าเมนเทนระบบ ค่า รปภ. ค่าแม่บ้าน ค่าบลาๆๆๆ ซึ่งธนาคารต้องหนีมากกว่าเราหลายเท่า
- เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานโยบายธนาคารคือ "ขยาย" สาขาเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบัน ธนาคารพยายาม "ยุบ" สาขาให้เหลือน้อยลง เพื่อเซฟค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง และด้วยความสำเร็จของ Internet banking
- Internet banking ที่มันอาจดูไฮเทค (เพราะผมยังต้องกลับไปสอนพ่อโอนเงินทุกสัปดาห์) มันก็ยังเป็น Centralized system ยังไม่เป็น Decentralized system
ภาพCefi และ Defi
- ธนาคารเพิ่มสภาพคล่องอย่างไร ? ใช่ครับ มันคือการ "ปล่อยกู้" ไม่ว่าจะสินเชื่อบ้าน รถ รวมไปถึงค่า "แปลภาษา" (Transaction) หรือที่เราเรียกว่าค่าธรรมเนียม รวมทั้งประกัน และกรมธรรม์ต่างๆ
- แล้วธนาคารเอาเงินจากไหนล่ะ? ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ คุณน่าจะทราบแล้วว่าธนาคารเอาเงินจากไหนไปปล่อยกู้........
.......ใช่
.........ครับ
4
เงินคุณกับผมนั่นแหล่ะ ที่เอาไปปล่อยกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคาร ในส่วนอัตรา 90 เปอร์เซ็นต์ของเงินฝากคุณนั่นแหล่ะ โดยธนาคารจะปล่อยเงินส่วนที่เหลือของเราในลักษณะ "เครดิต" ซึ่งทางทฤษฎี เราไม่ได้เอา "เงินเก็บ" ของเรามาใช้ทีเดียว ถูกไหม? ดังนั้นธนาคารก็จะได้สภาพคล่องจากการที่เราเอาเงินไปฝาก ธนาคารก็จะพยายามออกโปรเพื่อให้เราเอาเงินไปฝากเค้าให้มากขึ้น
-อีกส่วนคือค่าแปลภาษา (transaction) หรือคือค่าถอน โอน จ่าย เวลาเราโอนเงินต่างค่าย เราก็จะเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งยังไม่รวมที่เราโอนเงินไปต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้มันเสียค่าแปลภาษาหลายครั้ง ทำให้บางครั้งมันไม่คุ้มที่เราจะโอนเงินไม่กี่บาท หรือมันไม่คุ้มถ้าเราจะขาย "ถุงยาง" แค่กล่องเดียว
- อันนี้ยังไม่รวมถ้าคุณไป "กู้" แบบผม คุณจะรู้ว่าธนาคารมีการเก็บดอกเบี้ยคุณอย่างไร หรือยังไม่ได้รวมหากคุณรายได้มากพอที่จะเสียภาษี (ว่างๆ ผมจะสอนคำนวณภาษี)
- ระบบมันล่มได้ไหม ล่มได้ ธนาคารเจ๊งเราก็เห็นมาแล้ว มันแค่เกิดจากการ "แห่" ถอนเงิน แค่นี้มันก็เป็น "Crysis" ทางเศรษฐกิจได้แล้ว
- สมมุติ มีธนาคาร A เปิดใหม่ ผมกับน้องส้ม (นามสมมุติ) เอาเงินคนละ 1000 บาท ไปฝาก เท่ากับธนาคารจะมีสภาพคล่อง 1800 บาท (เพราะหัก "เครดิต" 10 เปอร์เซ็นต์ เผื่อ ผมและน้องส้มจะถอน) ธนาคารก็จะเอา 1800 ไปปล่อยกู้เพื่อเทคโปรฟิสจากตรงนี้ แต่ถ้าสิ้นเดือน ผมกับน้องส้มเห็นว่ามีธนาคาร B ซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่า ผมกับน้องส้มจึงตัดสินใจปิดบัญชีจากธนาคาร A ทันที ซึ่งธนาคารย่อมไม่มีตังจ่ายให้ผม เพราะปล่อยกู้ไปหมดแล้ว
- ทั้งนี้ ผมยังไม่ได้รวม "ทิศทาง" ของเศรษฐกิจ ทั้งจากภายนอกและภายใน และอีกเรื่องคือ "นโยบาย" ของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของการกระจายตัวของเศรษฐกิจ เพราะนโยบายรัฐบาลแต่ละประเทศ ก็จะเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือเงินกู้ในแต่ละปีอยู่แล้ว อยู่ที่นโยบายจะเน้นไปที่ทิศทางใด ตามกลไกของเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจสี่ตัว (เดี๋ยวผมอธิบายอีกครั้ง)
- ลองเปลี่ยนจาก 1000 บาท แล้วเติมสักแสนล้านลงไป คุณจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น
- อนึ่ง เรื่องเปอร์เซ็นต์เครดิตผมไม่ชัวร์นะ ผมว่าธนาคารมีคนวางกลยุทธ์ และน่าจะทราบว่าช่วงไหนคน "แห่ฝาก" หรือ "แห่ถอน" อยู่แล้ว
- ตรงนี้ในการคิดดอกเงินกู้ หรือเงินฝาก หรือๆๆๆ กรมธรรม์นั้น เวลาเค้าให้ดอก เค้าเรียกว่า APR และ APY (เดี๋ยวผมมาอธิบายอีกครั้ง แต่จะเข้าวงการ Defi มันต้องรู้)
ผมก่อน และหลังกู้
- ข้อสำคัญที่ระบบ Blockchain มันตัดค่า Transaction ออกไป ให้เหลือน้อยลง มันเลยทำให้การโอนเร็วขึ้น ซึ่งทั้ง Libra 2.0 และหยวนดิจิตอล มีทั้งสองแบบเช่นกัน
1
- ซึ่งในเมื่อมันตัดค่า transaction ที่เยอะแยะออกไปแล้ว มันย่อมทำให้มันอาจจะคุ้มที่คุณจะส่ง "ถุงยาง" กล่องเดียว เพราะคุณไม่เสียค่าแปลภาษา
- ซึ่งทั้ง Libra 2.0 และหยวนดิจิตอล แค่ไปจับมือกับแอปที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เช่น เมสเสจเจอร์ ไลน์ หรือ Wechat มันก็จะทำให้การขายหรือซื้อสินค้ามันง่ายขึ้น และไม่เสียค่าธรรมเนียมยิบย่อย (ในส่วนของจีนผมไม่แน่ใจ เค้าน่าจะใช้ Wechat เป็นหลักรึเปล่า?)
- แต่มันก็ไม่ใช่ว่ามีแค่แอปของ Facebook หรือ Line จะเติบโตอย่างเดียว อย่าลืมว่าแอปของฝั่งจีน เช่น Tiktok ก็เติบโตแบบ "ก้าวกระโดด" เช่นกัน
- การซื้อสินค้า เราพบว่าเราต้องเข้าออกแอปเพื่อโอนค่าสินค้าหรือค่าบริการไม่ต่ำกว่าเจ็ดครั้ง แต่กับการซื้อขายบนโลก Decentralized system มันเร็วและง่ายกว่านั้น
- Defi ที่ผมแนะนำท่าน กับธนาคารในระบบ DEX มันเป็นแค่ "กิ่ง" หนึ่ง ในโลกของ Blockchain
1
- กล่าวคือ มันเป็นเทคโนโลยี "หลังบ้าน" ที่ส่วนใหญ่เรากำลังใช้กันอยู่ที่ "หน้าบ้าน" โดยที่เราไม่รู้ว่าเค้ามีการจัดการ "เบื้องหลัง" กันอย่างไร
ผมแนะนำหนังไปดูเล่น เรื่อง The big short สนุกมาก
- ลองดูเรื่องการล่มสลายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในหนังเรื่อง The big short ประกอบ มันสนุกมากกกกกกกกก (เดี๋ยวมาวิเคราะห์นะครับ)
- อนึ่ง สำหรับท่านที่ดูแล้ว ลองกลับมาดูตลาดคอนโดของประเทศ Looklakluk ว่ามันเกิดฟองสบู่คล้ายๆ กันหรือไม่
- การ Short คือการ "แทง" ว่ามันจะลง ซึ่ง ณ ตอนนั้นตลาดอสังหาฯ ของสหรัฐบูมมาก ตามแนวคิดอเมริกันดรีมในสมัยนั้น ใครแทงตลาดอสังหาฯ ว่าจะลง ก็คงมีแต่คนบ้า (แต่ก็มีกลุ่มคนบ้า ที่ Short ซะจริงๆ ) ซึ่งเค้ารู้อะไร หรือเหตุผลอะไรที่กลุ่มคนพวกนี้เลือกที่จะ "แทงสวน" ตลาดอสังหาฯ ไปติดตามในหนังครับ
- ฝากถึงเพื่อนๆ ที่เรียนโลจิสติกส์ทุกท่าน ถ้าท่านสังเกตุระบบ Decentralized system ท่านว่ามันเหมือนอะไร
- ครับ มันคล้ายระบบ Supplychain ที่เราเรียนมาแบบเป๊ะๆ เลยครับ
- จริงๆ ตอนนั้นผมไม่ค่อยจะรู้เรื่องเพราะผมไม่ได้ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้อง ผมเลยค่อนข้างจะ "อินดี้" อยู่บ้างตอนที่ผมเรียน กราบขอบพระคุณและกราบขออภัยในความอินดี้ ต่อท่านอาจารย์ ดร.ปริญ ด้วยครับ 🙏🙏🙏🙏
ถ้าจำไม่ผิด ผมเรียนเรื่องการขนส่งหลายช่องทาง (Multimodal Transport) คล้ายไหมครับ (เพราะผมก็จำไม่ได้แล้ว😅😅)
ว่าด้วยผู้นำประเทศ Looklakluk
- ยังคงเข้าใจว่า Internet banking คือ Decen
- เอาแค่เรื่อง "แจก" เงิน ซึ่งใช้ได้แค่กับแอปพลิเคชั่นเดียวกันเท่านั้น หรือจริงๆ มันก็คือ Close loop system ซึ่งมันแทบมีประโยชน์น้อยมาก เพราะจริงๆ ชีวิตเราต้อง "ซื้อ" อะไรที่มันมากกว่าข้าวเหนียวไก่ย่าง
- ถ้าสามารถนำไอ้ระบบคนละ...แล้วเอา Blockchain มาใส่มันจะเพิ่มกำลังซื้อให้คนได้เยอะมาก เนื่องจากมันรวดเร็ว และว่องไว
- ถ้าทำ "บ...ท" ดิจิทัล โดยยึดหลักการหยวน โดยเอา Currency มาค้ำเงินดิจิตอลในอัตรา 1:1 อันนี้มันน่าสนใจ
13
- โปรจีนไม่ใช่หรอวะ ส่งฝ่ายไอทีไปคุยสิโว้ย เศรษฐกิจมันสำคัญนะมึงงงงง Dev เก่งๆ เยอะแยะ เหรียญคริปโตไทยไประดับโลกเยอะนะ ไปเรียนรู้!!!
- ขอบคุณที่ท่านสอนให้ใช้กูเกิ้ล ผมเลยได้ข้อมูลมาเขียนบทความในวันนี้ (ถึงงานผมจะไม่ได้รีไวท์ ก็เถอะ😅)
หน้าผมที่หาที่ลงให้บทความนี้ได้
- ปี 90 - 2000 เรามีคอมพิวเตอร์
- ปี 2000 - 2010 เรามีอินเตอร์เน็ต
- ปี 2000 - 2020 เรามีสมาร์ทโฟน
- ปัจจุบัน เรามีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และกำลังจะมี Hyperloop ที่สามารถส่งของข้ามทวีปในเวลาไม่กี่นาที เรากำลังจะมีแว่นตา VR ที่จะทำให้คุณนั่งกินข้าวร่วมกับเพื่อนที่อยู่ต่างทวีปได้ และเรากำลังจะมีผู้ชนะจากสงครามระหว่าง Libra 2.0 และ หยวนดิจิตอล
11
-จะเรียนรู้มัน หรือจะวิ่งตามมันครับ?
ชีวิตผมที่เปลี่ยนไปหลังจากรู้จักคริปโต
ขอบคุณที่ติดตามครับ
ฝากซีรี่ Critical Thinking : Defi ความโกลาหลที่งดงาม ด้วยครับ
ขอบคุณที่ติดตามครับ
ฝากซีรี่ Critical Thinking : Defi ความโกลาหลที่งดงาม ด้วยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา