#ไรเดอร์ได้เงินเยอะขนาดนั้นจริงหรือไม่
.
หลายคนเริ่มสงสัยว่า ดาราอาจจะแค่สร้างกระแส และไม่ได้ขับส่งอาหารจริงๆ หรือเปล่า มีหลายคนลองพยายามคำนวณตัวเลขต่างๆ ตามที่เขาโพสต์ในทวิตเตอร์ แล้วกลับไม่ได้ตามที่เขาบอก ทางบริษัทอูเบอร์มาตอบว่า ความคลาดเคลื่อนของรายได้นั้นอาจจะเกิดจากสองอย่าง หนึ่งคือการพักเบรกของไรเดอร์แต่ละคนที่ไม่เท่ากันในแต่ละวัน และทิปที่ได้จากลูกค้า ดารายังเขียนในทวิตเตอร์ต่ออีกว่า ในวันอาทิตย์ เขาได้รับ 6 ออเดอร์ภายใน 2 ชม. แต่วันนั้นสถานการณ์ไม่ดีเท่าวันแรก เนื่องจากการจราจรติดขัด นอกจากนี้ วันนั้นเขายังได้ทิปน้อยลงกว่าวันเสาร์อีก ทำให้เขาได้เงินทั้งหมดจากวันนั้นเพียง 1,600 บาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าวันเสาร์มากกว่าเท่าตัว
.
.
#แล้วเป็นพนักงานขับรถอูเบอร์ได้เงินเท่าไรกันแน่
.
อูเบอร์บอกเองว่า คนขับจะได้เงินประมาณ 800 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่เว็บไซต์หางานชื่อดัง Glassdoor บอกว่าพนักงานอูเบอร์ได้เงินประมาณ 400-600 บาทต่อชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้ เว็บไซต์ Payscale บอกว่า ไรเดอร์ส่งอาหาร ไม่ได้เพียงแค่ไรเดอร์อูเบอร์ จะทำเงินได้ 420 บาท อย่างไรก็ตาม นี่เป็นรายได้ในต่างประเทศที่ถูกเปลี่ยนมาเป็นเงินไทย โดยความจริงแล้ว เราต้องคำนึงถึงเรื่องของค่าครองชีพต่างๆ อีกด้วย
.
.
#แล้วถ้าเป็นไรเดอร์ไทยละจะได้เท่าไร
.
ก่อนอื่นลองมาดูส่วนประกอบรายได้ของบริษัทฟู้ดเดลิเวอรีก่อน คำถามแรกคือเวลาที่เราจ่ายเงินให้ฟู้ดดีลิเวอรี เงินเข้ากระเป๋าใครบ้าง เนื่องจาก Uber ในไทยได้ถูกควบรวมกิจการกับ Grab ไปแล้ว การยกตัวอย่างเป็น Grab น่าจะเห็นภาพมากที่สุด สมมติว่าลูกค้าสั่งอาหารในราคา 100 บาท แกร็บจะหักค่าคอมมิชชันจากร้านอาหารที่สั่ง 30% ทำให้แกร็บได้ไปก่อน 30 บาทเป็นคนแรก นอกจากนี้ แกร็บยังมีรายได้จากค่าส่งอาหารที่ลูกค้าจ่ายอีกด้วย สำหรับร้านอาหารที่ร่วมจัดโปรโมชันกับแกร็บ ลูกค้าจะต้องจ่าย 10 บาทต่อออเดอร์ในระยะทาง 3 กม. แรก และอีก 5 บาท สำหรับกม. ต่อๆ ไป โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะสั่งในระยะทางประมาณ 5 กม. ซึ่งหมายความว่าจะค่าส่งเฉลี่ยประมาณ 20 บาท สรุปว่าแกร็บจะมีรายได้จากออเดอร์นี้เท่ากับ 50 บาท
.
แกร็บบอกว่า คนขับจะได้รับเงินค่าส่งขั้นต่ำประมาณ 40-50 บาทต่อออเดอร์ และอาจมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งและความถี่ในการขับรถ และโบนัสต่างๆ จากตัวอย่างเดิมที่แกร็บจะได้เงินราว 50 บาทจากยอดออเดอร์ 100 บาท พอหักลบกับค่าส่งที่ต้องจ่ายให้กับคนขับ แกร็บแทบจะไม่มีรายรับเลย และนี่ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายภายในอื่นๆ ที่แกร็บมีอีกด้วย
.
.
#ไรเดอร์เป็นเพียงพาร์ทเนอร์
.
อ่านมาจนถึงตรงนี้ หลายคนน่าจะคิดว่า ขับแกร็บเองก็ดูเป็นอาชีพที่ดี แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนขับแกร็บหรือคนขับเดลิเวอรี่ต่างๆ แตกต่างจากอาชีพอื่นๆ ซึ่งก็คือ คนขับแกร็บไม่ได้มีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่เป็นเพียงหุ้นส่วน (Partner) อย่างไม่เป็นทางการ ถึงแม้ว่าหลายคนได้ยินคำว่าพาร์ทเนอร์แล้วฟังดูเหมือนจะดี แต่ความจริงแล้ว พาร์ทเนอร์หรือที่เรียกกันว่า ‘ผู้รับจ้างทำของ’ (Contractor) ในทางกฎหมายจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ในขณะที่คนที่มีสถานะเป็นลูกจ้างจะอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ต่างๆ ที่มีเพื่อคุ้มครองตัวเอง
.
อย่างไรก็ดี แกร็บเองก็มีสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับพาร์ทเนอร์ เช่น ประกันอุบัติเหตุ ส่วนลดร้านค้า และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นใครกำลังสนใจอาชีพนี้อยู่อาจจะลองไปศึกษาเพิ่มเติมจากทางเว็บไซต์ของทางบริษัทได้
.
.
ใครที่กำลังสนใจอยากเป็นไรเดอร์ ลองอ่านนโยบายของบริษัทดีๆ แล้วถ้าชอบจริงๆ ก็ลองสมัครดู เผื่อเราเองอาจจะชอบการเป็น ‘ไรเดอร์’ และอาจเป็นช่องทางใหม่ในการหาเงินก็ได้
.
.
#careerfact #cariber
………………
Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว
เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละแวดวงได้ที่ https://www.cariber.co/ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงความรู้และประสบการณ์จากผู้นำองค์กรและผู้เชี่ยวชาญในทุกแวดวง ไร้ข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา .
อ้างอิง