20 ก.ค. 2021 เวลา 01:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รีวิวกองทุนแบรนด์สินค้าระดับโลก...มาเป็นเจ้าของธุรกิจสินค้าแบรนด์ดังกันเถอะ
วันนี้ #เด็กการเงิน ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกองทุนที่มีการลงทุนในแบรนด์สินค้าระดับโลก เป็นแบรนด์ที่หลายคนรู้จัก ซึ่งมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีอำนาจต่อรองด้านราคา ซึ่งในไทยมี 3 กองทุนที่ลงทุนในกลุ่มสินค้าประเภทนี้ ได้แก่ KFGBRAND, T-PREMIUM BRAND และ I-CHIC มาดูกันว่าแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันอย่างไร กองไหนเป็น Quality Brands และกองไหนเป็น Luxury Brands ดีแตกต่างกันอย่างไร
📌ทำไมกองทุนที่เป็นแบรนด์สินค้าระดับโลกจึงน่าสนใจ
แบรนด์สินค้าระดับโลกที่เรารู้จักมีอยู่ในหลายหมวดอุตสาหกรรม หลักๆ เราขอพูดถึง 3 หมวดได้แก่
1️⃣ กลุ่มสินค้า Consumer Staples หรือสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ถือเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ ถือเป็นกลุ่ม Defensive ไม่ผันผวนตามตลาดมากนัก
ตัวอย่างกลุ่มสินค้า Consumer Staples ที่เป็นแบรนด์สินค้าระดับโลก เช่น Reckitt Benckiser เป็นบริษัทที่มีตราสินค้าเกี่ยวกับสุขอนามัยเช่น Dettol, Lysol, Enfa, Gaviscon, Vanish, Strepsils ซึ่งเป็นสินค้าที่หลายครัวเรือนมีติดบ้าน กองทุนที่ลงทุนใน Reckitt ได้แก่ KFGBRAND
2️⃣กลุ่มสินค้า Consumer Discretionary หรือสินค้าฟุ่มเฟือย หรือจัดเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็น แต่สามารถทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นสูงได้จากการผลิต สินค้าในกลุ่มนี้จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แฟชั่น รวมถึงรถยนต์ และบาง e-commerce platform ก็จัดอยุ่ในกลุ่มนี้ด้วย Consumer Discretionary ในมุมของสินค้าแฟชั่นคือ สินค้าที่คนที่พอมีกำลังซื้อ ต้องการมีไว้เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ หรือทำให้ภาพลักษณ์ดูดีขึ้นนั่นเอง
ตัวอย่างกลุ่มสินค้า Consumer Discretionary เช่น Nike บริษัทอันดับ 1 ของตลาดรองเท้าแบรนด์ อุปกรณ์กีฬา และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต่างๆ กองทุนที่ลงทุนใน Nike ได้แก่ T-PREMIUM BRAND และ I-CHIC
3️⃣ กลุ่มสินค้า Luxury จะมีอำนาจต่อรองด้านราคา และเน้นลูกค้า High-end หรือลูกค้ากำลังซื้อสูง ที่ไม่ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นมากเท่าไรก็พร้อมจ่าย ตัวอย่างสินค้าเช่น กระเป๋าแบรนด์เนม เครื่องสำอางเเบรนด์หรู
ตัวอย่างกลุ่มสินค้า Luxury เช่น LVMH ซึ่งเป็นเจ้าของ Louis Vuitton หนึ่งในเเบรนด์เนมที่ผู้หญิง และผู้ชายหลายคนชื่นชอบ บริษัทนี้มีกำไรสุทธิเติบโตของแบบทบต้นถึงร้อยละ 12 มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี LVMH เป็นกลุ่มบริษัทสินค้าหรูหราหลายประเภท ที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดในโลก และยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้ในระดับสูง นอกจากนี้ LVMH ยังคงเป็นเจ้าของอีกหลายแบรนด์ดัง เช่น Christian Dior, Celine, Marc Jacobs, Givenchy, Sephora, Fendi, Kenzo กองทุนที่ลงทุนใน LVMH ได้แก่ KFGBRAND, T-PREMIUM BRAND และ I-CHIC
นอกจากนี้ยังมี Hermes บริษัทแบรนด์กระเป๋าหรู และยังทำเสื้อผ้า นาฬิกา และ Cosmetics อีกด้วย กองทุนที่ลงทุนใน Hermes ได้แก่ T-PREMIUM BRAND และ I-CHIC
อนึ่ง ส่วนมากกลุ่ม Luxury ถูกจัดรวมกับกลุ่ม Consumer Discretionary แต่วันนี้เรานำกองทุนสองลักษณะมาเปรียบเทียบกันเลย คือ Quality Brands vs. Luxury Brands
📌แนวทางการลงทุนของแต่ละกองทุน
KFGBRAND เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนใน Morgan Stanley Investment Fund - Global Brands Fund มีกลยุทธ์แบบ Active มุ่งหวังให้ผลตอบแทนมากกว่า MSCI World Net Total Return Index ซึ่งกองทุนหลักเน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำทั่วโลกที่เป็นแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียง มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีอำนาจต่อรองราคา
T-PREMIUM BRAND เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนใน Pictet - Premium Brands มีกลยุทธ์แบบ Active มุ่งหวังให้ผลตอบแทนมากกว่า MSCI All Country World Index ซึ่งกองทุนหลักเน้นลงทุนในบริษัทที่เป็นกลุ่มธุรกิจสินค้าหรือบริการระดับบน (Premium brand) มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีจุดแข็งอยู่ที่แบรนด์เนม
I-CHIC เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนใน Dominion Global Trends - Luxury Consumer Fund มีกลยุทธ์แบบ Active มุ่งหวังให้ผลตอบแทนมากกว่า MSCI World Net Total Return Index ซึ่งกองทุนหลักเน้นลงทุนในบริษัทที่เป็นกลุ่มธุรกิจสินค้าหรือบริการที่เป็นแบรนด์เนมที่รู้จักทั่วโลก ทั้งสินค้า Luxury, Consumer Discretionary และ Consumer Staples
📌สัดส่วนอุตสาหกรรมของแต่ละกองทุน (as of 30 Jun 2021)
KFGBRAND: ลงทุนหลักๆ ใน Consumer Staples 32.9%, IT 30.4%, Health Care 21.74%
T-PREMIUM BRAND: ลงทุนหลักๆ ใน Luxury 37.64%, Sport 17.92%, Food & Drinks 15.8%, Cosmetics 11.89%
I-CHIC: ลงทุนหลักๆ ใน Consumer Discretionary 30.18%, Consumer Staples 17.68%, Retail & Wholesale Discretionary 15.39%, Consumer Discretionary Services 10.95%
📌สัดส่วนประเทศที่ลงทุนของแต่ละกอง (as of 30 Jun 2021)
KFGBRAND: Top 3 ลงทุนในสหรัฐฯ 71.2%, สหราชอาณาจักร 12.9%, ฝรั่งเศส 6.46%
T-PREMIUM BRAND: Top 3 ลงทุนในสหรัฐฯ 48.15%, ฝรั่งเศส 23.18%, อิตาลี 6.92% และเยอรมนี อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์อีกที่ละประมาณ 4-5%
I-CHIC: ลงทุนในยุโรป 59.85%, สหรัฐฯ 37.3% และเอเชีย 2.85%
📌สัดส่วนหุ้นของแต่ละกอง (as of 30 Jun 2021)
KFGBRAND Top 10 holdings รวมแล้ว 56.85% ได้แก่ Microsoft Corp 9.59%, Philip Morris International Inc 8.68%, Reckitt Benckiser Group plc 7.21%, Visa Inc 5.42%, Sap Se 4.6%, Danaher Corp 4.42%, Accenture plc 4.35%, Procter & Gamble Co./the 4.3%, Abbott Laboratories 4.18% และ Thermo Fisher Scientific Inc 4.10%
กอง KFGBRAND เคยลงทุนใน LVMH บริษัทซึ่งเป็นเจ้าของ Louis Vuitton ด้วย และคิดว่าปัจจุบันก็ยังคงลงทุนอยู่แต่สัดส่วนไม่เยอะพอที่จะอยู่ใน 10 อันดับแรก
T-PREMIUM BRAND Top 10 holdings รวมแล้ว 41.5% ได้แก่ American Express Co 4.67%, Apple Inc 4.57%, Nike 4.47%, Lululemon Athletica Inc 4.46%, Lvmh Moet Hennessy Louis Vui 4.19%, Estee Lauder Companies-Cl A 4.01%, Essilorluxottica 4.01%, Visa Inc 3.84%, L'Oreal 3.76% และ Hermes International 3.52%
I-CHIC Top 10 holdings รวมแล้ว 48.88% ได้แก่ Garmin 5.69%, Kering 5.58%, Hermes 5.48%, Lindt & Spruengli 5.45%. L'Oreal 5.21%, Moncler 4.79%, Nike 4.34%, EssilorLuxottica 4.29%, LVMH 4.19% และ Boohoo.com 3.86%
📌ผลตอบแทนและความเสี่ยงย้อนหลังเฉลี่ยต่อปี (as of 15 Jul 2021)
KFGBRAND-D เป็นกองทุน 3 ดาว Morningstar Thailand ด้วย
(ในต่างประเทศ กองทุนหลักได้ 4 ดาว)
Return: 1 Yr = 20.24%, 3 Yr = 12.78%, 5 Yr = NA
SD: 1 Yr = 13.13%, 3 Yr = 14.04%, 5 Yr = NA
T-PREMIUM BRAND เป็นกองทุน 3 ดาว Morningstar Thailand ด้วย
Return: 1 Yr = 47.41%, 3 Yr = 13.86%, 5 Yr = 13.15%
SD: 1 Yr = 23.39%, 3 Yr = 20.86%, 5 Yr = 16.72%
I-CHIC
Return: 1 Yr = 29.1%, 3 Yr = 8.6%, 5 Yr = 7.9%
SD: 1 Yr = 12.65%, 3 Yr = 12.87%, 5 Yr = 10.86%
จะเห็นว่ากองที่ทำผลงานได้ดีคือ T-PREMIUM BRAND แต่ก็มาพร้อมกับความผันผวนที่มาก ขึ้นลงแรง ขณะที่ KFGBRAND ซึ่งถือว่าเป็นกองที่ค่อนข้าง Defensive ก็ทำผลงานได้กลางๆ และมีความผันผวนที่รับได้
ส่วน I-CHIC มีผลงานระยะยาวที่โดดเด่นน้อยกว่าทั้งสองกอง
📌ระดับความเสี่ยง และการจ่ายปันผล
KFGBRAND ระดับความเสี่ยง 6 ซึ่งมีทั้งประเภทจ่ายปันผล ได้แก่ KFGBRAND-D และ KFGBRANSSF และประเภทสะสมมูลค่า ได้แก่ KFGBRAND-A และ KFGBRANRMF
T-PREMIUM BRAND ระดับความเสี่ยง 7 และเป็นกองจ่ายปันผล
I-CHIC ระดับความเสี่ยง 6 และเป็นกองสะสมมูลค่า
📌ค่าธรรมเนียม
KFGBRAND-D: TER = 0.8918%, Front-End = 1.5%
T-PREMIUM BRAND: TER = 2.101%, Front-End = 1.07%
I-CHIC: TER = 2.4228%, Front-End = 1%
📌การป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน
KFGBRAND ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เฉลี่ยร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
T-PREMIUM BRAND ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
I-CHIC ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
📌มูลค่าการซื้อขั้นต่ำ
KFGBRAND-D ซื้อขั้นต่ำครั้งแรก 2,000 บาท และครั้งต่อไป 2,000 บาท
T-PREMIUM BRAND ซื้อขั้นต่ำครั้งแรก 1,000 บาท และครั้งต่อไป 1,000 บาท
I-CHIC ซื้อขั้นต่ำครั้งแรก 10,00 บาท และครั้งต่อไป 1,000 บาท
🎯สรุปและความเห็นของเด็กการเงิน
1️⃣ใครที่อยากมีกองที่มีสินค้าอุปโภคบริโภคระดับโลก Quality Brands ที่มีสไตล์ค่อนข้าง Defensive มี Consumer Staple (30%) + Health Care (20%) พวกผลิตภัณฑ์ยารักษาโลกทั่วไปที่โตสม่ำเสมอ ผสมสินค้ากลุ่ม IT ด้วย เราแนะนำ KFGBRAND แถมใครอยากลงทุนระยะยาวก็มีประเภท SSF หรือ RMF หรือใครไม่อยากได้ปันผลก็มีกองสะสมมูลค่าให้เลือกอีกด้วย ถึงแม้ Front-End จะอยู่ที่ 1.5% แต่ค่าธรรมเนียม TER ก็ต่ำกว่า 1% และใช้เงินขั้นต่ำเพียง 2,000 บาทก็ลงทุนได้แล้ว
กองทุน KFGBRAND เป็นตัวเลือกที่ดี ค่อนข้างเป็นกองทุนที่โตได้เรื่อยๆ ทุกสภาวะเศรษฐกิจ ไม่หวือหวา เหมาะกับการตั้งเป้าหมายที่ 7-8% ต่อปี
2️⃣ ใครที่อยากจับสินค้าแบรนด์เนมที่เป็นระดับพรีเมี่ยม Luxury and Premium Brands ก็แนะนำกอง T-PREMIUM ซึ่งมีความผันผวนมากกว่ากลุ่ม Quality Brands ที่ส่วนใหญ่มีรายได้คงที่ โดยความผันผวนของกองทุนกลุ่มนี้มาจาก รายได้ที่ึขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง โดยเศรษฐกิจเปิด หรือขยายตัว จะส่งเสริมให้สินค้าแบรนด์หรูขายดีขึ้น เพราะผู้บริโภคมีกำลังซื้อและมั่นใจที่จะจ่ายเงินออกไป รายได้กลุ่มนี้จึงเป็นรอบ และสูงมาก เมื่อเทียบกับกลุ่ม Defensive
โดย ในทางกลับกัน หากคนไม่มั่นใจ หรือมีกำลังซื้อหดหาย กลุ่มนี้ก็จะโดนกระทบก่อนเป็นอันดับแรก
ทั้งนี้ หลังจากโควิด คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ และมีกำลังซื้อมากขึ้นในฝั่ง Developed Market ทำให้กลุ่ม Consumer Discretionary หรือ Luxury มีผลตอบแทนที่ดีในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา
3️⃣ส่วน I-CHIC ยังเป็นกองที่ไม่น่าสนใจเท่า T-Premium เมื่อพิจารณาจากผลงานย้อนหลัง และยังมีค่าธรรมเนียม TER ที่สูงถึง 2.4% นอกจากนี้ขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกสูงถึง 10,000 บาท
📌คำแนะนำของเด็กการเงิน KFGBRAND เป็น Core Port ได้ 10-20% ส่วน T-Premium และ I-CHIC เป็นไปตามรอบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วน Satellite 5-10%
โฆษณา