ประเทศไทย : เงินสำรองก็เยอะ ทองคำก็แยะ หนี้ก็พอๆกัน ...ทำไมต้องกู้ สรุปว่ารวยหรือจน กันแน่? ตอน 1
.
**ตอบตามตัวเลข : ปานกลางค่อนรวยครับ ตามการจัดของธนาคารโลก จากการประเมินรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNI per capita) คือประเทศที่ปชก.มีรายได้เฉลี่ย 4,046 - 12,535 usd. ในปี 62 ไทยมี GNI (nominal) per capita 7,260 usd. อันดับ 82 ของโลก
ถ้าคิดจาก "ความเท่าเทียมกันของอำนาจการซื้อ" GNI (PPP) per capita จะอยู่ที่ 18,570 usd. อันดับ 67 ของโลก
ถ้าดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย #รายได้ประชาชาติต่อหัว GNP per capita ปี 62 234,806 บาท หรือ 7,500 usd.
GNP และ GNI ถือเป็น รายได้ประชาชาติทั้ง 2 แบบ เพียงแต่ GNI ได้พัฒนาการคำนวณต่างมาจาก GNP เล็กน้อยครับ
**ตอบในอีกมุม : ไทยสร้างความร่ำรวยอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ ภาคการเกษตร จนถึง แก้ไขระบบราชการ และภาษีที่เอื้ออำนวยให้เกิดขึ้น แล้วก็ค่อยๆเพิ่มการลงทุนที่คุ้มค่า ในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างระมัดระวัง มีขั้นตอน
เพื่อต่อยอดเพิ่มมูลค่าในทุกภาคส่วน และไม่สร้างหนี้เกินกว่าที่จะรับภาระไหว โดยการรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
.
เคยสงสัยกันมั๊ยครับว่า ทำไมไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศในทุกรูปแบบ ณ พ.ค. 64 283,845 ล้านusd. กว่า 8.88 ล้านล้านบาท ทําไมรัฐบาลไม่เอาเงินก้อนนี้ไปลงทุนเพื่อ สร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะถนนหนทาง รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ
หากทําได้รบ.ก็ไม่จําเป็นต้องกู้เงิน หนี้สาธารณะก็ไม่เพิ่มขึ้น และอาจจะยังมีเงินเหลือไปชําระหนี้ภาครัฐ ประหยัดค่าดอกเบี้ย และไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยจะสูงขึ้น
.
มาหาคำตอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย กันครับ
#ที่มาที่ไปและหน้าที่ของทุนสำรองฯ - จากการที่ไทยส่งออกสินค้าและบริการมากกว่านำเข้า รวมถึงการลงทุนจากตปท. เงินตราตปท.เหล่านี้ (สมมุติเป็นดอลล่าห์ทั้งหมด) เมื่อนำมาใช้จ่ายหรือลงทุนในไทยก็ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน เมื่อความ **ต้องการขายดอลล่าห์มากกว่าความต้องการซื้อ** ก็จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
#แบงก์ชาติจึงต้องแทรกแซงกลไกตลาด ด้วยการซื้อดอลลาร์ส่วนเกิน เพื่อที่จะทําไม่ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ***ดอลลาร์ในมือแบงก์ชาติ หรือทุนสํารองฯ*** จึงมีเพิ่มมากขึ้น และจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามหากขาดดุลการค้าหรือต่างชาติถอนการลงทุน แบงก์ชาติก็ขายดอลลาร์เก็บเงินบาทเข้า เพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้ตกลงมาก
ทุนสำรองฯก็จะนำไปลงทุนในสกุลเงิน และตราสาร ที่ซื้อง่ายขายคล่อง มีความเสี่ยงตํ่า ส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรรัฐบาลของเงินสกุลหลักๆ (แบงก์ชาติได้ดอกเบี้ย)
#หน้าที่หลักของทุนสํารองฯ คือ เพื่อทำหน้าที่รองรับอัตราแลกเปลี่ยน, รักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน, ใช้ประเมินความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ของประเทศ
... ฐานะทุนสํารองฯที่แข็งแกร่ง จึงช่วยสร้างความเชื่อมั่น ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยได้อย่างมั่นใจ