Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NO CANCER: เรื่องเล่าจากห้องวิจัยมะเร็ง
•
ติดตาม
20 ก.ค. 2021 เวลา 10:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในงานวิจัยมะเร็งจะเจอจานเลี้ยงเซลล์ขนาดจิ๋วๆกันบ่อย
ในรูปก็คือจานเลี้ยงเซลล์ เรียกว่า well plate
มีตั้งแต่ 6 รู ขึ้นไป จำนวนรูน้อย ขนาดรูก็จะใหญ่
จานเลี้ยงเซลล์มะเร็งขนาด 96, 384 และ 1536 หลุม
ในภาพคือ 96, 384 และ 1536 รู ตามลำดับ
ที่จริงมีเยอะรูกว่านี้อีก เท่าที่อ่านเจอคือ 20,000 รู
ใช้ปริมาตรสารที่หยอดน้อยมาก ระดับนาโนลิตร
การเลี้ยงเซลล์มะเร็งหลายๆรูงี้อ่ะ
ก็เพื่อทำการทดลองในแต่ละรูให้ต่างกัน
เช่น ทดลองหายาที่ฆ่ามะเร็ง โดย 1 รู ก็อาจจะ 1 ยา
ยิ่งเทสได้หลายยาพร้อมกัน (high-throughput)
ก็ประหยัดเวลาไง
แล้วถ้าซุปเปอร์เยอะๆๆๆนะ เช่นพวก 1536 รูขึ้นไป
ก็จะเรียกว่า ultra-high-throughput
เพิ่งได้ลองเลี้ยงเซลล์ใน 384 ครั้งแรกๆ
โอโห้~~~ เล็งกันตาจะเหล่
ได้แต่พึมพำกับเจ้าเซลล์ว่า
พรี่ทำเต็มที่ ขอเจ้าเซลล์มะเร็งน้อย
จงออกดอกออกผล(แลป)งามๆด้วยเถิด
Pic: Wikipedia
Info Ref: Smith, A. How small should you go?. Nature 418, 457 (2002).
https://doi.org/10.1038/418457a
FB Page: NO Cancer: เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
🤪 #เภสัชชะเกรียน เอางานวิจัยมะเร็งมาเล่าแบบกวนๆ สาระยากๆไม่ค่อยจะมี จะมีก็แต่ความแฟนตาซีและย่อยง่าย เพราะ #วิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
🤗 ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆนักวิจัยผ่านมาเห็น จะแนะนำหรือติชม นศ ป เอก ตัวน้อยน้อยยยยคนนี้ก็ยินดีและดีใจมากๆเลยค่ะ 😁🤓😁
#NoCancer #NoCancerTH
#เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ FB page -> @NO cancer: เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ Blockdit -> No Cancer: เรื่องเล่าจากห้องวิจัยมะเร็ง (
https://www.blockdit.com/no_cancer
)
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย