21 ก.ค. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
🎯วัคซีนป้องกันโควิดในเด็ก🎯 :เมื่อไร &อย่างไร?”
“วัคซีนป้องกันโควิดในเด็กมีหรือยังคะ?”
3
“มีแล้วค่ะ….ที่อเมริกาเพิ่งจะเริ่มมีให้ใช้แบบฉุกเฉินเมื่อ 2 เดือนที่แล้วนี่เองค่ะ สำหรับเด็กอายุ12 ปีขึ้นไป”
วัคซีนของบริษัท Pfizer &BioNTechได้รับคำอนุมัติแบบฉุกเฉินจาก FDAของอเมริกาให้ใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เมื่อ 10 May 2021 โดยใช้ขนาดเท่ากับผู้ใหญ่ ฉีด 2 เข็มห่างกัน 21 วัน
1
ส่วนคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนการใช้แบบฉุกเฉินของวัคซีน COMIRNATY ของบริษัทPfizer เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.64
ช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มมีคำถามถึงวัคซีนโควิดในเด็ก เพราะ จำนวนคนไข้เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ก็คงเป็นกังวล ว่า เด็กที่ติดเชื้อจะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ถึงเวลาต้องฉีดวัคซีนให้เด็กหรือยัง?
ขณะนี้พบมีรายงานการติดโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยเด็กเพิ่มสูงขึ้นกว่าการระบาดในระลอกหนึ่ง และระลอกสองอย่างมาก
จากข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ 1 เมษายนถึง 15 มิถุนายน 2564 รายงานผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีติดโรคโควิด-19 สะสม จํานวน 13,608 รายจากผู้ป่วยติดเชื้อทุกอายุ 173,401 ราย คิดเป็นผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็กร้อยละ 7.8 ของผู้ติดเชื้อทุกกลุ่มอายุ
มีผู้ป่วยเด็กเสียชีวิต 4 ราย(ทุกรายมีโรคประจำตัว) คิดเป็นอัตราการ เสียชีวิตร้อยละ 0.03
1
เมื่อติดตามข้อมูลจนถึง 13 กรกฎาคม 2564 พบผู้ป่วยเด็ก ติดเชื้อเพิ่มอย่างรวดเร็ว เป็น 33,020 ราย โดยมีอัตราส่วนของเด็กติดเชื้อสูงขึ้นเป็นร้อยละ 13.2 ของผู้ติดเชื้อ ทุกกลุ่มอายุ
1
🎯การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเด็กติดเชื้อโควิด-19 ในระยะ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงว่ายังควบคุมการระบาดใน ชุมชนและครอบครัวไม่ได้และมีแนวโน้มที่สูงขึ้น 🎯
แต่ก็ยังดีที่พบว่าผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยไม่แสดง อาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
“🔅ถ้าวัคซีนที่ใช้ในเด็กเข้ามาแล้ว จะต้องพาลูกไปฉีดไหมคะ?”🔅
“ก็ต้องดูว่าลูกเข้าเกณฑ์ที่จะต้องฉีดหรือเปล่าค่ะ เพราะ ที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์เพิ่งออกคำแนะนำมาคือ ให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจําตัวที่มีความ เสี่ยงของโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เช่น โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและภูมิคุ้มกันต่ำ และโรคเบาหวาน”(อ้างอิง 1)
“ขณะนี้ยังไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กที่สุขภาพแข็งแรงดีนะคะ”
🔅วัคซีนโควิดสำหรับเด็กในประเทศอื่นๆ🔅
ขณะที่ทั่วโลกยังมีการระบาดของเชื้อโควิด 19 วัคซีนก็ยังไปไม่ทั่วถึง ในประเทศยากจน หลายประเทศแม้แต่ผู้ใหญ่หรือคนแก่ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนสักเข็มก็มีจำนวนมาก
ส่วนประเทศที่มีเงินทุนมาก และฉีดวัคซีนให้ผู้ใหญ่ไปได้มากแล้ว กำลังเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้กับเด็ก เช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และอิสราเอล
ส่วนคณะกรรมการวัคซีนของประเทศอังกฤษ เพิ่งประกาศเมื่อวันที่ 19 July 2021 นี้เองว่า
ให้หน่วงเวลาการฉีดวัคซีนโควิดสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีไปก่อน เนื่องจากพบโรคโควิดที่รุนแรงในกลุ่มเด็กเหล่านี้น้อยมาก
และแนะนำว่า จะฉีดให้กับเด็กอายุ12-16 ปีที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการติดโรคโควิด หรืออาศัยอยู่กับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง
(เด็กและวัยรุ่นที่มีสุขภาพดีมีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคโควิดรุนแรง และเสียชีวิต) (อ้างอิง 2)
🔅ความปลอดภัยของวัคซีนในเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี 🔅
มีการศึกษาทดลองในอาสาสมัครเด็กในประเทศอเมริกา อายุ 12-15 ปี ประมาณ 1,100คน และได้ผลไปทาง”ได้ผลดี” จึงมีการขับเคลื่อนให้ฉีดวัคซีนในเด็ก เหมือนกับในผู้ใหญ่ (อ้างอิง 3)
แต่การฉีดวัคซีนในเด็กจะเป็นเรื่องที่ตัดสินใจได้ง่ายๆจากการศึกษาเพียงพันกว่าคนเท่านี้เองหรือ?
ความเห็นของ Dr. John Mandrola เป็น Cardiologist ได้ลงไว้ใน Medscape เมื่อ 1 July 2021 ว่า
“การศึกษาพบว่า มีความปลอดูภัยในระดับที่น่าพอใจ “ นั้นทำในเด็กจำนวน 1100 คน ยังไม่พอที่จะนำผลมาใช้ในวงกว้างในเด็กเป็นล้านๆคนแล้วบอกว่าปลอดภัยได้ (อ้างอิง 4)
และตามมาด้วยรายงานการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในชายหนุ่มอายุน้อยที่ได้รับวัคซีนซีนเป็นเข็มที่ 2 อีก
อ่านเรื่อง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนได้ที่ลิ้งค์นี้ https://www.blockdit.com/posts/60d46c5528ec3004aad9c949
นี่ทำให้เรื่องยุ่งยากขึ้นไปอีก
เด็กวัยรุ่นมีโอกาสเป็นโรคโควิด 19 น้อยอยู่แล้ว ยิ่งในวัยเด็กยิ่งน้อยลงไปอีก
จึงมีคนโต้แย้งว่า ควรจะชะลอการให้วัคซีนนี้ในเด็กออกไปก่อนดีไหม ?( แต่ CDC ของอเมริกาบอกว่า ผลดีมีมากกว่าผลเสีย )
ในฐานะที่ Dr .Mandrola เป็น Electrophysicist คือ แพทย์โรคหัวใจ ที่ชำนาญด้านเกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าในหัวใจ บอกว่า
“❤️Human have only one heart ,inflaming it at a young age is not a small thing”❤️
“มนุษย์เรามีหัวใจแค่ดวงเดียว การที่หัวใจนั้นอักเสบตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก”
คุณหมอ Mandroala จึงไม่เห็นด้วยที่จะเรียก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบว่าเป็น “mild” -อาการไม่รุนแรง จริงๆแล้วเมื่อมีอาการใดๆเกิดกับคนอื่น เราจะมองว่าอาการ “น้อย” แต่ในมุมมองของผู้ที่เป็น จะคิดว่า อาการนั้น “มาก” สำหรับเขา
ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมักต้องกินยาและจำกัดการออกกำลังกาย ในอนาคตอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนด้านหัวใจได้ ซึ่งรวมทั้ง ภาวะหัวใจล้มเหลว และหัวใจเต้นผิดจังหวะจากมีแผลเป็นที่กล้ามเนื้อหัวใจ
หมอด้านไฟฟ้าหัวใจจึงเห็นว่ามีความเสี่ยง ถึงแม้ว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบส่วนใหญ่จะหายเองโดยไม่มีปัญหาใดๆ แต่จริงๆแล้วบางทีก็ไม่เป็นเช่นนั้น
การจะตัดสินใจให้วัคซีนนี้ในวัยรุ่นจึงต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับเด็กและผู้ปกครองให้เข้าใจกันให้ดีเสียก่อนถึง ข้อดี ข้อเสียของการฉีดวัคซีนนี้ว่ามีอะไรบ้าง ชั่งน้ำหนักแล้วอย่างไหนมีมากกว่ากัน
เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ ร่างกายเขายังต้องมีการเจริญพัฒนาไปอีกหลายปี
จะตัดสินใจให้วัคซีนตัวใหม่ๆก็ต้องดูกันนานๆ ดูผลการฉีดในประเทศอื่นๆไปก่อนว่ามีอะไรรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
ภาพจาก https://www.vecteezy.com/vector-art/2131290-cartoon-character-of-happy-children-with-covid-19-vaccine-bottle
🌟สรุป🌟 การใช้วัคซีน ป้องกันโควิด -19 ในเด็กไทย จากเอกสารของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ (16 กค 64)(อ้างอิง 1)
1.🎯ยังไม่แนะนําสําหรับเด็กทั่วไปที่แข็งแรงดี
(รอจนกว่าจะมีวัคซีนที่มากขึ้น และมีข้อมูล เรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนนี้ในเด็กเพิ่มเติม)
2.🎯แนะนําให้ฉีดในกรณีผู้ป่วยเด็กที่มีมีโรคประจําตัวที่มีความ เสี่ยงของโรคโควิด-19 ที่รุนแรง
เช่น โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรค หลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำและโรคเบาหวาน เป็นต้น
3. 🎯ให้ใช้มาตรการควบคุมการระบาดของโรค โควิด-19 ในชุมชนอย่างเข้มงวด
4.🎯การให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงแก่ผู้ใหญ่ เพื่อคุ้มครองเด็กซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน
5.🎯ให้สร้างวินัยในการป้องกันตัวเอง เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง
บทความโดย พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา