21 ก.ค. 2021 เวลา 14:24 • สุขภาพ
ติดโควิด แต่ไม่มีเตียง ทำยังไงดี???🤦🏻‍♀️
ติดโควิดแต่ยังไม่มีเตียงต้องทำอย่างไร ถ้าจำเป็นต้องกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ควรดูแลตัวเองหรือปฏิบัติตัวอย่างไรไม่ให้คนในบ้านติดเชื้อไปด้วยมาทำความเข้าใจกัน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ค่อนข้างตึงเครียดทีเดียว เมื่อยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. ที่ผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาไม่มีเตียงโรงพยาบาลเพื่อพักรักษาตัว จึงต้องกักตัวรอเตียงอยู่ที่บ้านหรือหอพักของตัวเอง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังบุคคลอื่นที่อยู่ในบ้าน-ในหอเดียวกัน
แล้วถ้าเราเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโควิดที่เจอปัญหานี้ เราต้องทำอะไรบ้าง จะสามารถรักษาอาการโควิดเบื้องต้นได้อย่างไร แล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี เพื่อไม่ให้คนในครอบครัวสัมผัสเชื้อไวรัส ตามมาอ่านคำแนะนำได้เลย
หลายคนอาจสงสัยว่า กรณีที่เราติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ จะสามารถพักรักษาตัวอยู่ในบ้านได้ไหม เหมือนกับผู้ติดเชื้อในต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ก็พักรักษาตัวอยู่ในบ้านจนหายกลับมาเป็นปกติ
ประเด็นนี้ต้องบอกว่า ตามข้อกำหนดเดิมคือ ทุกคนที่ติดเชื้อแม้จะไม่มีอาการจำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ถึงแม้ว่าผู้ป่วยบางคนจะไม่แสดงอาการ แต่ก็อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม วันใดวันหนึ่งขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์และเจ้าหน้าที่ หากเกิดกรณีเชื้อลงปอดหรือทรุดหนักจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากอาจทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดระบบและส่งตัวเข้าพักในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ได้ทัน ดังนั้น หากใครมีผลตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา และยังไม่มีเตียง ให้รีบดำเนินการดังนี้
1. เตรียมเอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารรับรองผลว่าติดเชื้อโควิด หากไม่มีผลการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อ โรงพยาบาลที่จะเข้ามาช่วยเหลือจะไม่สามารถรับตัวไปรักษาได้
2. โทร. เข้าสายด่วนเฉพาะกิจเพื่อประสานหาเตียงได้ที่
เบอร์โทร. 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ
เบอร์โทร. 1668 กรมการแพทย์ หรือ
เบอร์โทร. 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ
ใช้แอปพลิเคชันไลน์ "สบายดีบอต" (@sabaideebot)
โดยแจ้งรายละเอียดการเข้ารับการรักษาและเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองให้หน่วยงานรับเรื่องไว้ ทั้งนี้ ถ้าโทร. ไปแล้วครั้งหนึ่ง และอยู่ระหว่างรอประสานหาเตียง ไม่จำเป็นต้องโทร. ไปสายด่วนอื่น ๆ ซ้ำนะคะ เพราะจะทำให้ข้อมูลซ้ำซ้อนกัน
3. หากทางโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลสนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจต่าง ๆ มีเตียงว่างเพียงพอที่สามารถรองรับได้ ก็จะส่งรถพยาบาลมารับตัวไปเข้ารับการรักษาทันที แต่หากยังไม่มีเตียงให้รออยู่ที่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่จะโทร. มาสอบถามอาการเป็นระยะระหว่างรอการเคลื่อนย้าย
นอกจากภาครัฐแล้ว ยังมีภาคเอกชนและเพจดัง รวมกลุ่มประสานหาเตียงและรถพยาบาลให้ผู้ป่วย อาทิเช่น
ไทยพีบีเอส: โทร. 0-2790-2111 (ทุกวัน 09.00-16.00 น.) หรือไลน์ @RongTookThaiPBS
เพจ:เราต้องรอด ของ “จ๊ะ นงผณี”นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง และ” ได๋ ไดอาน่า” จงจินตนาการ หรือ Line @iwillsurvive
เพจ: Drama-addict สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลขอความช่วยเหลือได้
เพจ: หมอแล็บแพนด้า
เพจ: เส้นด้าย-Zendai
BACK HOME - กลับบ้าน : Line @backhome
เพจ: ไทยรัฐนิวส์โชว์หาเตียง
เพจ: ไม่ได้เป็นหมอแต่เป็นห่วง
เพจ: องค์กรทำดี โดย ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี และทีมงาน
เพจ: ช่วยกล้า หาเตียง ของพรรคกล้า
IG : แอร์ ภัณฑิลา
โครงการเป็นโควิดต้องมีที่รักษา ของณวัฒน์ อิสรไกรศีล
เพจ: โควิดติดล้อถึงเตียง โดย พล.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา
เพจ: ใครติดสะกิดมาร์ท ของคุณอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย
พรรคประชาธิปัตย์ โดย ดร.พนาสิน จึงสวนันทน์ : Line @peakpanasin
เว็บไซต์ Thai care
มูลนิธิกระจกเงา โทร. 0-6190-9184-0
เพจ: ต้องรอด Up for Thai
เพจ: ปันปัน
เพจ: อีจัน
เว็บไซต์ WE HELP MED รวมเบอร์ติดต่อหน่วยงานประสานหาเตียง
ภาพจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 รวบรวมโดยชมรมอัสสัมชัญอาสาพัฒนา
💁🏻‍♀️จะได้รักษาโควิดที่ไหน พิจารณาจากอะไรบ้าง
เมื่อตรวจพบว่ามีเชื้อ โดยหลักการแล้วตรวจที่ไหน โรงพยาบาลนั้นจะหาเตียงให้ก่อน
หากโรงพยาบาลไม่มีเตียงก็จะหาเตียงในโรงพยาบาลเครือข่าย
ถ้าโรงพยาบาลเครือข่ายไม่มีเตียง ก็หานอกเครือข่ายผ่านศูนย์ประสานจัดหาเตียง
ทั้งนี้ ยังต้องแบ่งตามอาการป่วย ณ ขณะนั้นด้วย ดังนี้
1. กลุ่มสีเขียว : ส่วนใหญ่ส่งต่อเข้าโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel
ต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว
อย่างไรก็ตาม หากซักประวัติและเอกซเรย์ปอดแล้วมีข้อสงสัยว่าปอดอักเสบ ก็จะย้ายไปนอนโรงพยาบาล
2. กลุ่มสีเหลือง : เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เป็นผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว และมีเกณฑ์เสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง คือ
👉🏻อายุมากกว่า 60 ปี
👉🏻โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่น ๆ)
👉🏻โรคไตเรื้อรัง
👉🏻โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)
👉🏻โรคหลอดเลือดสมอง
👉🏻เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
👉🏻ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม
👉🏻ตับแข็ง
👉🏻ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)
3. กลุ่มสีแดง : เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง หรือมีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise - induced Hypoxemia)
💁🏻‍♀️Home Isolation รักษาโควิดที่บ้าน ใช้กับใครได้บ้าง
เนื่องจากเชื้อโควิดได้กระจายไปตามชุมชนและไซต์งานก่อสร้างในพื้นที่ กทม. ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย ทำให้ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาให้ผู้ป่วยสีเขียวในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ที่มีปัญหาเรื่องเตียง สามารถ Home Isolation หรือรักษาตัวที่บ้านได้ โดยแพทย์เป็นผู้พิจารณาใช้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น เฉพาะในช่วงที่เตียงไม่พอ ซึ่งมีเงื่อนไขและข้อกำหนดดังนี้
💁🏻‍♀️ใครสามารถรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ได้บ้าง
👉🏻ต้องมีอายุน้อยกว่า 60 ปี
👉🏻เป็นผู้ป่วยโควิดที่ไม่มีอาการ
👉🏻มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
👉🏻อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
👉🏻ไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ม.2 หรือน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กก.)
👉🏻ไม่ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
👉🏻ผู้ป่วยต้องยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเองอย่างเคร่งครัด
💁🏻‍♀️แนวทางปฏิบัติ Home Isolation
👉🏻โรงพยาบาลจะแจกปรอทวัดไข้ เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด ให้วัดผลวันละ 2 ครั้ง และรายงานผลให้แพทย์ทราบ
👉🏻หากแพทย์สงสัยสามารถสั่งให้ผู้ป่วยวัดใหม่ได้ เช่น สั่งให้ออกกำลังกายก่อนวัดปริมาณออกซิเจน ถ้าลดลงอาจจะส่งผลต่อการทำงานของปอด หรือมีอาการอื่นที่น่าสงสัยอาจจะสั่งให้รถพยาบาลมารับไปเอกซเรย์ปอดเพิ่มเติม
👉🏻แพทย์ติดต่อสอบถามอาการจากผู้ป่วยวันละ 2 ครั้ง ผ่านโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล
👉🏻หากไม่มีอาการและไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาฟ้าทะลายโจรให้กินที่บ้าน และให้ยาพื้นฐานอื่น ๆ
👉🏻สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ แต่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงแต่เริ่มแสดงอาการ แพทย์จะสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้กินที่บ้าน
👉🏻โรงพยาบาลจะจัดส่งอาหารให้ผู้ป่วยถึงบ้านครบ 3 มื้อ
👉🏻ถ้ามีอาการทรุดลง โรงพยาบาลจะรีบประสานหาเตียงและส่งรถพยาบาลมารับไปรักษาตัวโดยเร็ว
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 19 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กศูนย์ข้อมูล COVID-19
เฟซบุ๊กกรมอนามัย (1), (2)
เฟซบุ๊กกดดู รู้โรค
ไทยพีบีเอส
กระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊ก เราต้องรอด
ชัวร์ก่อนแชร์
Rajavithi Hospital Channel
กรมการแพทย์
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่องเล่าเช้านี้
นพ.ธนีย์ ธนียวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด ประเทศสหรัฐอเมริกา
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
#Covid-19 #HowToStrong😊
โฆษณา