Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้อยากเล่าเรื่อง...
•
ติดตาม
23 ก.ค. 2021 เวลา 09:25 • สุขภาพ
[วันนี้อยากเล่าเรื่อง...] Lockdown Brain Fog ภาวะสมองล้าผลกระทบแฝงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
สวัสดีค่ะทุกคน ในวันนี้ผู้เขียนมีสาระสุขภาพน่ารู้เข้ากับสถานการณ์มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทุกคนจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งการกักตัวอยู่บ้าน การทำงานอยู่ที่บ้าน
แรกๆคิดว่าจะสบายแต่จริงๆเครียดหนักกว่าเดิม 🤦♀️
เพราะความไม่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว กว่าจะปรับตัวได้ก็ต้องใช้เวลานาน
นอกจากความเครียดที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดภาวะสมองล้า (Lockdown Brain Fog)
ที่ทำให้การทำงานของสมองไม่เต็มที่
ภาวะนี้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีรับมืออย่างไร
วันนี้ผู้เขียนได้สรุปมาให้อ่านกันง่ายๆ ไปอ่านกันเลยค่ะ 😊👉
1
(ขอบคุณภาพจาก ochsner-craft.s3.amazonaws.com)
📍Brain Fog คืออะไร?📍
ก่อนรู้จักกับ Lockdown Brain Fog เราทำความเข้าใจกับ Brain Fog ก่อนนะคะ
👉 Brain Fog คือ ภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองถูกใช้งานมากเกินไป ทำให้สารสื่อประสาทในสมองเชื่อมต่อข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ของระบบประสาทเสียสมดุล ส่งผลให้สมองทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ เปรียบเหมือนเวลาขับรถแล้วมีหมอกมาบังทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจนนั่นเองค่ะ
👉 สาเหตุ : คลื่นแม่เหล็กจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ตมากเกินไป , ความเครียด , นอนไม่เพียงพอ นอนดึก , ขาดการออกกำลังกาย , ขาดสารอาหาร , สารพิษในชีวิตประจำวัน (มลภาวะ สารเคมี ยาฆ่าแมลงที่ปะปนในอากาศ น้ำ อาหาร)
2
3
หากเกิดบ่อยครั้งจะกลายเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคกระเพาะ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ ฯลฯ
1
(ขอบคุณภาพจาก assets-global.website-files.com)
📍Lockdown Brain Fog คือ... ?📍
👉 Lockdown Brain Fog เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ เพราะเป็นผลกระทบข้างเคียงจากการกักตัว เป็นภาวะที่สมองทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกับภาวะ Brain Fog โดยปกติคือมีอาการสมองตื้อ เบลอ คล้ายกับนอนไม่พอ มึนงง หลงๆลืมๆ แต่สิ่งที่ต่างจากภาวะ Brain Fog ตามปกติคือสาเหตุของการเกิดที่เพิ่มขึ้นมา
สาเหตุ :
👉 1. การไม่ได้ติดต่อสื่อสาร ขาดสังคม ทำให้สมองถูกใช้งานน้อยลง
👉 2. การอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ คือ บ้าน ห้องเล็กๆแคบๆ ที่ไม่กระตุ้นให้เกิดการคิดอะไรใหม่ๆ
👉 3. การอยู่คนเดียว จนเกิดเป็นความเหงา ทำอะไรคนเดียว ซ้ำๆ เดิมๆ
(ขอบคุณภาพจาก elitecme.com)
พฤติกรรมเหล่านี้ในช่วงกักตัวขัดกับหลักธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องใช้สมองในการสื่อสาร จัดการ และคิดวิเคราะห์ทำให้สมองถูกใช้งานน้อยลงและแทนที่ด้วยความเครียดสะสมค่ะ
แต่อย่าเครียดซ้ำเพราะคิดว่าอาการจะไม่ดีขึ้นนะคะ หากได้กลับไปในสภาพแวดล้อมเดิมการทำงานของสมองจะค่อยๆกลับมาเหมือนเดิมได้ค่ะ
(นั่นไง!! ตั้งจิตอธิษฐานให้โควิดหมดไปไวๆเลยค่ะ เพี้ยง! 😷🙏🏼)
📍รับมือกับอาการของภาวะ Lockdown Brain Fog ได้อย่างไร?📍
เพราะเราไม่รู้ว่าโควิดจะอยู่ไปอีกนานแค่ไหน ถึงอาการของภาวะนี้จะกลับมาหายดีเป็นปกติได้แต่ก็อย่าปล่อยให้ตัวเองมีอาการแบบนี้เลยจริงไหมคะ รู้วิธีรับมือไว้ดีกว่าค่ะ
👉 1. สื่อสารให้มากขึ้น
หากอยู่กับครอบครัว เวลาพักจากงานใช้เวลานี้พูดคุยกับคนในครอบครัวให้มากขึ้น หรือถ้าใครอยู่คนเดียวอาจโทรฯหาเพื่อน หรือพูดคุยทางโปรแกรมออนไลน์ (หรือจะแวะมาพูดคุยกับผู้เขียนในเพจวันนี้อยากเล่าเรื่อง..ก็ได้นะคะ 😂✌)
(ขอบคุณภาพจาก blog.shrm.org)
👉 2. ทำกิจกรรมที่สนใจหรือมีประโยชน์
เช่น การออกกำลังกาย อ่านหนังสือ งานฝีมือ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น และถ้าใครใช้ชีวิตหน้าคอมฯขอให้เปลี่ยนนะคะ เพราะการนั่งหรือทำอะไรนานๆจะส่งผลต่อร่างกายตามมา เช่น อาการปวดเมื่อย ปวดหัว ปวดตา เป็นต้น
👉 3. มีช่วงเวลาพักผ่อนหย่อนใจ ทำตัวสบายๆ กินขนมที่ชอบ ดูซีรี่ย์ ดูหนัง ฟังเพลง ดูรายการทีวีที่ชอบบ้าง
👉 4. นอนหลับให้เพียงพอ และเข้านอนเป็นเวลา
👉 5. ทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารบำรุงสมอง เช่น น้ำมันปลา วิตามินต่างๆ
👉 6. เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และกาแฟในช่วงเย็นเพราะจะรบกวนการนอน
💬 อ่านจบแล้วมีความคิดเห็นอย่างไร มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้เสมอเลยนะคะ
สำหรับผู้เขียนเองคิดว่าต้องปรับพฤติกรรมหลายอย่างเลยค่ะ เริ่มจาการนอนเลยอย่างแรก 😅
2
สถานการณ์การตึงเครียดแบบนี้ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะทุกคน
ขอให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดีในเร็ววันค่ะ สา~ธุ
😷🙏🏼
1
ขอบคุณผู้อ่านทุกคนนะคะ..ขอให้วันนี้และทุกๆวันเป็นวันที่ดี สุขขีตลอดวันค่ะ 😊❤
อ้างอิง :
www.eventpass.co
,
www.bangkokhospital.com
,
www.dmh.go.th
1 บันทึก
12
27
1
1
12
27
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย