23 ก.ค. 2021 เวลา 02:27 • ธุรกิจ
Netflix พร้อมให้บริการคอนเทนต์วีดีโอเกมแบบฟรีๆ
เสริมความแข็งแกร่งผู้นำด้านสตรีมมิ่ง
นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Netflix แพลทพอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังที่ทำให้ใครหลายคนไม่ได้นอนกันมาบ้างแล้ว ด้วยคอนเทนต์ที่จับกลุ่มได้ทุกเพศทุกวัย
ในปัจจุบัน Netflix มีสมาชิกที่ Subscribe อยู่ในมือกว่า 200 ล้านบัญชี นับว่ามีมูลค่ามหาศาลทั้งในแง่ของข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค และโอกาสที่จะนำไปต่อยอดได้ในอนาคต
และตอนนี้ก็น่าจะถึงเวลาแล้ว ที่ Netflix จะได้ขยับขยายไปต่อในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงที่ใกล้เคียงอย่าง "วีดีโอเกม"
Credit : Ars Technica
Netflix กล่าวว่า จะเพิ่มการบริการด้านเนื้อหาที่เกี่ยวกับวีดีโอเกมในปี 2022 ที่กำลังจะถึงนี้ โดยให้ความเห็นว่า เนื้อหาด้านวีดีโอเกมนั้นจะเข้ามาเสริมในส่วนที่คล้ายๆกับสารคดี (Documentaries) หรือการแสดงสด (Stand-up Show) ที่เคยมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
โดย Netflix ยังคงยืนยันว่าจะไม่มีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับเนื้อหาด้านวีดีโอเกมอีกด้วย เรียกได้ว่า ถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วก็เลือกรับชมได้เลย
ในมุมมองของผม การเข้ามาในอุตสาหกรรมเกมของ Netflix นั้นมีสิ่งที่น่าสนใจและน่าวิเคราะห์อยู่ 3 ข้อก็คือ
1. Netflix มีคู่แข่งที่น่ากลัวมากขึ้นเรื่อยๆ
Credit : Trojan Messager
จริงอยู่ที่หลายๆคนอาจจะคิดว่า Netflix จะเอาคอนเท้นต์เกมเข้ามาทำไม ปกติคนจะดูเขาก็ดูใน Youtube Gaming, Facebook Gaming หรือ Twitch กันอยู่แล้ว
แต่ที่เราเห็นได้ชัดเลยจากเมื่อเดือนที่แล้ว การเข้ามาตีตลาดของ Disney+ ในประเทศไทยนั้นค่อนข้างรุนแรงพอสมควร รวมถึงการทำโปรโมชั่นและการตลาดที่อาจจะแย่ง Segment ของผู้ใช้งาน Netflix ไปพอสมควร
Disney นั้นยังคงถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และสื่อบันเทิงต่างๆไว้มากมาย ทั้งอะนิเมชั่นของ Disney เอง Marvel และอื่นๆอีกมากมาย
Disney ยังมีช่องทางการทำเงินจากลิขสิทธิ์ของตัวเองอีกเพียบ เช่น การขายของเล่น ขายตั๋ว Disneyland ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก ฯลฯ
นี่ยังไม่รวม Streaming Platform เช่น VIU, LINE TV, iQiyi และอื่นๆที่พร้อมจะทุ่มงบการตลาดในจังหวะนี้เช่นกัน
สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ Netflix ค่อนข้างคิดหนักและหวังว่าการกระโดดเข้ามาในอุตสาหกรรมเกมนั้นจะเป็นสิ่งที่จะทำให้ Netflix โดดเด่นจากคู่แข่งทั้งหมดได้
2. รายได้ของ Netflix เริ่มที่จะเติบโตช้าลงในอนาคต
Credit : Backlinko
รายได้ส่วนมากของ Netflix นั้นมาจากยอด Subscribe ของผู้ใช้งานเป็นหลัก
ตอนเริ่มต้นนั้น การทำรายได้มาก มีการเติบโตสูงจึงทำให้บริษัทสามารถขยับขยายได้อย่างรวดเร็วจนมาอยู่ในจุดที่เป็นผู้นำของโลกได้
แต่เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อผู้บริโภคมีตัวเลือกเยอะขึ้น ความเสี่ยงก็เริ่มก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนใจไปให้กับแพลทฟอร์มอื่นๆได้ง่ายขึ้น
รวมไปถึงการนำคอนเทนต์รูปแบบเดิมๆมาให้บริการก็อาจจะไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในสักวันหนึ่งได้
นักลงทุนรายใหญ่จึงอาจจะหันไปให้ความสำคัญกับบริษัทใหม่ๆ เล็กๆ ที่มีแววจะเติบโตได้ดีมากกว่ามาลงทุนกับบริษัทที่มีอัตราการเติบโตต่ำแล้วนั่นเอง
3. Netflix ต้องศึกษาพฤติกรรมของผู้เสพย์คอนเทนต์เกมให้เข้าใจอย่างแท้จริง
Credit : Hybrid.co.id
Netflix ได้ดึงตัว Mike Verdu อดีตนักพัฒนาเกมจาก Electronics Art (EA) เข้ามาเสริมทัพด้วย ทำให้เป็นอีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจว่า ผู้บริหารท่านนี้จะมีแนวคิดในการเข้าถึงผู้บริโภคในอุตสาหกรรมเกมมากแค่ไหน
เพราะการเสพย์คอนเท็นต์เกมนั้น ค่อนข้างมีความหลากหลายและเฉพาะกลุ่มค่อนข้างสูง คนไทยมักจะเลือกเสพย์เฉพาะ Steamer ที่สื่อสารภาษาไทยเท่านั้น ประเทศอื่นๆก็มักจะเสพย์คอนเทนต์เกมที่ Localize กับภาษาของตัวเองมากกว่า
ทำให้อุตสาหกรรมเกมนั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากมากๆ สำหรับบริษัทที่เข้าใจไม่ถ่องแท้จริงๆ ก็เจ๊งกันไปเยอะแล้วเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น Google ที่ล้มเหลวไปกับ Google Stadia แพลทฟอร์มเล่นเกมแบบออนไลน์ที่เทคโนโลยียังไม่มีความเสถียรพอที่จะให้บริการในระดับมาตรฐานได้
สุดท้ายนี้ก็คงต้องจับตามองกันไปอีกสักพัก กับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของ Netflix ว่าการนำคอนเทนต์เกมเข้ามานั้น จะเป็นไปในรูปแบบไหน จะซื้อใจผู้บริโภคสายเกมเมอร์ได้หรือไม่ครับ
โฆษณา