23 ก.ค. 2021 เวลา 06:42 • การศึกษา
....การคิดค่าตกใจและค่าชดเชยของ Freelance (บางกรณี)
....Freelance โดยหลักการเป็นการจ้างทำของ (จ้างทำงานสำเร็จรายชิ้น) ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องของการจ้างแรงงาน ที่จะต้องจ่ายค่าตกใจและค่าชดเชย ใดๆ
....แต่โดยทางปฏิบัติการที่บริษัทหนึ่ง ทำสัญญาจ้าง Freelance มาทำงานให้ลูกค้าสักอย่างหนึ่ง การปฏิบัติต่อกันนั้น พฤติการณ์อาจเป็นการจ้างแรงงาน ซึ่งบริษัทผู้ว่าจ้างอาจมีความรับผิดในเรื่องของค่าชดเชยตามมาได้ครับ
....ท่านผู้อ่านคงเคยเจอ ว่าในองค์กรของท่านอาจมีการจ้าง Outsource มาทำงาน แต่ เช่น จ้างมาดูแลระบบคอมพิวเตอร์แค่บางวัน มาคีย์งานเอกสารทั่วไปบางช่วงที่ยุ่งๆงานล้นมือ หรือจ้างมาแค่วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ท่านก็ทำจ่ายเงินเป็นค่าจ้างทำของ โดยหัก ณ ที่จ่าย 3% ปกติก่อน
....ซึ่งบางทีมันอาจจะไม่ใช่อย่างนั้นก็ได้ครับ
....กรณีหนึ่ง บริษัท A ว่าจ้างนาย B ให้ทำงานบริการลูกค้าของบริษัทฯ คือบริษัท C โดยให้มีหน้าที่บริหารจัดการด้านไอที ดูแลเซิร์ฟเวอร์ โดยมีการกำหนดเวลาแค่ 1-2 วันต่ออาทิตย์ , ทำงาน 8 ชม.ต่อวัน , พัก 1 ชม.ต่อวัน , มีสิทธิลาป่วย , แต่ไม่มีสิทธิพักร้อน , ไม่ต้องสแกนนิ้ว มีการกำหนดค่ารับจ้าง ชม.ละ 1,500 บาท หรือถ้ามีงานด่วนก็ชม. 2,000 บาท
....ก่อนทำเงินเดือน ก็ต้องมีการส่งใบลงเวลา TA Sheet ให้กับบริษัท C เพื่อทำเงินเดือนจ่ายทุกสิ้นเดือน
....ทำงานไปสัก 3 ปีกว่า ทางบริษัท C แจ้งว่าผลงานของนาย B ไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงแจ้งบริษัท A เพื่อขอเปลี่ยนตัวผู้รับจ้างใหม่ บริษัท A จึงแจ้งเลิกจ้างนาย B โดยไม่จ่ายค่าตกใจ แต่จ่ายเพียงค่าชดเชย โดยมีวิธีคิดคือการนำค่าจ้างอาทิตย์ละ 1 วันนั้นมารวมกัน หารเป็นรายเดือน และหารเป็นรายวัน คูณอีกที 180 วัน ทำให้เงินของนาย B หายไปค่อนข้างเยอะ
จริงๆแล้ว พฤติการณ์ไม่ใช่เป็นการจ้างทำของ (จ้างทำงานสำเร็จรายชิ้น) แต่กลายเป็นการจ้างแรงงานแล้ว บริษัท A จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังต่อไปนี้
1. ค่าตกใจ (ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า) นับตั้งแต่วันที่เลิกสัญญาจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุด กรณีนี้คือค่าแรง ชม. 1,500 คูณด้วย 8 ชม. =12,000 บาทต่อวัน คูณ จำนวนวันที่ได้มาทำงานจริง เช่นทุกวันศุกร์ ก็นับเฉพาะวันศุกร์นั้นครับ เคสนี้ไม่เยอะเท่าไร
2. ค่าชดเชย เมื่อค่าจ้างต่อวัน คือ 12,000 บาท ลูกจ้างทำงานมา 3 ปีกว่า มีสิทธิได้ค่าชดเชย 180 วัน จึงต้องได้ค่าชดเชยทั้งหมด ถ้าคำนวณหยาบๆคือ 2,1xx,xxx บาท
ใช่ครับ ค่าชดเชยหลักล้าน
นายจ้างต้องระมัดระวังเคสแบบนี้ให้ดี โดยเฉพาะการร่างสัญญาให้ทำงาน ต้องคำนึงถึงเรื่องการจ้างทำของกับสัญญาจ้างแรงงานให้มากๆครับ
ข้อหารือกองนิติการ ที่ รง ๐๕๐๕/๓๑๐๒
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
Freelance Cr.Pixabay
โฆษณา