Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 ก.ค. 2021 เวลา 03:50 • ไลฟ์สไตล์
ทำไมไอเดียดี ๆ มักโลดแล่น ในตอนที่เราอาบน้ำ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน แน่นอนว่ามองไปทางไหน ก็พบเจอแต่เรื่องเครียด ๆ ที่ทำให้เราต้องกุมขมับ
ซึ่งถ้าพิจารณาถึงความเครียดแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ อย่างในชีวิตของเรา เป็นเหมือนโดมิโนเอฟเฟกต์ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเราเอง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือแม้แต่การทำงาน
ซึ่งถ้าพูดถึงความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแล้ว หลายคนก็อาจจะเล่าออกมาได้ข้ามวันข้ามคืนกันเลยทีเดียว
โดยหนึ่งในปัญหาของการทำงานที่เกิดขึ้นในขณะที่เรามีความเครียด ก็คือ “การคิดงานไม่ออก”
แล้วเราจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร และมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ไอเดียของเรา กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง ?
หลาย ๆ คนอาจแปลกใจ กับวิธีการที่เรากำลังจะพูดถึงต่อจากนี้ นั่นคือ “การอาบน้ำ”
ที่ช่วยให้ไอเดียของเราโลดแล่นได้มากขึ้นได้
1
เหตุผลก็เพราะว่า
1) การอาบน้ำคือการโฟกัสอยู่กับตัวเอง
หากเราอาศัยอยู่ในครอบครัวใหญ่หรือกับคนรัก
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การอาบน้ำคือการตัดขาดจากโลกภายนอกแบบชั่วขณะที่ได้ผลดีเลยทีเดียว คล้ายคลึงกับการนั่งสมาธิ ซึ่งเป็นการโฟกัสอยู่กับตัวเองและความคิดที่เกิดขึ้นในหัว
1
ดังนั้น ในหลาย ๆ ครั้ง ไอเดียดี ๆ ก็มักจะเกิดขึ้นในตอนที่เราอาบน้ำ
โดยตามหลักวิทยาศาสตร์ การที่เราปิ๊งไอเดีย หรือตกผลึกความคิดได้ตอนอาบน้ำ เป็นเพราะสมองได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ และปล่อยสาร “โดปามีน” ซึ่งสารโดปามีนนี้เอง ช่วยทำให้สมอง ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
1
นอกจากนั้น ได้มี 2 นักวิจัยชื่อ Allen Braun และ Siyuan Liu ทำการศึกษาการทำงานของระบบสมองของเหล่าแรปเปอร์ เพื่อหาเหตุผลว่าทำไม พวกเขาถึงสามารถแต่งเนื้อเพลง ออกมาได้อย่างคล้องจองและสละสลวย
เมื่อศึกษาลงลึก ทำให้พบว่า นักร้องแรปเปอร์ที่กำลังคิดเนื้อเพลงแบบสด ๆ สมองส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจ (Prefrontal Cortex) จะทำงานน้อยลง ส่วนสมองที่ใช้ควบคุมอารมณ์ (Medial Prefrontal Cortex) กลับมีการใช้งานมากเป็นพิเศษ
2
1
นี่จึงเป็นข้อยืนยันส่วนหนึ่งได้ว่า เมื่อใดที่สมองของเรา “ผ่อนคลาย” ย่อมทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้นนั่นเอง
1
2) การฟังเสียงน้ำ ช่วยคลายเครียดและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้
2
การฟังเสียงน้ำ คือ Music Therapy หรือดนตรีบำบัดชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการฟังเสียงดนตรีพื้นหลัง (Background Music) ที่มีแค่ท่วงทำนองแต่ไม่มีเสียงร้อง ซึ่งทำให้จิตใจของเราสงบและรู้สึกผ่อนคลาย
1
ดังนั้น เมื่อเราได้ยินเสียงน้ำ ที่ไหลลงมากระทบกับทุกส่วนของร่างกาย จึงมีส่วนกระตุ้นให้เรา เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
3) อุณหภูมิน้ำที่อุ่น ๆ ช่วยผ่อนคลายทั้งกายและใจ
จริง ๆ แล้ว การอาบน้ำที่จะช่วยให้เราผ่อนคลายได้มากที่สุด คือการอาบน้ำอุ่น ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมอยู่ที่ 27-37 องศาเซลเซียส
โดยอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะช่วยให้ผิวขับของเสียต่าง ๆ ออกมาได้ดี ทำให้รู้สึกสบายตัว, ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยลดความเครียดได้
ดังนั้น เมื่อคิดงานไม่ออก สิ่งที่ควรทำก็คือ เลิกคิดซะ แล้วลุกออกไปทำอย่างอื่น
และนอกจากการอาบน้ำ จะช่วยให้เราผ่อนคลายและช่วยกระตุ้นสมองให้สดชื่นขึ้นแล้ว ก็ยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย
เช่น การฟังเพลง, การออกกำลัง, การพูดคุยสัพเพเหระกับเพื่อนร่วมงาน, การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ระหว่างการทำงาน, การพบปะพูดคุยกันของคนในองค์กร ในยามเช้าก่อนเข้างาน, การประชุมวางแผนงานแบบสั้น ๆ สบาย ๆ ไม่เป็นทางการกับเพื่อนร่วมงาน
หรือแม้กระทั่ง การพักสายตาจากหน้าจอ ด้วยการมองขึ้นไปบนท้องฟ้า หรือต้นไม้เขียวขจี ก็ช่วยได้เช่นกัน
ทั้งหมดนี้ คือเหตุผลว่าทำไม ไอเดียดี ๆ จึงมักโลดแล่น ในตอนที่เราอาบน้ำ
และรู้หรือไม่ว่า กิจวัตรประจำวันที่ อีลอน มัสก์ ชอบใช้เวลามากที่สุด เขาบอกว่าคือช่วงที่เขาได้ “อาบน้ำ” เพราะเวลานั้น จะเป็นเวลาที่ ทำให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ และเกิดไอเดียเจ๋ง ๆ ออกมา ได้มากที่สุด..
2
References:
-
https://www.wurkon.com/research/15-creativity-workflow-stimulate
-
https://lifehacker.com/science-explains-why-our-best-ideas-come-in-the-shower-5987858
-
https://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/prefrontal-cortex-for-planning/
-
http://www.med-afdc.net/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3.pdf
24 บันทึก
41
6
23
24
41
6
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย