แต่สำหรับโมเดลคิดลดกระแสเงินสด DCF ที่เป็นกระแสเงิดสดของกิจการ (Free Cash Flow to the Firm: FCFF) เราจะไม่ใช้ Ke แต่เราจะใช้ต้นทุนของกิจการหรือ Cost of Capital เป็นอัตราคิดลด โดยเราหาต้นทุนของกิจการได้จากต้นทุนถัวเฉลี่ยของกิจการ (Weighted Average Cost of Capital: WACC บางคนเรียกว่า "แว๊ค") จากสมการ
Kd = ต้นทุนเงินกู้ของกิจการ (Cost of Debt) ซึ่งก็คือเงินกู้ หุ้นกู้ต่างๆ โดยต้องลบอัตราภาษี เนื่องจากบริษัทสามารถลดภาษีจากดอกเบี้ยจ่ายได้
T = อัตราการเสียภาษีของกิจการ
We = สัดส่วนของผู้ถือหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้น / (ส่วนของผู้ถือหุ้น+หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
Ke = ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (Cost of Equity) คำนวณจากสูตร CAPM ที่เราเคยคุยกันไว้
เรามาลองดูตัวอย่างการหา WACC ของ EA กัน
1. เริ่มจากหา Wd และ We ซึ่งก็คือโครงสร้างเงินทุนของกิจการ ว่าใช้ส่วนหนี้และส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ในการทำธุรกิจ โดยเราสามารถหาโครงสร้างเงินทุนอย่างง่าย ได้จากหนี้สินต่อทุนหรือ D/E Ratio เช่น EA มี D/E Ratio = 1.44 , ดังนั้น
Wd = 1.44 / (1.44 + 1) = 0.59 = 59%
We = 1 / (1.44 + 1) = 0.41 = 41%
หมายความว่า EA ทำธุรกิจโดยใช้เงินกู้ 59%, และใช้เงินจากผู้ถือหุ้น 41%
โดยนักลงทุนสามารถหาโครงสร้างเงินทุนจากวิธีอื่นๆ ได้ เช่น คำนวณจากงบการเงิน ดูบทวิเคราะห์ ฟังรายงานผู้บริหารจาก Opp Day และนักลงทุนควรพิจารณาปรับค่า Wd We ให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินทุนของกิจการในอนาคต เช่นหากผู้บริหารให้สัมภาษณ์ว่าจะออกหุ้นกู้เพิ่มหรือจะเพิ่มทุนในอนาคต
Bond Yield: http://www.thaibma.or.th/EN/Market/YieldCurve/Government.aspx
ในส่วนของเบต้า นั้นเราสามารถหาได้จาก set.or.th หรือการคำนวณที่เราได้เคยเขียนบทความไว้ โดยข้อมูลล่าสุด YTD EA มีค่าเบต้า 1.21
ค่า Risk premium ของตลาดหุ้นไทย สามารถคำนวณจากผลตอบแทนที่เราได้เคยเขียนบทความไว้เช่นกัน หรือสามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เช่นของ Professor Dr. Aswath Damodaran ศาสตราจารย์ด้านการเงินที่ Stern School of Business ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่เขียนหนังสือประเมินมูลค่าหุ้นโด่งดังหลายเล่ม โดยเล่มที่เรารู้จักกันดีคือ The Little Book of Valuation ซึ่ง Risk premium ของตลาดหุ้นไทย อาจารย์ได้คำนวณไว้ปัจจุบันที่ 5.82% http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/New_Home_Page/datacurrent.html#discrate
(web site ของ Professor Dr. Aswath Damodaran นี้มีข้อมูลการลงทุนที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐ โอกาสต่อไป เราจะมาคุยกันในเรื่องนี้)
หนังสือการประเมินมูลค่าหุ้น : The Little Book of Valuation: Aswath Damodaran
และนี่คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า “หุ้นมักจะตก” เมื่อธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากเรื่องของ earning yield gap ที่แคบลง ไม่คุ้มความเสี่ยงลงทุนในหุ้นเมื่อเทียบกับพันธบัตรแล้ว ยังทำให้มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทและราคาหุ้นลดลงอีกด้วย
3
Sensitivity analysis Risk-free and Beta
ในฐานะของนักลงทุน VI เมื่อเราสามารถหามูลค่าหุ้นได้ด้วยตัวเองแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องคำนวณราคาหุ้นทุกตัวที่สนใจ และเช่นกันก็ไม่ควรมีความมั่นใจในตัวเองเกินไปว่าเราสามารถประเมินมูลค่าหุ้นได้ถูกต้อง 100% แต่ความรู้นี้นอกจากจะสามารถประเมินราคาหุ้นได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังช่วยทำให้เราสามารถอ่านบทวิเคราะห์ด้วยความเข้าใจและมี VI sense ที่มากขึ้น สามารถนำราคาหุ้นที่คำนวณได้ไปวิเคราะห์ต่อ และเพิ่มโอกาสในการเจอกิจการที่มีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาหุ้นที่ควรจะเป็น