24 ก.ค. 2021 เวลา 04:42 • ประวัติศาสตร์
ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ชวนขบคิด กรณีสวรรคต:
(ตอนที่ ๒)
วิเคราะห์วิทยานิพนธ์
โดย FB Chaiyan Chaiyaporn
ต่อเนื่องจากกรณีสวรรคตที่พวกเรา ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ได้เสนอผ่านพื้นที่เฟซบุ๊กของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพรไป
พวกเราพบว่ายังมีเรื่องราวเกี่ยวกับกรณีสวรรคตในอีกประเด็นหนึ่งที่ควรถูกหยิบยกมาพิจารณาการใช้หลักฐานด้วยเช่นกัน
โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้กล่าวถึง “ผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง” ในกรณีสวรรคต ไว้ในบทความชื่อ “ข้อมูลใหม่กรณีสวรรคต หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ระบุชัด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร ฟ้าเดียวกัน ที่ 7 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552 หน้า 61-73 โดยพวกเราจะสรุปเรื่องราวที่สมศักดิ์เสนอและตั้งข้อสังเกตให้ทุกท่านร่วมกันพิจารณาต่อไป
1. ข้อความของสมศักดิ์
ในงานชิ้นนี้สมศักดิ์พยายามระบุว่า “ผู้ต้องสงสัย” ที่แท้จริงในกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 นั้นคือใคร
โดยสมศักดิ์อ้างอิงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ของ Daniel Fineman ที่ชื่อว่า The United States and Military Government in Thailand, 1947-1958 เพื่อยืนยันข้อเสนอของสมศักดิ์เองว่า
“ตั้งแต่ไม่นานหลังการสวรรคตของในหลวงอานันทมหิดล และก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 หลวงธำรง-และแทบไม่ต้องสงสัยว่าตัวปรีดีเอง-มีข้อสรุปอยู่แล้วว่าใครคือผู้ต้องสงสัยแท้จริง...” โดยสมศักดิ์ยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของ Fineman ว่า “เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ […] ปัจจุบันหนังสือของไฟน์แมนได้รับการยอมรับเป็นงานอ้างอิงมาตรฐานในหัวข้อที่เขาศึกษา”
ต่อมาวิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้ปรับปรุงตีพิมพ์เป็นหนังสือในภายหลัง ในปี ค.ศ.1997/พ.ศ. 2540 ในชื่อว่า A special relationship: the United States and Military Government in Thailand, 1947-1958
ในหน้าที่ 63 ของบทความในฟ้าเดียวกัน สมศักดิ์ได้กล่าวว่า ในวิทยานิพนธ์และหนังสือของ Fineman มีข้อความที่แตกต่างกันอย่างมาก คือในตัววิทยานิพนธ์ระบุไว้อย่างหนึ่ง แต่เมื่อตีพิมพ์เป็นหนังสือขายกลับระบุอีกอย่างหนึ่ง สมศักดิ์ได้ยกเนื้อหาในวิทยานิพนธ์ของ Fineman (แต่สมศักดิ์มิได้ระบุหน้าเอาไว้) มาแปล อันมีความว่า
“ราวกับว่าภาระเหล่านี้ยังไม่หนักหนาสาหัสพอ, การสวรรคตอย่างลึกลับในเดือนมิถุนายน 2489 ของในหลวงอานันทมหิดลเพิ่มปัญหาหนักขึ้นอีกให้ปรีดีผู้โชคไม่ดีต้องแบกรับ. แม้ว่า สภาพแวดล้อมของการสวรรคต, จากการถูกปืนยิงที่พระเศียรในพระราชวัง, ไม่เคยได้รับการสรุปอย่างแน่นอนลงไป, ตั้งแต่ต้น เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงของปรีดี, น้อยคนเชื่อแถลงการณ์ของรัฐบาลที่ว่าในหลวงทรงยิ่งพระองค์เองโดยอุบัติเหตุ และความระแวงสงสัยยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อคณะกรรมการที่ปรีดีตั้งขึ้นตัดอุบัติเหตุออกจากสาเหตุของการสวรรคต. คำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุด (plausible) ของกรณีนี้คือ [แถบดำ – เซนเซอร์โดยสมศักดิ์] ฆ่าอานันท์ [แถบดำ] แล้วรัฐบาลปรีดีปกปิดหลักฐานไว้เพื่อ [แถบดำ]¹⁵, ข้อกล่าวหาเดิม ๆ ที่ว่าปรีดีมีความคิดเอียงไปทางสาธารณรัฐนิยม,เพราะเขาเป็นผู้นำการยึดอำนาจ 2475, ทำให้ปรีดีถูกกล่าวหาว่าฆ่าในหลวงเพื่อล้มล้างสถาบันกษัตริย์, ควงกับพวกนิยมเจ้าโทษปรีดีเกือบจะทันทีที่เกิดเรื่องขึ้น พวกเขาปล่อยข่าวลือว่าปรีดีอยู่เบื้องหลังโศกนาฏกรรมนี้, หนังสือพิมพ์ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ชื่อ ประชาธิปไตย วิจารณ์การจัดการสืบสวนของปรีดี…”
ข้อความต้นฉบับของ Fineman ในวิทยานิพนธ์กล่าวเอาไว้ว่า
“As if these burdens were not enough, the mysterious death in June 1946 of King Ananda Mahidol added another weight for the unlucky Pridi to carry. Although the circumstances of the death, the result of a gunshot to the head suffered in the palace, have never been determined with certainty, from the beginning, the incident detracted from Pridi's reputation. Few believed the government's initial claim that the king had accidentally shot himself, and suspicions grew when a commission Pridi appointed ruled out accident as a cause of death. The most plausible explanation of events is that [แถบดำ] killed Ananda [แถบดำ] and that Pridi's government withheld evidence to [แถบดำ]¹⁵, but the old assertion that Pridi held republican sympathies, because of his leadership in the 1932 coup, led to the allegation that he killed the king to eliminate the monarchy. Khuang and the royalists blamed Pridi almost immediately. They spread rumors that Pridi was behind the tragedy, and the pro-Democrat newspaper, Prachathipatai ("Democracy"), criticized Pridi's handling of the investigation and the....”
ข้อความในวิทยานิพนธ์ดังที่กล่าวในส่วนที่มีการพาดพิงว่า มีผู้ฆ่าในหลวงอานันท์ (คำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุด (plausible) ของกรณีนี้คือ [แถบดำ] ฆ่าอานันท์ แล้วรัฐบาลปรีดีปกปิดหลักฐานไว้เพื่อ [แถบดำ] ) มีการอ้างเชิงอรรถที่ 15 ซึ่งในเชิงอรรถที่ 15 ของ Fineman นี้มีทั้งข้อความขยายการอธิบายเนื้อหาและมีการอ้างเอกสารซึ่งเป็นบันทึกช่วยจำของ Edwin Stanton เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยในช่วง ค.ศ. 1946-1953 ที่ได้พูดคุยกับหลวงธำรงฯ โดยสมศักดิ์ได้ดึงเชิงอรรถที่ 15 นี้มาแปล อันมีความว่า
“ธำรงนาวาสวัสดิ์, นายกรัฐมตรีหลังปรีดีลาออกจากผลกระเทือนของคดีสวรรคต, บอกเอกอัครราชทูตอเมริกันอย่างเป็นความลับว่า หลักฐานที่รวบรวมได้จาการสืบสวน มัดตัว (implicated) [แถบดำ], แต่ว่า, ด้วยเหตุผลที่รู้ๆกันอยู่, รัฐบาล [ของเขา] ไม่สามารถเปิดเผยความจริงนี้ออกมาได้ (USNA, Memorandum of conversation by Stanton, March 31, 1948, 892.00/3-3148, RG 59). คำอธิบายเช่นนี้สอดคล้องกับพฤติกรรมในภายหลังของปรีดี. จนกระทั่งถึงแก่กรรม, ปรีดีปฎิเสธที่จะถกกรณีสวรรคต, แม้ว่าเขาจะบอกคนใกล้ชิดว่าเขารู้ว่าใครคือผู้รับผิดชอบต่อการสวรรคต (สัมภาษณ์ผู้ไม่เปิดเผยชื่อ โดยผู้เขียนวิทยานิพนธ์, กรุงเทพ). The Devil’s Discus [กงจักรปีศาจ] (London: Cassell, 1964) ของนักหนังสือพิมพ์ เรย์น ครูเกอร์ เป็นงานชิ้นเดียวที่ศึกษากรณีสวรรคตอย่างเป็นระบบ, ก็สรุปว่า [แถบดำ] ฆ่าอานันท์เช่นกัน.”
(ข้อความทั้งในวงเล็บและ [ ] เป็นไปตามต้นฉบับการแปลของสมศักดิ์)
โดยข้อความต้นฉบับในเชิงอรรถที่ 15 คือ
Thamrong Nawasawat, prime minister after Pridi resigned in the wake of the king's death, confidentially told the U.S. ambassador that the evidence accumulated in the investigation implicated [แถบดำ] but that, for obvious reasons, the government could not come out with the truth (USNA, Memorandum of conversation by Stanton, March 31, 1948, 892.00/3-3148, RG 59). Such an explanation is consistent with Pridi's later behavior. Until he died, Pridi refused to discuss the case, though he told associates he knew who responsible [Confidential interview, Bangkok]. Journalist Rayne Kruger's Devil's Discus (London: Cassell, 1964), the only systematic study of the death, also concludes that [แถบดำ] killed Ananda.
สมศักดิ์ได้ค้นไปถึงต้นฉบับของบันทึกช่วยจำของ Stanton นี้ และทำการแปลอันมีความบางส่วนว่า
“ในการถกปัญหาการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ, ธำรงกล่าวว่า เขาไม่รู้ว่าเหตุการณ์อันน่าเศร้านี่นจะมีวันถูกทำให้กระจ่างหรือไม่ เขากล่าวว่า ขอพูดอย่างเป็นการลับมาก (quite confidentially) ว่า หลักฐานที่รวบรวมได้ในระหว่างเขาเป็นนายกรัฐมนตรี โน้มเอียงไปในทางมัดตัว (implicate) [แถบดำ], แต่เขาไม่มีวันที่จะกล้าแม้แต่จะเพียงแสดงออกอย่างเป็นนัยๆ (hint) โดยท่าที่ใดๆ ของรัฐบาล [ของเขา] ว่าความจริงคือเช่นนั้น. ธำรงยืนยันว่า ปรีดีเองก็ตกอยู่ในสภาพลำบาก (predicament) แบบเดียวกันนี้ ผมถามธำรงว่า เขาคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากจะมีการเปิดเผยว่า อันที่จริง [แถบดำ] เกี่ยวข้อง (involved) ในการสวรรคต. ธำรงกล่าวว่า เขาสันนิษฐานว่า [แถบดำ] แล้วหลังจากนั้น ก็คงมีช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายสับสน”
โดยข้อความต้นฉบับมีความว่า
“In discussing the question of the late King's death, Thamrong said he did not know whether this tragic incident would ever be cleared up. He said speaking quite confidentially the evidence which was accumulated while he was Prime Minister tended to implicate [แถบดำ] but that he would never have dared to hint by any official action that such was the case. He assorted that Nai Pridi had found himself in a similar predicament and scoffed at the idea that Pridi might be implicated in any way. I asked him what he thought the consequences might be if it should be revealed that [แถบดำ] is in fact involved. He said he presumed that [แถบดำ] and thought that this development would be followed by a period of confusion and wild intrigue. He said Prince Chumphot was [แถบดำ], but because Chumphot and his wife were unpopular it was doubtful whether he would ever actually [แถบดำ]. He added that [แถบดำ] to Prince Chumphot was Prince Phanuphen, who he said was equally unpopular. He said that this question of personalities complicated the situation and was most unfortunate inasmuch as he felt siam could not dispense with the monarchy, which represented a stabilizing influence.”
ส่วนในหนังสือ A special relationship: the United States and Military Government in Thailand, 1947-1958 ของ Fineman ที่ได้รับการปรับปรุงตีพิมพ์เป็นหนังสือนั้น ในหน้าที่ 20 ซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อหาเดียวกันนี้ ไม่ปรากฏข้อความพาดพิงที่ว่า “คำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุด (plausible) ของกรณีนี้คือ [แถบดำ] ฆ่าอานันท์ แล้วรัฐบาลปรีดีปกปิดหลักฐานไว้เพื่อ [แถบดำ]” ซึ่งสมศักดิ์ได้สังเกตเห็นและได้ยกเนื้อหาในหนังสือส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาแปลอันมีความว่า
“การสวรรคตอย่างลึกลับในเดือนมิถุนายน 2489 ของในหลวงอานันทมหิดลเพิ่มปัญหาหนักขึ้นอีกให้ปรีดีผู้โชคไม่ดีต้องแบกรับ. แม้ว่าสภาพแวดล้อมของการสวรรคต, จากการถูกปืนยิงที่พระเศียรในพระราชวัง, ไม่เคยได้รับการสรุปอย่างแน่นอนลงไป, ตั้งแต่ต้นเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงของปรีดี, น้อยคนเชื่อแถลงการณ์ของรัฐบาลที่ว่าในหลวงทรงยิงพระองค์เองโดยอุบัติเหตุ, และความระแวงสงสัยยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อคณะกรรมการที่ปรีดีตั้งขึ้นตัดอุบัติเหตุออกจากสาเหตุของการสวรรคต. ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือใดๆ ที่จะเชื่อมโยงปรีดีเข้ากับการสวรรคต, แต่ข้อกล่าวหาเดิม ๆ ที่ว่าปรีดีมีความคิดเอียงไปทางสาธารณรัฐนิยม, เพราะเขาเป็นผู้นำการยึดอำนาจ 2475, ทำให้ปรีดีตกอยู่ในฐานะถูกโจมตีได้ง่ายในเรื่องนี้ ควงกับพวกนิยมเจ้าโทษปรีดีเกือบจะทันทีที่เกิดเรื่องขึ้น พวกเขาปล่อยข่าวลือว่าปรีดีอยู่เบื้องหลังโศกนาฏกรรมนี้, หนังสือพิมพ์ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ชื่อ ประชาธิปไตย วิจารณ์การจัดการสืบสวนของปรีดีและกล่าวหาว่ารัฐบาลปรีดีปล่อยปละละเลยเรื่องการพิทักษ์สถาบันกษัตริย์¹⁵ เสนีย์และคึกฤทธิ์ ปราโมชไปที่สถานทูตอเมริกันหลังการสวรรคตเพียงไม่กี่ชั่วโมงเพื่อไปกล่าวหาว่าปรีดีเกี่ยวข้องกับการสวรรคต.¹⁶”
โดยข้อความต้นฉบับในหนังสือดังกล่าวหน้าที่ 20 ระบุว่า
“The mysterious death in June 1946 of King Ananda Mahidol added another weight for the unlucky Pridi to carry. Although the circumstances of the death, the result of a gunshot to the head suffered in the palace, have never been determined with certainty, from the beginning, the incident detracted from Pridi's reputation. Few believed the government's initial claim that the king had accidentally shot himself, and suspicions grew when a commission Pridi appointed ruled out accident as a cause of death. No credible evidence linking Pridi to the king's death exists, but the old assertion that Pridi held republican sympathies, because of his leadership in the 1932 coup, made him vulnerable on the issue. Khuang and the royalists blamed Pridi almost immediately. They spread rumors that Pridi was behind the tragedy, and the pro-Democrat newspaper, Prachathipalai (Democracy), criticized Pridi's handling of the investigation and the government's negligence in protecting the monarchy. ¹⁵ Seni and Kukrit Pramoj went to the U.S. embassy within hours of the incident to accuse Pridi of involvement. ¹⁶”
โดยในเนื้อหานี้ได้เปลี่ยนเชิงอรรถที่ 15 จากที่มีการอธิบายเพิ่มเติมและอ้างอิงบันทึกจาก Stanton ในวิทยานิพนธ์เป็นการอ้างงานของ Suchin Tantikun เรื่อง Rathaprahan P.S. 2490 แทน
ต่อมาสมศักดิ์จะวิพากษ์วิทยานิพนธ์ของ Fineman ในเชิงอรรถที่ 15 ว่า Fineman สรุปงานกงจักรปีศาจผิด เพราะ “ครูเกอร์เสนอว่าในหลวงอานันท์ปลงพระชนม์เอง” มิใช่สรุปว่ามีผู้ใดฆ่าในหลวงอานันท์ และสมศักดิ์กล่าวว่า “มีผู้เสนอว่าหากอ่านแบบ “ระหว่างบรรทัด” ข้อสรุปของครูเกอร์เป็นแบบเดียวกับที่ไฟน์แมนกล่าวถึง”
ตรงนี้พวกเราเข้าใจว่าสมศักดิ์หมายถึงมีคนฆ่าในหลวงอานันท์ เพราะไม่อย่างนั้นงานชิ้นนี้จะไม่มีประโยชน์ และสมศักดิ์ได้สรุปความสำคัญของบันทึกของ Stanton ว่า “หลวงธำรงไม่เพียงแต่บอกสแตนตันว่าผลการสืบสวนหาหลักฐานกรณีสวรรคตในสมัยเขาเป็นนายกฯ ได้ข้อสรุปอย่างไร เขายังยืนยันว่า “ปรีดีเองก็ตกอยู่ในสภาพลำบากแบบเดียวกัน” กับเขา (คือมีข้อสรุปแต่ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้)” หมายความว่ามีการรู้ว่าใครคือ “ผู้ต้องสงสัย” แต่ไม่สามารถทำอะไรได้นั่นเอง
2. ข้อสังเกต
งานชิ้นนี้สมศักดิ์ได้นำงานของ Fineman ในขณะที่เป็นวิทยานิพนธ์และหนังสือมาเปรียบเทียบกันว่ามีความแตกต่างกัน โดยในหนังสือหน้าที่ 20 ซึ่งมีเนื้อหาที่แตกต่างจากวิทยานิพนธ์ และในเชิงอรรถที่ 15 หน้าเดียวกันได้ตัดข้อความที่พวกเรากล่าวถึงข้างต้นออกไป และสมศักดิ์ได้กลับไปดูต้นฉบับเอกสารของ Stanton ว่าพูดว่าอย่างไรไว้ อย่างไรก็ตาม สมศักดิ์ดูจะใส่ใจกับวิทยานิพนธ์เป็นพิเศษทั้งที่หนังสือที่ออกมาได้ตัดเชิงอรรถนี้ออกไป และสมศักดิ์ไม่ได้กล่าวเลยว่าทำไมถึงตัดออกทั้ง ๆ ที่สมศักดิ์ยกมาเอง
สาเหตุของการตัดออกเมื่อตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นไปเพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งหากดูเพียงในบันทึกทั้งหมดที่สมศักดิ์ได้ยกมาสามารถแยกออกเป็นประเด็นย่อย ๆ ได้ดังนี้
1. Fineman สรุปกงจักรปีศาจไม่ถูกต้อง คือ กงจักรปีศาจเสนอว่าในหลวงอานันท์ปลงพระชนม์เอง แต่เขากล่าวว่ามีผู้ลงมือฆ่าในหลวงอานันท์
2. สมศักด์เองยืนยันว่าหลวงธำรงเป็นนอมินีของปรีดีในบทความหน้า 70 ดังนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะมีการอธิบายโดยมีอคติปนอยู่ด้วย และ Fineman ก็อาจจะเห็นตรงกันในส่วนนี้
3. ในข้อความของ Fineman ในวิทยานิพนธ์ระบุว่า “The most plausible explanation of events is that [แถบดำ] killed Ananda.” ซึ่งคำว่า plausible นั้นมีความหมายว่า “เป็นไปได้” “พอจะเป็นไปได้” หรือ “รับฟังได้” เท่านั้น อย่างไรก็ตามสมศักดิ์กลับเลือกที่จะแปลว่า “สมเหตุสมผล” แทน ซึ่งกลายเป็นว่าสมศักดิ์กลายเป็น “ผู้ชี้นำ” เสียเองว่าใครคือคนร้ายที่แท้จริง
4. ข้อความในหนังสือซึ่งได้รับการปรับปรุงตีพิมพ์ภายหลังในเนื้อหาเดียวกันคือในเชิงอรรถที่ 15 นั้นได้ตัดส่วนที่กล่าวว่า “The most plausible explanation of events is that [แถบดำ] killed Ananda.” ออกไปด้วย นั่นทำให้เชิงอรรถที่ 15 แต่เดิมที่มีข้อความทั้งการอธิบายเพิ่มเติมจากบันทึกของทูต Stanton ต้องถูกตัดออกไปด้วยเช่นกัน และน่าเสียดายที่พวกเรายังไม่สามารถเข้าถึงเอกสารจากหอจดหมายเหตุสหรัฐฯ ที่สมศักดิ์ไปค้นมาได้ในตอนนี้จึงยังไม่สามารถกล่าวถึงเอกสารนั้นได้มากนัก
ดังนั้นเมื่อประมวลแล้ว Fineman จึงมีการปรับข้อมูลให้ถูกต้องในฉบับที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือ ซึ่งสมศักดิ์เองก็กล่าวว่า “ปัจจุบันหนังสือของไฟน์แมนได้รับการยอมรับเป็นงานอ้างอิงมาตรฐานในหัวข้อที่เขาศึกษา”
ข้อมูลที่อาจมีข้อไม่น่าเชื่อถือจึงถูกตัดออกไป
แม้ว่างานวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและอ่อนไหว สามารถเขียนให้ตีความได้เพราะอาจกลัวถูกฟ้องหรือมีการลงโทษทางสังคม ซึ่งในกรณีนี้ก็เป็นไปได้ แต่หนังสือเล่มนี้วางจำหน่ายในต่างประเทศซึ่งเขาไม่จำเป็นต้องกลัวเช่นนั้น
และ Fineman เองก็เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับสูงเขาจึงน่าจะยึดถือจรรยาบรรณทางวิชาการที่ยึดมั่นในความถูกต้องของข้อมูล
ดังนั้นในกรณีสวรรคตที่ข้อมูลต่าง ๆ ยังคลุมเครือที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นคนร้ายที่แท้จริง เขาจึงเลือกตัดข้อมูลที่ไม่ชัดเจนออกไป และในฉบับที่ตีพิมพ์เป็นหนังสือเองก็ไม่ได้ระบุเนื้อหาที่สามารถตีความได้ว่าใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริงเลย
แม้แต่ในวิทยานิพนธ์ของเขาเอง ข้อความที่ระบุว่าใครฆ่าในหลวงอานันท์นั้นก็เป็นเพียงแค่ “เป็นไปได้” (plausible) เท่านั้น
ดังนั้นเมื่อตีพิมพ์ออกเป็นหนังสือวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือให้มากที่สุด ก็ควรจะต้องสนใจในหนังสือที่ได้รับการปรับปรุงมากกว่ามิใช่หรือ มิอย่างนั้นเขาจะได้รับการ “ยอมรับเป็นงานอ้างอิงมาตรฐานในหัวข้อที่เขาศึกษา” ได้อย่างไร?
อย่างไรก็ดีพวกเราเห็นว่าในกรณีสวรรคตนั้นมีมิติในทางการเมืองสูงมาก เพราะในคดีนี้มีการจำกัดกรอบของ “ผู้ร้าย” ให้เหลือเพียงสองฝ่ายแคบ ๆ โดยละเลยความเป็นไปได้ที่ผู้ร้ายที่ว่านั้นจะมาจากปีกทางการเมืองอื่นและโยนความผิดให้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองบางอย่าง
และบางทีการโยนบาปให้นั้นอาจทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันจนคดีนี้ไม่สามารถนำไปสู่ความกระจ่างได้ และข่าวลือต่าง ๆ เช่น ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ 3 ครั้งที่ถูกปฏิเสธนั้นก็เป็นข่าวที่ถูกปล่อยออกมาจากฝ่ายหนึ่ง
วิธีการพิจารณาคดี วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ในยุคปัจจุบัน อาจจะต้องนำมาใช้เพื่อมองคดีนี้อีกครั้งเพื่อหาความกระจ่างให้ได้มากที่สุด
เพราะสุดท้ายแล้วความจริงสักวันจะต้องถูกเปิดเผยออกมาในที่สุด
สวัสดี
โฆษณา