24 ก.ค. 2021 เวลา 07:00 • ท่องเที่ยว
อาสาฬหบูชา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ : แต่ละคนล้วนต่างมีวิธีข้ามแม่น้ำแห่งความจริงตามธรรมชาติและสัจจะของตนเอง วิถีของใครก็ของผู้นั้น ปะฏิมังเสตะมัตตะนา จงพิจารณาตนด้วยตนเอง
 
เมื่อคราวปี 2016 เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เดินทางไปยังเมืองสารนาถ รัฐอุตตรประเทศ (Sarnath, Uttar pradesh) ทางตอนเหนือของอินเดีย สารนาถในสมัยพุทธกาลนั้นคือ "ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน" ( Isipatana Mrigadava) ความตั้งใจของการเดินทางไปเมืองนีคือ การไป "ธรรมเมกขสถูป" ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ในภาพนี้เป็นกลุ่มพุทธสถานโบราณในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายในบริเวณธรรมเมกขสถูป
ความสำคัญของอาสาฬหบูชาเป็นประตูแห่งความรู้ที่ "พระธรรม" เปิดขึ้น คือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แสดงและพิจารณาความจริง "หลักอริยสัจ 4 ประการ" ของความทุกข์และการดับทุกข์ทั้งปวง
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร:
[1]
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ชาติปิ ทุกขา: แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา: แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
ยาธิปิ ทุกขา: แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง: แม้ความตายก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข:
ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง:
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ:
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว”
ภิกษุทั้งหลายก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง
[2]
อิทัง โข ปะนะ ภิขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ยายัง ตัณหา: ความทะยานอยากนี้ได้
โปโนพภะวิกา: ทำให้มีภพอีก
นันทิราคะสะหะคะตา: เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอนาจความเพลิดเพลิน
ตัตระ ตัดราภินันทินี: เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ
เสยยะถีทัง: ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
กามะตัณหา: ความทะยานอยากในอารณ์ที่ใคร่
ภาวะตัณหา: ความทะยานอยากในความมีความเป็น
วิภะวะตัณหา: ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง
[3]
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ:
ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด
จาโค: ความสละตัณหานั้น
ปะฏินิสสัคโค: ความวางตัณหานั้น
มุตติ :การปล่อยตัณหานั้น
อะนาละโย: ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว: ภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง
[4]
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค:
ทางมีองค์แปดเครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง
เสยยะถีทัง: ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
สัมมาทิฎฐิ: ปัญญาอันชอบ
สัมมาสังกัปโป: ความดำริชอบ
สัมมาวาจา: วาจาชอบ
สัมมากัมมันโต: การงานชอบ
สัมมาอาชีโว: ความเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม: ความเพียรชอบ
สัมมาสะติ : ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ : ความตั้งจิตชอบ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บทสวดทำนองอินเดีย
#กลุ่มพุทธสถานสารนาถ #ธรรมเมกขสถูป #สารนาถ #सारनाथ #Sarnath #IsipatanaMrigadava #อิสิปตนมฤคทายวัน #Buddha #พุทธังสรณังคัจฉามิ #อาสาฬหบูชา #ĀsāḷhaPūjā #อุตตรประเทศ #UttarPradesh #DhamekStupa #धामेकस्तूप #อินเดียไปเรื่อยๆ #IndiaChalo #Klinland #India #incredibleindia
Official Page : INDIA Chalo - อินเดียไปเรื่อยๆ
โฆษณา