25 ก.ค. 2021 เวลา 06:28 • กีฬา
“ญี่ปุ่นนี่มัน ญี่ปุ๊น-ญี่ปุ่น”
เป็นคำที่ผุดขึ้นมาในหัวตลอดการรับชมพิธีการเปิด Olympic Tokyo 2021
มาดูรายละเอียดการออกแบบต่างๆในงานโอลิมปิกที่โตเกียวกัน!
12
ถึงแม้ว่าปีนี้จะมีการลดสเกลงานลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้คนทุกคนในสังคม การก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นในฐานะการเป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลก
ในฐานะคนดู เราสามารถสัมผัสได้ถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกออกแบบมาอย่างใส่ใจ รู้สึกได้ถึงความอบอุ่นที่พยายามส่งไปถึงทุกคนที่กำลังเผชิญสถานการณ์เดียวกัน
4
และนี่ไม่ได้เริ่มที่พิธีเปิด การออกแบบเริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนเตรียมงานแล้ว
วันนี้เราจะรวบรวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตั้งแต่เตรียมงานมาให้ดู บอกเลยว่าต้องอุทานคำว่า “ญี่ปุ่นนี่มัน ญี่ปุ๊น-ญี่ปุ่น” ไปอีก 10 ครั้ง🥰
Logo ออกแบบโดยคุณ Asao Tokolo
2
ลายตารางหมากรุกได้รับความนิยมในประเทศต่างๆ ทั่วโลกตลอดประวัติศาสตร์
6
ในประเทศญี่ปุ่น ลายตารางหมากรุกเป็นที่รู้จักในชื่อ “ichimatsu moyo” ในสมัยเอโดะ (1603-1867) และการออกแบบลายตารางในสีน้ำเงินครามแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นแสดงถึงความสง่างามและความซับซ้อนที่เป็นไอคอนของญี่ปุ่น
7
1. Olympic Mascot: Mirai Towa
4
MIRAITOWA มีบุคลิกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสุภาษิตญี่ปุ่น "เรียนรู้จากอดีตและพัฒนาความคิดใหม่"
ชื่อ MIRAITOWA มาจากคำภาษาญี่ปุ่น "mirai" หมายถึง "อนาคต" และ "towa" หมายถึง "นิรันดร์" ซึ่งแสดงถึงความปรารถนาให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 นำไปสู่อนาคต
แห่งความหวังนิรันดร์ในใจของทุกคน รอบโลก
3
2. Paralympic Mascot: Someity
ชื่อ SOMEITY มาจาก "Someiyoshino" ซึ่งเป็นดอกซากุระยอดนิยม และคำว่า "so Mighty" SOMEITY สามารถแสดงความแข็งแกร่งทางร่างกายและจิตใจอย่างมาก ซึ่งเป็นตัวแทนของนักกีฬาพาราลิมปิกที่เอาชนะอุปสรรคและกำหนดขอบเขตของความเป็นไปได้ใหม่ๆ
3
ที่จุดคบเพลิง ออกแบบโดยคุณ Tokujin Yoshioka
11
อลูมิเนียมสำหรับคบเพลิงของมาจากของเสียจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว ซึ่งใช้ภายหลังแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นในปี 2011
2
หัวคบเพลิงสีโรสโกลด์ขนาด 71 ซม. ค่อยๆ เปิดออกเป็นห้าส่วนเพื่อให้คล้ายกับกลีบของดอกซากุระ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น
ขึ้นรูปจากแผ่นอะลูมิเนียมแผ่นเดียวด้วยเทคโนโลยีเดียวกับการผลิตรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น ซึ่งทำให้คบเพลิงแข็งแรงและน้ำหนักเบา เหมือนสร้างชิ้นงานประติมากรรมที่ไม่มีแม้รอยต่อ
Olympic Pictogram
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จึงทำให้เป็นมหกรรมกีฬาที่รวมผู้คนจากทั่วโลก หลากหลายภาษา หลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถอ่านหรือพูดภาษาเดียวกันได้ทั้งหมด
2
Pictogram หรือ รูปสัญลักษณ์ จึงกลายมาเป็นสิ่งที่สื่อสารข้อความหรือกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้คนเข้าใจกีฬาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจุดเริ่มต้นของการใช้ Pictogram ก็เริ่มขึ้นในโอลิมปิกปี 1964 ที่กรุงโตเกียวนี่แหละ!! และในโอลิมปิกครั้งต่อๆ ไปก็ถูกใช้มาอย่างต่อเนื่อง
2
Olympic Pictograms ในโอลิมปิกครั้งต่างๆ ถูกออกแบบโดยเจ้าภาพ ซึ่งก็มีการเพิ่มตามจำนวนกีฬาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงแสดงให้เห็นถึงเทรนด์การออกแบบของโลกด้วย บางปีก็มินิมอลมากๆ บางปีก็มีสีสัน
5
แต่ความพิเศษของปีนี้ คือโชว์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยการแสดงเป็น Pictogram ในงานพิธีเปิดนั่นเอง
สรุปนักกีฬาที่ปลูกงง ยูตัดต้นไม้ไอทำไม 🤣😂
14
ป.ล.ที่ญี่ปุ่น เวลาเขาตัดไม้ไปสร้างบ้าน หรือใช้งาน
เขาจะมีการปลูกทดแทนนะคะ เพื่อไม่ให้ใช้แล้วหมดไป เป็นค่านิยมที่ถูกปลูกฝัง แนวคิดแบบคนญี่ปุ่นค่ะ
7
ชุดวิ่งคบเพลิง ออกแบบโดย คุณ Daisuke Obana
4
ในคอนเสป Hope lights our way ทำมาจากขวดพลาสติกรีไซเคิล
2
ลิสต์เพลงที่นำมาใช้ในการเดินพาเหรด
Dragon Quest "Overture: Roto's Theme"
Final Fantasy "Victory Fanfare"
Tales of series "Sorey's Theme - The Shepherd"
Monster Hunter "Proof of a Hero"
Kingdom Hearts "Olympus Coliseum"
Chrono Trigger "Frog's Theme"
Ace Combat "First Flight"
Tales of series "Pomp and Majesty"
Monster Hunter "Wind of Departure"
Chrono Trigger "Robo's Theme"
Sonic the Hedgehog "Star Light Zone"
Pro Evolution Soccer "eFootball Walk-on Theme"
Final Fantasy "Main Theme"
Phantasy Star Universe "Guardians"
Kingdom Hearts "Hero's Fanfare"
Gradius "01 Act I-1"
Nier "Song of the Ancients"
SaGa series "The Minstrel's Refrain: SaGa Series Medley 2016"
SoulCalibur "The Brave New Stage of History"
14
ป้ายชื่อ ของแต่ละประเทศ เรียงตามลำดับอักษรของญี่ปุ่น โดยมี 2 ด้าน คือด้านที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นที่เขียนเป็นคาตาคานะ
2
เป็นการใช้ soft power ด้านมังงะได้สุดจริงๆ ไม่เพียงแค่ป้าย แต่ชุดของสตาฟในงาน ก็มีแพทเทิร์นที่มาจากมังงะเช่นกัน
หมอ และพยาบาลที่ถือคบเพลิง เป็นคนที่เข้าไปช่วยผู้ติดเชื้อในเรือสำราญที่เป็นข่าวดังเมื่อปีก่อน
4
นักเบสบอลที่ตีโฮมรันได้มากที่สุด แม้ตอนนี้จะชรามาก และแขนขาขยับไม่ได้ แต่ก็มาส่งพลังต่อไม้คบเพลิง สู้ชีวิตมาก
1
คบเพลิงจากเด็กๆ ที่มาจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิปี 2011 3 จังหวัด อิวาเตะ มิยางิ ฟุกุชิมะ
Naomi Osaka
นาโอมิ โอซากะ
6
เป็นคนที่แอดมินคิดว่าเหมาะสมกับการได้ถือคบเพลิงที่สุด
เธอเป็นนักสู้คนนึงที่ทรงพลังมาก
3
ชาวญี่ปุ่นเคยไม่ยอมรับเธอ เนื่องจากเธอมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนคนญี่ปุ่น เธอโดนกลั่นแกล้งและว่าร้ายมากมาย
4
แต่ด้วยความสามารถของเธอ ทำให้คนญี่ปุ่นหันมายอมรับเธอได้
การก้าวขึ้นมาโด่งดังของโอซากะ และการพูดแสดงความเห็นทางการเมืองของเธอ ทำให้สังคมญี่ปุ่นถกเถียงกันเรื่องเชื้อชาติและชาติพันธุ์มากขึ้น เธอถือเป็นบุคคลที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางสังคม และทำให้ผู้คนได้คิดทบทวนในประเด็นต่าง ๆ กัน เธอเปรียบเสมือนไอคอนของนักกีฬายุคใหม่ที่แท้จริง
1
โอซากะได้รับรางวัลนักกีฬาหญิงระดับโลกแห่งปี 2021 จากมูลนิธิส่งเสริมการกีฬา Laureus
แท่นคบเพลิงโอลิมปิกนี้ ออกแบบโดย Nendo
2
ภายใต้แนวคิด“All gather under the Sun, all are equal, and all receive energy”
4
แท่นคบเพลิงมีขนาดใหญ่ และหนักถึง 2.7 ตัน เส้นผ่านศูนย์กลางหลังเปิดออกประมาณ 3.5 ม. แผงด้านนอกมีน้ำหนักประมาณ 40 กก. ต่อแผ่น สร้างด้วยแผ่นอะลูมิเนียมหนา 10 มม. ขึ้นรูปด้วยเครื่องกดร้อนพิเศษที่สามารถรับแรงดันได้ 3500 ตัน ซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในญี่ปุ่นเท่านั้นที่ทำได้
การออกแบบแท่นคบเพลิง เป็นทรงกลมแทนดวงอาทิตย์ อยู่บนยอดเข้าฟูจิที่เบ่งบานออกเป็น 5 กลีบ (บน-ล่าง ซีกโลกบนและล่าง) แทนวงแหวน 5 ทวีป
1
ไฮโกรเจน + โซเดียมคาร์บอเนต+หัวเตา ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างไฟสีเหลืองที่พุ่งขึ้นเหมือนแสงฟืน ซึ่งความตั้งใจในการออกแบบเปลวไฟนี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้
4
ในตอนท้ายของพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แท่นคบเพลิงได้ "เบ่งบานออก" ต้อนรับโอซากะ นาโอมิ ผู้ถือคบเพลิงคนสุดท้าย สิ่งนี้ไม่เพียงแต่แสดงออกถึงดวงอาทิตย์เท่านั้น แต่ยังแสดงถึงพลังงานและความมีชีวิตชีวาที่สามารถรับได้จากดวงอาทิตย์ด้วย เช่น การแตกหน่อของต้นไม้ ดอกไม้ที่เบ่งบาน และมือที่กางออกกว้างสู่ท้องฟ้า
1
Olympic village plaza ออกแบบโดย Nikken sekkei บริษัทสถาปัตยกรรมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น
4
อาคารหมู่บ้านนักกีฬา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฮารุมิ ตัวอาคารขนาด 5,300 ตร.ม. ประกอบด้วยร้านกาแฟ ธนาคาร พื้นที่ทางการแพทย์ เลานจ์ ร้านทำผม พื้นที่ค้าปลีก และศูนย์มีเดีย
2
มีการใช้ไม้ cypress, cedar และ larch เป็นวัสดุหลัก ด้วยการเข้าไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม มีการใช้ไม้มากกว่า 40,000 ชิ้น
1
ญี่ปุ่นสร้างความมีส่วนร่วมของทุกคนด้วยการให้เมืองต่างๆ ร่วมกันส่งไม้ของแต่ละเมืองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร พร้อมทั้งประทับตราว่าไม้ชิ้นนี้ๆ มาจากเมืองไหน เรียกว่าเป็นการ “ขอยืม” ไม้มากจากที่ต่างๆ ใช้เสร็จเราจะส่งกลับเมืองของเธอนะจ้ะ
2
เมื่อซูมดูดีเทลไม้แต่ละท่อน เราก็จะเห็นได้ถึงความต่างของไม้แต่ละแห่ง พร้อมสถานที่ๆ ไม้เดินทางมา แต่ช่างดูกลมกลืนเหลือเกิน
1
เตียงนักกีฬา ออกแบบโดย บริษัทเครื่องนอนของญี่ปุ่น Airweave
3
นักกีฬาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 จะนอนบนเตียงที่ทำจากกระดาษแข็งรีไซเคิลและที่นอนที่สามารถปรับแต่งได้
1
Airweave ได้สร้างเตียงและที่นอนจำนวน 18,000 เตียงสำหรับนักกีฬาในโอลิมปิกฤดูร้อนนี้ โดย 8,000 เตียงจะถูกนำมาใช้ใหม่สำหรับนักกีฬาใน
พาราลิมปิก
โครงเตียงทำมาจากกระดาษแข็งรีไซเคิล ในขณะที่ที่นอนโมดูลาร์ทำมาจากเส้นใยโพลีเอทิลีนที่แบรนด์กล่าวว่าสามารถรีไซเคิลได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
เตียงได้รับการออกแบบให้มีน้ำหนักเบามากและประกอบง่าย เพื่อให้การย้ายเตียงระหว่างสถานที่ต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5
แบรนด์ยังพัฒนาแอพเพื่อช่วยให้นักกีฬาค้นหาที่นอนที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของพวกเขา ผู้ใช้สามารถส่งรูปถ่ายและใส่ขนาดร่างกายลงในแอพเพื่อรับการกำหนดค่าที่นอนที่แนะนำอีกด้วย
คำขวัญของเกมมาจากแนวคิดที่ ผู้ชม อาสาสมัคร นักกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติกว่า 200 แห่ง และทีมผู้ลี้ภัยโอลิมปิกที่โตเกียวในฤดูร้อนนี้ ตลอดจนผู้คนนับพันล้านที่ดูทีวีและออนไลน์ทั่วโลกจะมารวมตัวกันและรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
1
เหรียญรางวัลออกแบบโดยคุณ Junichi Kawanishi
กล่องใส่เหรียญออกแบบโดย คุณ Shinya Yoshida
3
เหรียญรางวัลทั้งหมด 5,000 เหรียญผลิตจากสมาร์ทโฟนรีไซเคิลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ประชาชนบริจาคระหว่างเดือนเมษายน 2017 ถึงมีนาคม 2019
3
หน่วยงานเทศบาลรวบรวมโทรศัพท์มือถือใช้แล้วและอุปกรณ์อื่นๆ กว่า 78,985 ตัน นับเป็น 6.21 ล้านเครื่องที่ศูนย์รวบรวม
รวมแล้วได้ทองคำ 32 กิโลกรัม เงิน 3,500 กิโลกรัม และทองแดง 2,200 กิโลกรัม
2
ตามธรรมเนียมแล้ว ด้านหน้าเหรียญจะเป็น Nike – เทพธิดาแห่งชัยชนะของกรีก – ยืนอยู่หน้าสนามกีฬาพานาธิไนกอส
3
ด้านหลังมีการออกแบบที่ตัดเฉือนไปตามเส้นรอบวงของเหรียญ ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลางที่มีลักษณะเหมือนก้อนกรวดที่ยกขึ้น สลักสัญลักษณ์ "ichimatsu moyo" แบบตาหมากรุกของโตเกียว 2020 และสัญลักษณ์วงแหวนห้าวงโอลิมปิก
1
แต่ละเหรียญมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 85 มม. (มม.) ส่วนที่บางที่สุด 7.7 มม. และหนาที่สุด 12.1 มม.
1
ช่อดอกไม้ถูกจัดอย่างสมดุล เพื่อให้สวยจากทุกมุมที่มอง ตัวช่อมีขนาดศูนย์กลาง 17 ซม. ความสูง 28 ซม. ห่อหุ้มด้วยเจลดอกไม้ เพื่อให้สดสวยอยู่ได้นานแม้เก็บในพื้นที่ที่ไม่ใช่ห้องแอร์
3
ดอกไม้ในช่อล้วนแต่มีความหมาย เป็นดอกไม้ที่มาจากพื้นที่ประสบภัย จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในเขตโทโฮคุ 2011 เหตุการณ์นั้นมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 19,000 คน
ดอกไม้ที่อยู่ในช่อนี้ ได้แก่
- ดอก Eustomas และ Solomon’s seals จากจังหวัดฟุกุชิมะ สถานที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้น จึงฟื้นฟูการเกษตรที่ถูกทำลาย ด้วยการเริ่มปลูกดอกไม้ส่งออก
3
- ดอกทานตะวันจาก จังหวัดมิยางิ ที่ปลูกโดยผู้ปกครองที่สูญเสียลูกไปจากเหตุแผ่นดินไหว ไว้เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย หากเกิดเหตุการณ์สึนามิในอนาคต ให้เด็กๆ มองหาเนินดอกทานตะวันนี้ ไว้หลบภัย
9
- Gentians จากจังหวัดอิวาเตะ โดยสีครามของดอก เป็นสีเดียวกับโลโก้ของโอลิมปิกปีนี้
- ประดับด้วยใบ Aspidistra จากโตเกียว
โพเดียม ออกแบบโดยคุณ Asao Tokolo
ผู้ชนะในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 จะได้รับรางวัลบนโพเดียมที่ออกแบบโดยศิลปินชาวญี่ปุ่น Asao Tokolo ซึ่งทำจากพลาสติกในครัวเรือนที่ทิ้งแล้ว 24.5 ตัน
5
ตลอดระยะเวลา 9 เดือน ประชาชนชาวญี่ปุ่นบริจาคน้ำยาซักผ้าจำนวน 400,000 ขวดผ่านกล่องสะสมมากกว่า 2,000 กล่องที่ติดตั้งในห้างสรรพสินค้าและโรงเรียนทั่วประเทศญี่ปุ่น
2
รีไซเคิลและเปลี่ยนเป็นเส้นใยที่ใช้พิมพ์ 3 มิติทั้งหมด 98 แท่นที่จะใช้ในระหว่างการแข่งขัน
“แท่นโพเดียมถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้โลกเห็นถึงแนวทางต่างๆ ในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน และทำให้ประชากรญี่ปุ่นทั้งหมดมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตโพเดียมในเกมประวัติศาสตร์ครั้งแรก” ผู้จัดงานอธิบาย
4
แท่นแต่ละแท่นสร้างจากโมดูลรูปทรงลูกบาศก์ขนาดเล็กจำนวนหนึ่งซึ่งเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างแท่นสามแท่นแบบดั้งเดิม
#Artof #ArtofTH #Olympic2020 #OlympicTokyo2020 #Olympic #Tokyo
3
โฆษณา