กีฬาที่มีแฟนๆติดตามทั่วโลกอย่าง National Basketball Association (NBA) ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ชม 10 ล้านคนติดตามการแข่งขัน ก็ต้องปรับตัวเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงนี้เหมือนกัน และก็เป็นครั้งแรกของ NBA ที่มีการแต่งตั้งประธานฝ่ายนวัตกรรม (Chief Innovation Officer) ซึ่งผู้ที่มาดำรงตำแหน่งนี้คนแรกก็คือ Amy Brooks
วันนี้จะขอถอดบทสัมภาษณ์ของเอมี่ในรายการพอดแคสต์ Inside the Strategy Room ของ McKinsey ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการปรับตัวของ NBA และนวัตกรรมที่ถูกทดลองในช่วงโควิดที่ผ่านมากัน
ทำไม NBA ถึงต้องให้ความมุ่งมั่นในการทำ innovation?
(เรื่องนี้เองก็เป็นสิ่งที่นายอินโนเเอบสงสัย)
เอมี่ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าสำหรับเธอ มันคือการทำอะไรที่ท้าทายความเชื่อเดิมๆ อย่างเช่นการที่ลีกย้ายมาจัดที่ Disney World แทนที่จะจัดในสนามของตัวเองแบบปราศจากแฟน และยังใช้การควบคุมดูแลแบบเข้มข้น (Bubble & seal) ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดของทีมงานและทีมต่างๆว่าทำอย่างไรที่จะให้แฟนๆ ยังได้ดูบาสเกตบอลในช่วงที่มีการระบาดมาก
ในระหว่างที่เตรียมการอยู่นั้น NBA ก็หาทางที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับแฟนๆเอาไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือสารคดี “The Last Dance” ที่ร่วมผลิตกับ ESPN
ซึ่งการจัดเตรียมการแข่งขันที่ Disney World ก็เข้าข่ายนั้น เธอไม่ได้นำแนวคิดแล้วกระโจนลงไปลุยทันที ทีมงานของเธอทำการประมวลความน่าจะเป็นต่างๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในที่สุดทำให้ทีมงานของเธอผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้มาได้
การย้ายไปแข่งที่ Disney World คงไม่ใช่แค่นวัตกรรมอย่างเดียวของ NBA ใช่ไหม??
คุณเอมี่ได้ให้มุมมองไว้ว่าจริงๆแล้วเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของแฟนบาสในการรับชมการแข่งขันมาสักพักแล้ว แฟนๆส่วนใหญ่อยากเลือกชมในช่องทางที่สะดวกและก็เฉพาะเจาะจง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ NBA พยายามพัฒนามาตลอด ในช่วงที่ทำการแข่งแบบบับเบิ้ล NBA ก็ทำงานร่วมกับทาง Microsoft ในการดึงผู้ชมเข้าสนามแบบ virtual
ผู้ชมจากทั่วทุกมุมโลกที่เข้ามาชมเกมส์ NBA ปีที่แล้ว
ข้อดีอย่างหนึ่งในการจัดแข่งในบับเบิ้ลคือทีมงานนวัตกรรมของ NBA สามารถที่จะทดลองไอเดียใหม่ๆ โดยโฟกัสเรื่องประสบการณ์รับชมทางบ้านให้ได้อารมณ์เหมือนนั่งในสนามทั้งการติดทั้งกล้องในมุมที่เหมือนคนดูนั่งติดขอบสนาม การทดลองมุมกล้องใหม่ๆ หรือการติดตั้งไมโครโฟนหลากหลายระบบ เพื่อให้ได้ยินเสียงที่มีมิติเหมือนนั่งในสนาม
ซึ่งบางอย่างก็ให้ผลการทดลองที่น่าสนใจ และ NBA ได้เตรียมจะนำไปใช้จริงในฤดูกาลแข่งขันต่อๆไปอีกด้วย
ทางทีมแมวมองของ NBA จะร่วมมือกับ Homecourt ในการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่ขำเป็น ที่ใช้ในการคัดเลือกนักบาสเกตบอลอาชีพในช่วงเวลาปกติ จัดทำเป็น NBS global scout ซึ่งทำให้ทีมแมวมองได้เจอกับนักกีฬาดาวรุ่งในพื้นที่ใหม่อย่างเช่น Derrick Michael Xzavierro จากอินโดนีเซียที่กลายเป็นคนอินโดนีเซียคนแรกที่ได้เข้าสู่โรงเรียนของ NBA
นักกีฬาดาวรุ่งจากอินโ
สิ่งที่นายอินโนรู้สึกได้ถึงพลังของเอมี่ ที่สามารถสร้างนวัตกรรมให้สำเร็จและเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการ NBA (แม้จะเป็นช่วงที่หลายๆอย่างไม่เป็นใจ) ก็คือ