Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เพราะโลกไม่ได้กว้างเกินไปกว่าใจ
•
ติดตาม
26 ก.ค. 2021 เวลา 02:09 • ปรัชญา
แสงสุดท้าย และการอยู่อย่างมีความหวังของหนูทดลองที่กำลังจะจมน้ำตาย!!!
อะไร? ยังไง? อ่านโลด!!!
ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไร แต่เชื่อเหลือเกินว่าในทุกวันนี้ทุกคนหายใจเข้า-ออกนั้นมีแต่เรื่อง Covid-19
1
อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งในแต่ละวันอะนะ เพราะมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ติดเชื้อกันวันละหมื่นห้า ตายวันละร้อยกว่า
คำถามพวกนี้จึงวนเวียนอยู่ในหัว
ติดหรือยัง?
เมื่อไหร่จะได้ตรวจโควิด?
ติดแล้วต้องทำอย่างไร?
เมื่อไหร่จะได้เตียง?
ฯลฯ
นับตั้งแต่ Covid-19 ถูกตรวจพบช่วงปลายปี 2019 เชื่อไหมว่าไอ้เจ้าไวรัสบ้าบอนี่ผ่านการกลายพันธุ์มาหลายพันครั้ง!!!
Covid-19
แต่ดูเหมือนว่าการกลายพันธุ์ของเชื้อ Sars-Cov-2 ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มีความกังวลมากที่สุดในปัจจุบันนั้นมีกันอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่
1. อัลฟา (Alpha) ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
2. เบตา (Beta) ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
3. แกมมา (Gamma) ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล
4. เดลตา (Delta) ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย
2
ซึ่งดูจากแนวโน้ม เดลตานั้นเป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในระยะหลังนี้ เพราะพบว่าเป็นภัยคุกคามมากกว่าสายพันธุ์อื่น เนื่องจากเดลตามีอัตราแพร่เชื้อที่สูงกว่าสายพันธุ์อัลฟา ราว 60% แม้ว่าอัลฟามีอัตราแพร่เชื้อสูงกว่าเชื้อโรคโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมอยู่แล้วถึง 50%
สรุปแบบไม่อ้อมค้อมในทุกวันนี้ประเทศของเรามีวัคซีนที่ (พอจะมี) ใช้อย่างจริงจังอยู่แค่ 2 ชนิด นั่นก็คือ (ขออนุญาตไม่นับยี่ห้ออื่นที่มีผู้ได้รับการฉีดน้อยมากนะครับ)
1. ซิโนแวค (Sinovac)
เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine) ซึ่งใช้เชื้อไวรัสโควิดที่อยู่ในเซลล์เพาะเลี้ยง (Vero cell) มาทำให้หมดฤทธิ์หรือตาย จนไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมาได้อีก ก่อนจะฉีดเข้าไปในร่างกายของคนโดยไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งเจ้าซากไวรัสเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเรานั้นเกิดการตอบสนอง และผลิตสารแอนติบอดีขึ้นมา เพื่อเตรียมพร้อมต่อสู้กับการติดเชื้อในอนาคต แต่ก็มีข้อเสียตรงที่การกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ได้นั้นอยู่ในระดับต่ำกว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยีอื่นๆ นั่นเอง
2
2. แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)
เป็นวัคซีนแบบเทคนิคไวรัลแว็กเตอร์ (Viral Vector) ผลิตจากเชื้อไวรัสอะดีโนเป็นพาหะ (Adenoviral vector) พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แล้วฝากสารพันธุกรรมของ Covid-19 เข้าไปซึ่งทำให้ไม่สามารถแบ่งตัว และก่อให้เกิดโรคแก่คนได้ ซึ่งวัคซีนชนิดนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี สามารถป้องกันการติดเชื้อทุกแบบได้
ท่ามกลางคำถามกองโตจากวิกฤติ Covid-19 หลายคนรู้มาตั้งนานแล้วว่า การระดมฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกคนในประเทศให้ครอบคลุมมากที่สุดคือคำตอบ
แต่ก็อย่างที่เห็น (หมดคำพูด)
สาเหตุที่ยังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมนั้น เป็นเพราะวัคซีนนั้นมีจำกัด (ขอไม่พูดถึงเหตุผลละกันนะ)
เมื่อมาทรงนี้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงมีมติเห็นชอบแนวทางการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ ดังนี้ เข็มแรก ซิโนแวค และเข็มสองเป็น แอสตร้าเซนเนก้า โดยเว้นระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และเชื้อกลายพันธุ์เดลตา พร้อมยืนยันว่ามีผลข้างเคียงน้อยมาก จากการศึกษาเบื้องต้นของการฉีดสลับยี่ห้อที่ รพ.จุฬาฯ ไปแล้วมากกว่า 1,200 คน!!!
ส่วนการฉีดสลับยี่ห้อในต่างประเทศนั้น พบในอังกฤษ โดยทีมอ็อกฟอร์ด แต่ขอโทษนะครับ เขาใช้ไฟเซอร์สลับกับแอสตร้าเซนเนก้านะครับ
2
ให้ตายเถอะโรบิ้น!!!
ทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย
ควรฉีดเข็มแรกเป็นซิโนแวคตามที่เขาล็อคสเปกไว้ให้เลยไหม เพราะไหนๆ ก็เลือกไม่ได้อยู่แล้ว?
เข็มแรกจัดซิโนแวคไป เข็มสองเป็นแอสแอสตร้าเซนเนก้านี่ปลอดภัย (จริงๆ) ใช่ไหม?
แล้วถ้ายังไม่มีวี่แววว่าจะได้ฉีดเลยสักเข็มนี่ต้องรอไปถึงเมื่อไหร่?
ฯลฯ
เมื่อต้องลอยคออยู่ท่ามกลางทะเลแห่งความวิตกกังวล และหวาดกลัวที่มองไม่เห็นฝั่ง ในความสิ้นหวังนี้คุณคิดถึงอะไร?
ในปี 1950 Curt Richter ศาสตราจารย์จาก Johns Hopkins ได้ทำการทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับหนูที่กำลังจะจมน้ำ ซึ่งแม้ว่าการทดลองนี้จะโหดร้ายเป็นอย่างมาก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความหวัง และความยืดหยุ่นในการเอาชนะ เมื่อชีวิตตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก
1
Curt Richter
โดยในการทดลองนี้นั้น Curt มุ่งเน้นไปที่ระยะเวลาที่หนูจะตายจากการจมน้ำ เขาได้ทำการทดลองโดยการปล่อยหนูลงในถังที่เต็มไปด้วยน้ำ และดูว่าพวกมันจะรอดชีวิตไปได้นานแค่ไหน!!!
The Hope Experiment
หนูบ้าน 12 ตัวถูกนำมาใช้ในการทดลองชุดแรกของ Curt หนูตัวแรกว่ายไปรอบๆ ผิวน้ำ จากนั้นจึงดำลงไปที่ก้นถัง และสำรวจว่ามีอะไรอยู่ที่นั่นบ้าง ซึ่งใช้เวลาตรงนั้นพอสมควร ก่อนที่มันจะโผล่ขึ้นมา แล้วจมน้ำตายในเวลาแค่สองนาที
หนูอีกสองตัวทำในสิ่งเดียวกัน และจมน้ำตายในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
ส่วนหนูอีกเก้าตัวทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง หลังจากการสำรวจครั้งแรก พวกมันก็โผล่ขึ้นมา และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพยายามว่ายน้ำ ซึ่งก็รอดชีวิตได้เป็นวันเหมือนกัน ก่อนที่จะยอมจำนนต่อความอ่อนล้า และจมน้ำตายในที่สุด
การทดลองชุดที่สองนั้น Curt ได้ใช้หนูป่าจำนวน 34 ตัว หนูป่าเป็นนักว่ายน้ำที่ยอดเยี่ยม แน่นอนว่าเขาคาดหวังให้พวกมันต่อสู้อย่างหนักเพื่อความอยู่รอด แต่ปรากฏว่าได้ผลเหมือนกัน คือหนูจมน้ำตายในเวลาไม่กี่นาทีเช่นกัน
สรุปก็คือ การที่หนูจะเอาตัวรอดได้นานหรือไม่นั้นไม่เกี่ยวกับทักษะการเอาตัวรอด
แล้วอะไรล่ะที่ทำให้พวกมันเอาตัวรอดอยู่ได้นานที่สุด?
ด้วยเหตุนี้ Curt จึงตัดสินใจทดลองเพิ่มเติม
ในการทดลองชุดสุดท้ายนั้น สมมติฐานของ Curt ก็คือการแนะนำความหวังให้กับหนู เพื่อเพิ่มเวลาในการอยู่รอดของพวกมัน
เพื่อทดสอบสมมติฐานนี้ Curt ได้เลือกกลุ่มหนูใหม่ที่มีความคล้ายคลึงกันอีกครั้ง เขาได้นำพวกมันเข้าไปในถัง และสังเกต โดยขณะที่พวกมันยอมแพ้ และกำลังจะจมน้ำ เขาก็ได้ช่วยมันขึ้นมา เพื่อให้พักครู่หนึ่ง
จากนั้นก็วางมันกลับเข้าไปในถัง และเริ่มทำการทดลองใหม่อีกครั้ง ซึ่ง Curt ค้นพบว่าสมมติฐานของเขานั้นถูกต้อง เมื่อหนูถูกวางกลับลงไปในน้ำ พวกมันจะว่าย และว่าย นานกว่าที่พวกมันเคยถูกวางไว้ในถังครั้งแรก เพราะพวกมันเคยรอดจากการได้รับความช่วยเหลือมาก่อน ดังนั้นคราวนี้จึงว่ายน้ำรออย่างมีความหวัง
สุดท้ายแล้ว Curt ได้เขียนสรุปเอาไว้ว่า “หนูเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าสถานการณ์ไม่ได้สิ้นหวังจริงๆ” และ “หลังจากกำจัดความสิ้นหวังออกไปแล้ว พวกมันจะไม่ตาย”
ในรอบแรกพวกมันหมดหวัง หาทางออกไม่ได้ จึงค่อยๆ หมดความพยายาม หยุดว่าย และปล่อยให้ตัวเองจมน้ำตายไปในที่สุด
ซึ่งหลังจากที่พวกมันได้รับการช่วยเหลือมาครั้งหนึ่ง ก็ได้เรียนรู้ว่า ยังมีหวังที่จะรอดตาย ตราบใดที่ยังสู้ และไม่หมดความพยายามไปซะก่อน ก็อาจจะได้รับการช่วยเหลืออีกครั้งเหมือนอย่างครั้งแรกนั่นเอง
เมื่อต้องลอยคออยู่ท่ามกลางทะเลแห่งความวิตกกังวล และหวาดกลัวที่มองไม่เห็นฝั่ง ในความสิ้นหวังนี้คุณคิดถึงอะไร?
2
“ความหวังที่จะมีชีวิตรอดในสถานการณ์อันเลวร้าย” คือคำตอบของคำถามข้างต้นของผม
2
16:02 น. เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทันทีที่เข็มจากนางพยาบาลถูกเจาะลงไปบนหัวไหล่ข้างซ้าย และฉีดวัคซีนเข้าไป ความหวังในการต่อสู้กับโรคบ้าบอนี่ก็ถูกจุดขึ้นมาในใจของผม
อย่างน้อยมันก็ดีที่สุดสำหรับบ้านเราในตอนนี้อะนะ
อีกราวสามเดือน ก็ได้แต่หวังว่าคงไม่มีสูตรฉีดวัคซีนอะไรมาพลิกโผอีก อย่างน้อยเข็มที่สองของผมก็น่าจะยังคงเป็นแอสตร้าเซนเนก้าล่ะมั้ง
แสงสุดท้าย (นั่งเล่น Version) - BODYSLAM
https://youtu.be/eyA51n7MaEs
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/6053d6cc5d06c9012dd9539d
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณเจ้าของรูปภาพทุกท่าน
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://worldofwork.io/2019/07/drowning-rats-psychology-experiments/
https://www.thansettakij.com/general-news/487573
https://ch9airport.com/ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซ/
https://www.bbc.com/thai/thailand-57525497
1 บันทึก
41
123
49
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไร้โค้ช
1
41
123
49
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย