Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Zero Covid Thailand
•
ติดตาม
27 ก.ค. 2021 เวลา 16:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
## เมื่อชีวิตคือลมหายใจ จะดีกว่าไหม..ถ้าต่อชีวิตได้โดยไม่เจ็บตัว? ##
อย่างที่ทราบกันค่ะว่า “โควิด-19” ทำให้เกิดสภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักมาก ปอดก็จะหยุดทำงานและต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อต่อนาทีของชีวิต
และถ้าหากถุงลมปอดของผู้ป่วยเสียหายหนักมาก (ผู้ป่วยหลายๆ รายเป็นพังผืดในปอดอย่างถาวร) สิ่งที่ร้ายแรงที่สุดต่อมาก็คือ การเสียชีวิต เนื่องจากปอดไม่สามารถรับออกซิเจนต่อไปได้อีก
หากเลือกได้ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้ขึ้นกับตัวเอง หรือคุณที่คุณรักหรอกใช่ไหมคะ แต่สิ่งที่ขึ้นชื่อว่า “โรคระบาด” นั้น เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ จริงไหมคะ? ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในตอนนี้ คือ การเตรียมพร้อมเพื่อป้องกัน และรับมือกับมันได้อย่างเต็มที่
สำหรับสัตว์ชั้นสูง “การหายใจ” แสดงให้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สัตว์บางชนิดได้พัฒนากลไกการช่วยหายใจทางเลือกอย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ปลาหมู (loach) ปลาดุก ปลิงทะเล และแมงมุมทอลูกโลก และปรับตัวโดยใช้การดูดซับออกซิเจนผ่าน “ลำไส้ส่วนท้าย” เพื่อรักษาชีวิตให้รอดในสถานการณ์ที่ออกซิเจนมีจำกัดได้ น่าเหลือเชื่อมากเลยนะคะ
นี่จึงเป็นแรงบันดาลใจ ให้ทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรมแห่งโตเกียว (Tokyo Medical and Dental University: TMDU) นำมาคิดค้น วิธีส่งออกซิเจนผ่านเยื่อบุลำไส้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า "การหายใจด้วยลำไส้” (EVA: Enteral ventilation via anus) หรือ “การระบายอากาศจากภายใน” เมื่อเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวและขาดออกซิเจนค่ะ
โย โอกาเบะ อธิบายว่า "ลำไส้ตรงมีหลอดเลือดเล็กๆ จำนวนมากอยู่ใต้ผนังเยื่อบุเซลล์” นั่นหมายความว่า ยาที่ฉีดผ่านทางทวารหนักจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำได้อย่างง่ายดาย”
แนวคิดนี้ทำให้ทีมวิจัยเกิดข้อสงสัยค่ะว่า “งั้นก็ต้องส่งออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้ด้วยสิ” จึงมีการจำลองสถานการณ์ภาวะการหายใจล้มเหลวขึ้นมาในน้องหนูบ้าน น้องหมู และน้องหนูท่อ และออกแบบการทดลองส่งออกซิเจนเข้าไปในลำใส้ตรงไว้ 2 วิธี คือ ส่งในรูปแบบแก๊ส และ ส่งในรูปแบบของเหลว
4
โดยวิธีที่นักวิจัยใช้คือ พวกเขาจะเตรียมเยื่อบุของลำไส้ตรงด้วยการขัดถู เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออกซิเจน อย่างไรก็ตาม วิธีการเตรียมแบบนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับของการวิจัยในมนุษย์ นักวิจัยจึงลองใช้วิธี O2-PFD (oxygenated perfluorodecalin (PFD): โดยการให้สาร PED ซึ่งเป็นของเหลวที่ปลอดภัยกับร่างกายแทน การทดลองนี้มีการทดสอบใช้ในทางคลินิกแล้ว และพบว่าสามารถขนออกซิเจนเข้า และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกได้ในปริมาณสูงเลยทีเดียวค่ะ
ทีมวิจัยชี้ให้เห็นและยืนยันว่า แบบจำลองในการส่งออกซิเจนทั้งในรูปแบบแก๊สและของเหลวนี้ มีประสิทธิผลและความปลอดภัย เพราะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนได้ โดยสัตว์ทดลองมีอาการปกติ สามารถรอดชีวิตและมีอายุอยู่ได้นานขึ้นอีกด้วยค่ะ
ส่วนการให้สาร PFD นั้นพบว่า ถูกดูดซึมเข้าร่างกายน้อยมาก ทำให้ไม่ทำอันตรายใดใดต่อสัตว์ทดลองและแบคทีเรียในลำไส้ ยิ่งไปกว่านั้นวิธีการให้ออกซิเจนเหลวกับสัตว์ทดลอง ทำให้น้องๆ หายจากภาวะการขาดออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว ดีขนาดที่ช่วยฟื้นฟูให้อาการกลับมาปกติจากที่ผิวซีดๆในช่วงขณะขาดใจ กลับมามีน้ำมีนวลได้ในไม่กี่นาที
ในขณะนี้มีการรายงานว่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรมแห่งโตเกียวประสบความสำเร็จในการส่งออกซิเจนผ่านผนังลำไส้ เพื่อชดเชยปริมาณออกซิเจนในร่างกายที่ลดลงจากสภาวะการหายใจล้มเหลวแล้วนะคะ
ทากาโนริ ทาเกะเบะ หนึ่งในทีมวิจัยแสดงความเห็นว่า ผู้ป่วยที่หายใจลำบากสามารถรับออกซิเจนได้ด้วยวิธีนี้ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของการขาดออกซิเจนในขณะที่กำลังรับการรักษาได้
หากในอนาคตมีการศึกษาทางคลินิกต่อไป อาจสามารถนำงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงต่อไปเพื่อเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยและทรมานน้อยกว่าการช่วยหายใจทั่วไป เพราะต้องใช้อุปกรณ์และวิธีที่ซับซ้อน อันได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ และปอดเทียม
ในปัจจุบันที่มีการระบาดหนักของโควิด-19 ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญในการรักษาทางเลือกที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยมากขึ้น ไม่แน่นะคะในยุคที่ “เครื่องช่วยหายใจ” มีไม่เพียงพอสำหรับทุกคนแบบนี้ เราอาจได้ยินข่าวการรักษาสภาวะการหายใจล้มเหลว ด้วยนวัตกรรม “EVA” อย่างเต็มรูปแบบก็เป็นได้ค่ะ
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
╚═══════════╝
เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น ติดตามเราได้ที่
Twitter :
twitter.com/zerocovidthai
Website :
www.zerocovidthai.org/
Facebook :
www.facebook.com/zerocovidthailand
Blockdit :
www.blockdit.com/zerocovidthai
อ้างอิง
Ventilating the rectum to support respiration
https://www.tmd.ac.jp/english/press-release/20210515-1/
Mammals can breathe through their intestines
https://www.sciencemag.org/news/2021/05/mammals-can-breathe-through-their-intestines
Acute respiratory failure in COVID-19: is it “typical” ARDS?
https://ccforum.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13054-020-02911-9
จูบ - พิทยา บุณยรัตพันธุ์
https://www.youtube.com/watch?v=5nqfBtw8Xek
Ventilator vs ECMO Texas Children’s Hospital
https://www.youtube.com/watch?v=MwotQDLAUw4
มาทำความรู้จักเครื่องมือช่วยชีวิตผู้ป่วยหนักในห้อง ICU
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2019/technology-icu
วงศ์ปลาหมูแท้
https://th.wikipedia.org/wiki/วงศ์ปลาหมูแท้
Acute Respiratory Failure (ภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน)
https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Respiratory%20Failure.pdf
rectum “ลำไส้ตรง”: ส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนัก ทำหน้าที่รวบรวมกาก อาหารพร้อมที่จะถูกขับถ่ายออกเป็นอุจจาระ ลำไส้ตรงของคนมีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร
https://dekgenius.com/dictionary/biology/rectum-1159.htm
6 บันทึก
24
2
16
6
24
2
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย