29 ก.ค. 2021 เวลา 01:01 • อาหาร
แผนการกินอาหาร 1 เดือนเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน (EP.4)
เพราะนิสัยการกินที่ดี สร้างได้ง่าย ๆ ภายในเดือนเดียว !
แผนการกินอาหาร 1 เดือนเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน (EP.4)
เคล็ดลับการสร้างสุขภาพดี เริ่มต้นที่ "การกิน" แบบทำตามง่ายได้ผลจริงจากหนังสือ What to Eat When แบ่งออกเป็น 4 Episode
EP1. กินเวลาไหนได้ประโยชน์สูงสุด
EP2. กินอะไรให้ได้สุขภาพที่ดีขึ้น
EP3. กินแบบไหนถึงจะควบคุมการกินได้ดีที่สุด
★ EP4. แผนการกิน 1 เดือนแบบไม่ต้องพยายามเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน
คุณสามารถสร้างนิสัยการกินที่ดีขึ้นได้ ลองทำตาม Guideline ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วทั่วโลกว่าช่วยเปลี่ยนนิสัยการกินที่ดีขึ้นได้ใน 1 เดือน
สัปดาห์ที่ 1-2
1. ในช่วง 2-3 วันแรก ให้ลองจดว่าคุณกินอะไรไปบ้างในแต่ละมือ นั่นหมายถึงปริมาณ Calories ที่คุณรับเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นให้แบ่งสัดส่วนดู เช่น มื้อเช้า 10% มื้อกลางวัน 30% และมื้อเย็น 60% (สำคัญมาก)
2. เป้าหมายที่สำคัญคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินมื้อเช้าได้รับ Calories มากที่สุด โดยลดปริมาณในมื้อเย็นลง เพราะคนส่วนใหญ่มักจัดหนักช่วงเย็น กินแต่ของที่ชอบและไม่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงมักจะกินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้เสียสมดุลของร่างกายอย่างมาก
3. เทคนิคที่ได้ผลดี คือ "แบ่งอาหารที่คุณชอบในมื้อเย็น ไว้กินมื้อเช้า" (จูงใจให้คุณอยากกินมื้อเช้ามากขึ้นด้วย) แล้วค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนมื้อเช้าขึ้น จาก 10% เป็น 25-50% เป็นต้น
2
4. ค่อย ๆ ปรับเวลากินข้าวเย็นให้เร็วขึ้น และควรกินก่อนค่ำ เพื่อให้สัมพันธ์กับนาฬิกาของร่างกาย ถ้าทำไม่ได้จริง ๆ ก็อย่าให้ดึกเกินไป
1
สัปดาห์ที่ 3
5. เริ่มใส่ใจสิ่งที่กินเข้าไปให้มากขึ้นอีกนิด โดยใช้คำถามเหล่านี้ช่วย
- คุณกินอาหารสำเร็จรูปบ่อยแค่ไหน?
- ในระหว่างวันคุณกินขนมบ่อยแค่ไหน?
- คุณได้กินผักหรือถั่วบ้างหรือเปล่า?
ข้อสำคัญ คือ "ให้ซื่อสัตย์กับตัวเอง" เพราะต่อให้คุณกินขนมเยอะเกินไป ก็แค่ลดปริมาณลงแค่นั้นเอง
หลังจากนี้ ร่างกายคุณจะเริ่มปรับตัวได้ และคุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น อย่าเพิ่งยอมแพ้ !
สัปดาห์ที่ 4
6. เปลี่ยนอาหารที่คุณกินจาก Bad choice ให้เป็น Good choice แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น
- ลองเปลี่ยน "ขนมปังขาว + นมข้นหวาน" เป็น "โฮลวีต + นมข้นหวาน"
- ลองเปลี่ยน "เบคอน" เป็น "เบคอน 50% เนื้อหมูไม่ติดมัน 50%
- ลองเปลี่ยน "หวานปกติ" เป็น "หวานน้อย"
เมื่อร่างกายเคยชิน จากคนที่เคยติดหวาน จะกลายเป็น หวานน้อยลง และมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้
ค่อย ๆ ปรับนะครับ ให้คิดไว้เสมอว่า "การมีสุขภาพที่ดี คือโชคดียิ่งกว่ามีเงินทอง" เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
Reference : หนังสือ What to Eat When โดย Michael Roizen, Michael Crupain และ Ted Spiker
กดติดตามเรื่องราวการพัฒนาตัวเองได้ในทุกวัน (วันละ 0.5%)
อ่านแล้วกดถูกใจ แชร์ความรู้ต่อไปให้ในแบบของคุณนะครับ
โฆษณา