28 ก.ค. 2021 เวลา 15:26 • คริปโทเคอร์เรนซี
บล็อกเชนกับระบบ governance และทำไม Kusama ต้องการ on-chain governance
ครั้งหนึ่ง ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เคยกล่าวไว้ว่า
“สปีชีส์ที่อยู่รอดไม่ใช่สปีชีส์ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด
แต่เป็นสปีชีส์ที่ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด”
1
สิ่งต่างๆในโลกนี้ล้วนต้องปรับตัวหรือไม่เช่นกันก็ตายจากไป บล็อกเชนก็ไม่อาจหลุดพ้นจากกฎข้อนี้ ในยุคที่มีบล็อกเชนใหม่ๆผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ท่ามกลางเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเกินกว่าจะจินตนาการถึง ปัจจัยเหล่านี้ผลักดันให้เกิดการแข่งขันอันดุเดือด ความสามารถในการปรับตัวจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการอยู่รอดในเกมๆนี้ คำถามต่อมาคือ แล้วใครจะเป็นคนกำหนดทิศทางของการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลง บล็อกเชนเป็นระบบ decentralized ที่ไม่ต้องพึ่งพา trust
ดังนั้นคนที่กำหนดทิศทาง ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นคนส่วนใหญ่ในระบบเครือข่าย ระบบที่ดีจะต้องทำให้คนรู้สึกถึงความมีส่วนร่วมหรือทำให้รู้สึกว่าเสียงของพวกเขามีค่าและได้ถูกรับฟัง ถ้าเสียงเหล่านี้ถูกเพิกเฉย พวกเขาก็จะออกจากระบบไปในที่สุด
ดังนั้นคำว่า governance ในบริบทของบล็อกเชน จึงคือ “กลไกในการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆภายในระบบเครือข่าย” ซึ่งถ้าเป็น governance ของบล็อกเชนสาธารณะก็จะต้องเพิ่มประโยคที่ว่า
”ให้เป็นไปตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ในระบบเครือข่าย” เข้าไปด้วย
บล็อกเชนกับระบบgovernance เป็นของที่มักจะมาคู่กันตั้งแต่ไหนแต่ไร ระบบgovernance ที่พบเจอได้ จึงมีความหลากหลายตั้งแต่บล็อกเชนที่ไม่มีแม้กระทั่งระบบgovernance จนถึงบล็อกเชนที่มีระบบgovernace ที่ซับซ้อนอย่าง Kusama
ถ้าเรามองระบบgovernance ในภาพรวมทั้งหมด และแบ่งโดยใช้เกณฑ์ว่า ระบบgovernanceนั้นเชื่อมต่อกับตัวบล็อกเชนหรือไม่ ก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท 1.เชื่อมต่อ 2.ไม่เชื่อมต่อ
ระบบgovernance ที่เชื่อมต่อกับบล็อกเชนก็จะถูกเรียกว่า on-chain และระบบgovernance ที่ไม่ได้เชื่อมต่อก็จะถูกเรียกว่า off-chain
บล็อกเชนในยุคสมัยแรกอย่างBitcoin และ Ethereum ต่างก็มีระบบgovernance เป็นแบบ off-chain ก่อนที่ on-chain governance จะได้ถือกำเนิดขึ้น
1
โดย Kusama นั้นมีระบบ governance แบบ on-chain สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่าอะไรดีกว่ากัน แต่เป็นเพียงการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละโมเดล แต่ละโมเดลล้วนมี trade-off ในตัวของมัน
ยุคแรกๆ บล็อกเชนเกือบทั้งหมดเป็นแบบ off-chain อย่างเช่น Ethereum
ซอร์ฟแวร์ของEthereum มีชื่อว่า Ethereum clients คือซอร์ฟแวร์ที่ใช้เพื่อรันเป็น node ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำธุรกรรม ซึ่งตัว clients ก็มีหลากหลายอันให้เลือกใช้ และถูกพัฒนาจากต่างทีม
รูปแสดงสัดส่วน client  ในเครือข่ายEthereum
โมเดล off-chain ถ้ามองให้มุมของการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในระบบเครือข่าย หรือก็คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงซอร์ฟแวร์clients อำนาจในการทำสิ่งๆนี้ยังคงกระจุกอยู่ในมือกลุ่มคนบางกลุ่ม ผู้ใช้ส่วนใหญ่หรือคนที่ถือโทเคน(stakeholder)
1
ซึ่งไม่ได้รัน node จะมีบทบาทในการตัดสินใจ น้อยกว่าเหล่าdeveloper และ miner อีกปัญหานึงของโมเดล off-chain คือเรื่องการอัพเดรตซอร์ฟแวร์ ที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานคนให้อัพเดรตการเปลี่ยนแปลงใหม่ลงไปในซอร์ฟแวร์ จากนั้นก็รอให้เหล่า validator หรือในเคสของ Ethereum คือเหล่า miner ทำการโหลดมาใช้งาน ซึ่งต้องใช้เวลากว่าที่ minerส่วนใหญ่จะทำการอัพเกรต และอาจเกิดกรณีที่ miner บางคนลืมอัพเกรตซอร์ฟแวร์
รูปแสดงเวอร์ชั่นของ Geth client ซึ่งเวอร์ชั่น1.10.4 ห่างกับเวอร์ชั่น 1.10.6 เป็นเวลา 3 เดือน
ถ้าซอร์ฟแวร์เวอร์ชั่นใหม่มีการเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถใช้งานร่วมกับเวอร์ชั่นเก่าได้ก็จะนำมาซึ่งการเกิด hard forkในที่สุด ปัญหาที่น่าปวดหัวของการเกิดhard fork คือเกิดการแบ่งแยก validator ที่จะมีผลทำให้Security ของเครือข่ายลดลงตามมา สิ่งที่ off-chain governance ให้ได้คือเรื่องของอิสระในการเลือกใช้ซอร์ฟแวร์ในการรัน node ตราบใดที่ซอร์ฟแวร์ที่ใช้ยังสื่อสารกับ node อื่นๆในเครือข่ายได้
on-chain governance นั้นมีความแตกต่าง มีกลไกลให้โหวตการเปลี่ยนแปลงได้โดยตรง ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปที่ถือโทเคนมีสิทธิมีเสียงในการโหวต กลไกลนี้ยังทำให้การโหวตเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้นเพิ่มความโปร่งใส และจึงเพิ่มความมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงของระบบเครือข่ายจะเป็นไปในทิศทางที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ไม่ใช่แค่เหล่า developer หรือ miner อีกสิ่งหนึ่งที่ on-chain governance มีความแตกต่างจาก off-chain คือ เรื่องของการอัพเกรตซอร์ฟแวร์อัตโนมัติ ใน Kusama เรียกว่า enactment
เมื่อการโหวตสิ้นสุดและได้ข้อสรุปแล้ว การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากผลของการโหวต ก็จะเกิดขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ ทำให้แน่ใจว่าทั้งเครือข่ายจะเคลื่อนไปในทางเดียวกัน และหลีกเลี่ยงการเกิด forkโดยไม่จำเป็น(มีชื่อเรียกว่า forkless upgrade)
ฟังดูเหมือนว่าon-chain governance จะดูดีกว่าและได้เข้ามาแก้ปัญหาในหลายๆด้านแต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบนี้ก็มีข้อเสียที่เกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากกลไกในการโหวตนั้นที่มักจะเป็นแบบที่ใช้โทเคนในการลงคะแนนโหวต ทำให้คนที่ถือโทเคนมากมีคะแนนเสียงในการโหวตได้มาก ส่งผลให้เหล่าวาฬมีบทบาทอย่างมากในกลไกลระบบ governanceและกำหนดทิศทางของเครือข่าย
ในตอนหน้าจะมาเจาะลึกกลไกลต่างๆในระบบ governance ที่Kusama ใช้
สนับสนุนค่ากาแฟ ได้ที่ (KSM address)
EdPfpZSanZw4yS2XvxvGsQx6ohp6p8zSxJy3MNAHF4SdfZj
โฆษณา