29 ก.ค. 2021 เวลา 01:36 • การศึกษา
🌿สมุนไพรในปัจจุบันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรคทั้งในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เป็นกระแสนิยมของคนทั่วไปในปัจจุบัน คำว่า “สมุนไพร” เรามักจะนึกถึงพืชหรือต้นไม้จากธรรมชาติเท่านั้น ทำให้เรารู้สึกว่าสมุนไพรมีความปลอดภัยในการใช้ จึงทำให้พบกับปัญหาจากการนำสมุนไพรมาใช้อย่างผิดวิธีและไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดโทษมากกว่าผลดีกับผู้ใช้งาน
🌿#สมุนไพร คือ ผลิตผลธรรมชาติที่ได้จาก #พืช สัตว์ จุลชีพ หรือแร่ธาตุ ที่ใช้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพเป็น #ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
🌿ยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่มีส่วนประกอบสำคัญที่เป็นหรือแปรสภาพจากสมุนไพร ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่มนุษย์เพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพหรือการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น เสริมสร้างโครงสร้างหรือการทำงานของร่างกาย หรือลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
🌿เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณที่สามารถนำมาทำเป็นยาได้ จึงได้เกิดยาแผนปัจจุบันที่ทำมาจากสมุนไพร
📌ตัวอย่างยาแผนปัจจุบันที่มาจากสมุนไพร
💊1. Reserpine มาจากสมุนไพร “#ระย่อม” ที่มีสรรพคุณเป็น ยากล่อมประสาท ลดความดัน
💊2. Vincristine, Vinblastine มาจากสมุนไพร “#แพงพวยฝรั่ง” ที่มีสรรพคุณเป็น ยาเคมีบำบัด รักษามะเร็ง
💊3. Artemisinin มาจากสมุนไพร “#โกศจุฬาลัมพา” (#ชิงเฮา) ที่มีสรรพคุณเป็น ยาแก้ไข้มาลาเรีย, สารต้านมะเร็ง
💊4. Quinine มาจากสมุนไพร “#ซิงโคนา” (ควินิน) ที่มีสรรพคุณเป็น ยาแก้ไข้มาลาเรีย
💊5. Aspirin มาจากสมุนไพร “#เปลือกต้นหลิว” (วิลโลว์) ที่มีสรรพคุณเป็น ยาลดไข้ แก้อักเสบ
💊6. MorphineและCodeine มาจากสมุนไพร “#ฝิ่น” ที่มีสรรพคุณเป็น ยาระงับปวดและแก้ไอ
💊7. Echinacea มาจากสมุนไพร “#เอ็กไคนาเซีย” (Echinacea) ที่มีสรรพคุณเป็น ยาแก้ไข้หวัด, เสริมภูมิคุ้มกัน
💊8. Digoxin มาจากสมุนไพร “#ถุงมือจิ้งจอก” (Foxglove) ที่มีสรรพคุณเป็น ยารักษาโรคหัวใจ
📌หลักการเลือกใช้ยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5 วิธี
👉1. ถูกต้น เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีชื่อพ้องหรือซ้ำกัน ชื่อเฉพาะท้องถิ่น ที่อาจเรียกชื่อแตกต่างกันทั้งที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน หรือบางครั้งชื่อเหมือนกันแต่เป็นพืชคนละชนิด เพราะฉะนั้นจะใช้สมุนไพรอะไรก็ต้องใช้ให้ถูกต้นจริง
👉2. ถูกส่วน ส่วนของพืชสมุนไพรแต่ละส่วนราก ดอก ใบ เปลือก ผล หรือเมล็ด หรือความสุก แก่ อ่อน ดิบของสมุนไพร อาจมีองค์ประกอบทางเคมีหรือสารสำคัญที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ หรือในพืชบางชนิดส่วนต่าง ๆของพืชอาจมีสารสำคัญที่เหมือนกันแต่มีปริมาณแตกต่างกัน จึงทำให้ความแรงหรือประสิทธิภาพในการรักษาแตกต่างกันได้ หรือในพืชบางชนิดบางส่วนใช้เป็นยา บางส่วนมีพิษ
👉3. ถูกขนาด คือ แม้ว่ายาสมุนไพรหลายชนิดจะไม่อันตราย แต่ปริมาณ/ขนาดของการใช้ที่มากเกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้หรือผลการรักษา โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีความทนต่อยาน้อยกว่าผู้ใหญ่ และระยะเวลาการใช้ ที่ไม่ให้ใช้ติดต่อกันนานเกินกว่าคำแนะนำที่กำหนดควรหยุดยาเพื่อให้ร่างกายได้พักและกำจัดยาออกจากร่างกาย
👉4. ถูกวิธี วิธีการใช้ยาหรือการนำสมุนไพรมาปรุงประกอบยาให้ถูกต้องถูกตามหลัก เช่น บางชนิดต้องใช้ต้นสด คั้นน้ำ ต้มเคี่ยว ดองหรือสกัด เป็นต้น และวิธีการใช้งานเช่นการกิน ทา พอกหรือแช่ เป็นต้น
👉5. ถูกโรค การใช้ยาให้ถูกโรคคือการที่ใช้ยาให้ตรงกับสรรพคุณ ยาชนิดไหนใช้รักษาโรคอะไร เช่น หากต้องการบรรเทาอาการท้องผูก ก็ต้องใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยระบาย ถ้าไปใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดจะทำให้ท้องยิ่งผูกมากขึ้น หรือควรศึกษาว่ามสมุนไพรใดแสลงกับโรคไหนหรือเปล่า
👍ทางที่ดีก่อนที่เราจะใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆเราควรศึกษาข้อมูลให้ดี หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานั้นๆเนื่องจาก #ยาสมุนไพร กับ #ยาแผนปัจจุบัน มีบางชนิดอาจไปออกฤทธิ์ขัดกันหรือเสริมฤทธิ์กัน ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา ระหว่างการใช้ยาเราควรสังเกตุอาการที่อาจมีความผิดปกติเพื่อที่จะหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
🙏แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.gj.mahidol.ac.th/main/ttm/herb-right/
โฆษณา