31 ก.ค. 2021 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
#รีวิวหนังสือ หลักสูตรการตลาดแบบจริงใจสไตล์ญี่ปุ่น MAKOTO MARKETING
การตลาดแบบญี่ปุ่น ทั้งๆที่ใช้ 4P´s ทำ Segmentation วาง Positioning เหมือนกัน แต่กลับให้ความรู้สึกต่างกัน นั่นเป็นเพราะว่าการตลาดญี่ปุ่นนั้นมาจากใจ ทั้งจริงใจ และใส่ใจเป็นการตลาดที่ยั่งยืน ทำให้ผู้คนรวมถึงตัวเองมีความสุข
เขียน ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ (เกตุวดี Marumuru)
 
ราคา 325 บาท 296 หน้า
 
1.หลักสูตรการตลาดแบบจริงใจ
20 ข้อ การตลาดแบบจริงใจสไตล์ญี่ปุ่น
1.รู้จักการแก้ปัญหา
2.เป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่นในตนเอง
3.ตอบให้ได้ว่า สิ่งที่ทำมีประโยชน์อะไร
4.แก้ไขปัญหาให้ถึงที่สุด
5.แยก Passion กับ Purpose
6.ไม่อ้างว่า อุตสาหกรรมนี้ตายแล้ว
7.พัฒนาสินค้า "เพื่อลูกค้า" จริงๆ
8.ทำสินค้าที่ลูกค้า 1 คนซื้อ 100 ครั้ง
9.ทำสินค้าที่ทำให้สื่ออยากมาสัมภาษณ์
10.ทำให้ลูกค้าจดจำสินค้าเราได้
11.นำเสนอคุณค่า และถ่ายทอดออกมา
12.เล่าเรื่องราวความเป็นมาให้สินค้า
13.ทำให้พนักงานมีหัวใจการตลาด
14.บริหารทีมแบบวงออร์เคสตร้า
15.แตกสินค้าจากแก่นธุรกิจ
16.เมื่อธุรกิจอิ่มตัว...มองหาลูกค้าใหม่
17.ช่วยกันทำให้อุตสาหกรรมเติบโต
18.เติบโต และทำให้ผู้อื่นเติบโตด้วย
19.หาทางทำให้บริษัทเป็นที่รักของทุกคน
20.แยกสิ่งที่ควรเปลี่ยน กับสิ่งที่ควรรักษา
2.เริ่มจากความเชื่อของตนเอง
กระเป๋า Ichizawa Shinzaburo Hanpu แบรนด์ชื่อดังจาก เกียวโต อายุกว่า 113 ปี
ไม่มีแบบกระเป๋าตายตัวให้ช่าง
ไม่ยอมเปิดแฟรนไชส์
ไม่ยอมขายทางออนไลน์
(จนวันนี้ ก็ยังมีอยู่แค่สาขาเดียว)
 
เป็นเพราะ พวกเขาอยากให้ช่างใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มที่ อยากเห็นหน้าลูกค้า โดยตรงพูดคุยกับลูกค้า ดูแลลูกค้าไปนานๆ
 
"เราตั้งใจจะเป็นแบรนด์ที่ล้าหลังที่สุด" - อิชิซาว่า ชินซะบุโร่ -
 
Ichizawa Shinzaburo Hanpu [一澤信三郎帆布]
 
นอกจากนั้นยัง...
ไม่เปิดตัวคอลเลกชั่นใหม่ตามฤดูกาล
ไม่กำหนดวันเป็ดตัวสินค้ารุ่นใหม่
ไม่จ้างฝ่ายขาย ไม่ค่อยทำการตลาด
ไม่ค่อยกระตุ้นยอดขาย
สิ่งเดียวที่ทำคือ ก้มหน้าก้มตาทำกระเป๋า ที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้า คอยเฝ้ามอง สังเกต รับฟังเสียงลูกค้า และปรับปรุงสินค้า
3.ตอบให้ได้ว่า สิ่งที่ทำมีประโยชน์อะไร
ร้านอาหารแห่งอนาคต Mirai Shokudo
 
ร้านอาหาร มิไร โฉะคุโด โคบายาชิ เซไก สร้างเมนูประจำร้าน ขึ้นมาเพียงแค่.. เมนูเดียวต่อวัน - หนึ่งวัน หนึ่งเมนู -
 
หน้าร้านจะติดเมนูของแต่ละวัน และจะเขียนวัตถุดิบที่เหลือในตู้เย็น บนกระดานเมนู ให้ลูกค้าสั่งเมนู ที่นอกเหนือจากเมนูประจำวันได้
 
ร้านนี้เหมาะสำหรับทุกๆคน ได้พบเมนูโปรดในแบบที่ชอบ ได้พบผู้คนใหม่ๆ ได้หัวเราะได้ดื่มด่ำกับคู่สนทนา ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป
 
mirai Shokudo [未來食堂]
 
คำถามสำคัญที่ต้องตอบไห้ได้ คือ "เราอยากสร้างประโยชน์อะไร ให้กับใคร อย่างไร"
 
เคล็ดลับ ประโยชน์ที่เราสร้างได้ ควรเขียน "ประโยชน์" หรือ "คุณค่า" ที่เป็นผลลัพธ์ ที่จะเกิดขึ้นดีกว่า
4.ไม่อ้างว่า อุตสาหกรรมนี้ตายแล้ว
ร้านหนังสือ IWATA
 
ปี 1999 ร้านหนังสือในญี่ปุ่น มีมากถึง 2.2 หมื่นร้าน แต่ปี 2017 จำนวนร้าน ลดเหลือเพียง 1.2 หมื่นร้าน
 
โทโอรุ อิวาตะ เป็นเจ้าของ ร้านหนังสือเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองซุนากาว่า ฮอกไกโด ได้รับผลกระทบรุนแรง เขาพยายามสุดความสามารถที่จะยื้อร้านแห่งนี้ไว้ เขาถามตัวเองว่า "อะไรคือคุณค่าของงานที่เขาทำอยู่แค่ซื้อหนังสือมา แล้วขายต่อเองหรือ?"
 
IWATA [いわた]
 
"นำเสนอคุณค่าใหม่" คุณค่าเดิมของร้านหนังสือ คือ การส่งมอบหนังสือให้ลูกค้าเป็นตัวกลางระหว่างสำนักพัมพ์ คุณอิวาตะจึงนำเสนอคุณค่าใหม่ คือ บริการเลือกหนังสือให้ในราคา 10,000 เยน ซึ่งมีลูกค้าเข้ามาสมัครบริการรอบละ 6,000 คน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3i95PKM

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา