29 ก.ค. 2021 เวลา 12:43 • หนังสือ
การให้อภัยไม่ใช่การทำดีกับคนอื่น
เรามักจมอยู่กับความรู้สึกผิด ความละอาย ความขุ่นเคือง และความเกลียดชังตัวเอง
เมื่อไหร่เรารู้สึกเจ็บปวดทางร่างกาย เรามักจะพยายามหาวิธีที่จะทำให้ความเจ็บปวดนั้นหายไปให้เร็วที่สุด แต่พอเป็นเรื่องของความเจ็บปวดทางอารมณ์ เรากลับยอมทนและดูว่าตัวเองจะรับมือกับความทุกข์ทรมานได้มาแค่ไหน
ถ้าหากเราไม่ปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านี้ ชีวิตของคุณก็จะเต็มไปด้วยอารมณ์ของความโกรธต่อคนอื่น ต้องทนอยู่กับความทุกข์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เรามักจะคิดถึงช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดซ้ำแล้วซ้ำเล่าแทนที่จะปล่อยมันไป เราไม่ยอมให้ความเจ็บปวดนั้นหายไป ความรู้สึกนั้นทำให้เราโกรธ หดหู่ และบ่อยครั้งอาจจะทำให้เราเจ็บป่วยได้ บางครั้งถึงขั้นฆ่าเราได้เลยทีเดียว
การยึดติดกับมันไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำได้เพียงแต่จะทำให้ความรู้สึกในแง่ลบจากอดีตคงอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ และกักขังคุณไว้เป็นนักโทษแห่งความเจ็บปวดของตัวเอง ถ้าเรากักเก็บความโกรธแค้นไว้ คนที่เสียประโยชน์คนแรกก็คือเรา
ชั่วขณะที่คุณตัดสินใจให้อภัยและปล่อยให้ความรู้สึกแง่ลบจางหายไป คือชั่วขณะที่คุณได้ออกเดินทางสู่อิสรภาพของตัวเอง
การให้อภัยทุกคนที่เคยทำให้คุณเจ็บปวด เป็นเรื่องของการดูแลตัวเอง ไม่ใช่คนที่คุณจะต้องยกโทษให้ มันเป็นเรื่องของการรับผิดชอบความสุขของตัวเอง
งานวิจัยพบว่าการให้อภัยนั้นส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของเรา การให้อภัยช่วยลดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความโกรธ และอาการบางอาการของโรค PTSD (Post-traumatic stress disorder)
การยึดติดกับความขุ่นเคืองก็เหมือนกับการที่คุณดื่มยาพิษแล้วรอให้ศัตรูของคุณตาย
เมื่อคุณกำลังมีปัญหากับใครสักคน จงอธิบายสิ่งที่คุณรู้สึกให้พวกฟังโดยไม่กล่าวโทษพวกเขา และไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรก็จงยกโทษให้พวกเขา การที่คุณได้อธิบายความรู้สึกของคุณอาจจะทำให้คุณใกล้ชิดกันมากขึ้น หรือไม่คุณก็พบว่าคุณไม่อยากคุยกับพวกเขาอีก
แต่ไม่ว่าจะแบบไหน ถ้าคุณอยากจะเป็นอิสระ ก็จงปล่อยวาง แทนที่จะโมโหหรือโกรธแค้น ทำไมคุณต้องใส่ใจด้วยว่าพวกเขาจะเข้าใจหรือเปล่าว่าตัวเองแย่ขนาดไหน มันก็ไม่ได้ทำให้คุณได้อะไรขึ้นมา คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับพฤติกรรมหรือต้องชอบคนที่ทำให้คุณเจ็บปวด
เพียงแค่คุณให้อภัยพวกเขาเพื่อที่คุณจะดำเนินชีวิตต่อไป การให้อภัยคือการที่ทำให้จิตใจของเราสงบ
อย่าตกเป็นเหยื่อของความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าการยกโทษให้คนอื่นคือการที่คุณปล่อยให้พวกเขาลอยนวล เพราะเวลาที่คุณยกโทษให้ใคร มันคือการปลดปล่อยตัวคุณเองให้เป็นอิสระต่างหาก
การให้อภัยไม่ใช่เรื่องของการทำดีกับคนอื่น แต่เป็นการทำดีกับตัวคุณเอง
นอกจากความเจ็บปวดจากการกระทำของผู้อื่น ในหลายๆครั้งเราก็รู้สึกผิดหวัง หรือโกรธกับการกระทำบางอย่างของตัวเอง ดังนั้นการให้อภัยตัวเองจึงสำคัญไม่น้อยกว่าการให้อภัยผู้อื่น
To forgive is to set a prisoner free and discover that the prisoner was you.
การให้อภัยคือการปลดปล่อยนักโทษและพบว่านักโทษคือคุณ - Lewis B. Smedes
โฆษณา