29 ก.ค. 2021 เวลา 12:56 • การศึกษา
ปริญญาทางครู
ปริญญาทางครู
ปริญญาทางการศึกษา คือ หลักสูตรทางการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตให้เป็นครู
ผลิตโดย : คณะครุศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์
ชื่อปริญญา : ครุศาสตรบัณฑิต(ค.บ.) ศึกษาศาสตรบัณฑิต(ศษ.บ.) การศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.) พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.)
ปริญญาทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สายสามัญ และ สายอาชีวะ:
สายสามัญ คือ วิชาเอกที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ อนุบาล ประถม มัธยม ทั้งในระบบและนอกระบบ
* ในระบบ คือ โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยม
* นอกระบบ คือ ก.ศ.น. สายสามัญ
วิชาเอกในสายสามัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
** กลุ่มวิชาเอกสายสอน คือ วิชาเอกที่ใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เช่น ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สังคม พลศึกษา สุขศึกษา ดนตรีศึกษา นาฎศิลป์ ศิลปศึกษา ฯ
กลุ่มวิชาเอกสายสอน จะยื่นขอรับรองเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทั้งสิ้น
** กลุ่มวิชาเอกสายสนับสนุน คือ วิชาเอกที่ไม่ต้องทำการจัดการเรียนการสอน แต่สนับสนุนการสอนในชั้นเรียนหรือในสถานศึกษาแทน อาทิ เทคโนโลยีทางการศึกษา (โสตทัศนศึกษา) ธุรกิจศึกษา คหกรรม บรรณารักษ์
กลุ่มวิชาเอกสนับสนุน ส่วนใหญ่ไม่ขอรับรองให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
สำหรับวิชาเอกขาดแคลนในสายสามัญนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีผลิตในครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่ไม่พอเพียง ยกตัวอย่าง ในอดีตเคยให้สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นวิชาเอกขาดแคลน แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว เนื่องจากครุศาสตร์/ศึกาศาสตร์ผลิตได้พอเพียงแล้ว
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ไม่มีผลิตในครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับการร้องขอของโรงเรียนต่อต้นสังกัดตามลำดับการยื่นขออัตรากำลังในแต่ละปี ยกตัวอย่างในการสมัครสอบบรรจุข้าราชการครู ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ของ สพฐ. ในปี 2564 สาขาขาดแคลน คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษ้เวียดนาม การพยาบาล กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตวิทยาคลีนิก แพทย์แผนไทย อรรถบำบัด เช่นนี้เป็นต้น
สาขาขาดแคลนของสายสามัญนั้น จะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของโรงเรียนเป็นหลัก และมีจำนวนน้อย
สายอาชีวศึกษา คือ วิชาเอกที่จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน/วิทยาลัย สังกัดอาชีวศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สายช่าง
*ชื่อปริญญา : ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต(คอ.บ.)
*ผลิตโดย : กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล และ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสาม คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณมหาลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
*วิชาเอกที่ผลิต : เป็นวิชาเอกทางช่างที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาของอาชีวศึกษา และ วิทยาลัยชุมชน เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิิเล็ก ทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาครุศาสตร์การออกแบบ สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ฯลฯ
*ยกเว้นวิชาเฉพาะ ที่มีความต้องการในตลาดแรงงานโดยเฉพาะ หรือ ความต้องการของชุมชนโดยเฉพาะ หรือเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทย ให้ยกเป็นวิชาเอกสาขาขาดแคลน ไม่มีการจัดการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่เมื่อรับครูสาขาขาดแคลนเข้ามาแล้ว ครูสาขาขาดแคลนดังกล่าวจะต้องพัฒนาตนเองให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป เพื่อให้สามารถสอนได้โดยไม่ผิดกฎหมายวิชาชีพครู
โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้เคยขอรับรองวิชาเอกขาดแคลนไว้ต่อคุรุสภา (ได้รับรองแต่หมดอายุลงไปแล้วปัจจุบันยังไม่มีการยื่นขอรับรองใหม่) รายชื่อสาขาขาดแคลนเดิมที่ขอรับรอง มีดังนี้
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
1) สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
2) ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3) ไฟฟ้ากำลัง
4) โทรคมนาคม
5) แมคคาทรอนิกส์
6) เครื่องวัดและควบคุม
7) เทคนิคอุตสาหกรรม
8) เทคนิคการผลิต
9) ช่างกลโรงงาน
10) เขียนแบบเครื่องกล
11) เครื่องกล
12) เครื่องมือและซ่อมบำรุง
13) ช่างเชื่อมโลหะ/เทคนิคโลหะ
14) แม่พิมพ์โลหะ
15) แม่พิมพ์พลาสติก
16) ช่างยนต์
17) ช่างก่อสร้าง
18) โยธา
19) ช่างสำรวจ
20) สถาปัตยกรรม/มัณฑนศิลป์/ออกแบบตกแต่ง
21) อุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
22) อุตสาหกรรมต่อเรือ
23) พาณิชย์นาวี
24) การจัดการโลจิสติกส์
25) อุตสาหกรรมยาง
26) เทคโนโลยียางและโพลิเมอร์
27) ปิโตรเคมี
28) การพิมพ์
29) การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย
30) การขุดเจาะน้ำมัน
31) เทคโนโลยีแสงและเสียง
32) ปิโตรเลียม
33) เทคนิคพลังงาน
34) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
35) ช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์
36) สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
37) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
38) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
39) การท่องเที่ยว
40) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประเภทวิชาพณิชยกรรม
41) สาขาวิชาเลขานุการ
42) การจัดการธุรกิจ
43) การจัดการสำนักงาน
44) การตลาด
45) การบัญชี
46) บริหารธุรกิจและพณิชยการ
47) โลจิสติกส์
48) คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
49) ธุรกิจค้าปลีก
50) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
51) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
52) สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
53) เสื้อผ้าสำเร็จรูป
54) เคมีสิ่งทอ
ประเภทวิชาเกษตรศาสตร์
55) สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม
56) ช่างกลเกษตร
57) เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร
58) เทคโนโลยีภูมิทัศน์
59) ผลิตภัณฑ์ยาง
60) พืชศาสตร์
61) สัตว์ศาสตร์
62) พืชไร่
63) ปฐพีวิทยา
ประเภทวิชาการประมง
64) สาขาวิชาการควบคุมเครื่องจักร(เรือประมง)
65) ประมงทะเล
66) เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
67) แปรรูปสัตว์น้ำ
68) อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ประเภทวิชาคหกรรม
69) สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์
70) คหกรรมศาสตร์
71) เทคโนโลยีการออกแบบเครื่องแต่งกาย
72) เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย
73) แฟชั่นและสิ่งทอ
74) สปาและความงาม
75) เสริมสวย(เทคโนโลยีความงาม)
ประเภทวิชาศิลปกรรม
76) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
77) ศิลปกรรม
78) เซรามิค/เทคโนโลยีเครื่องเคลือบดินเผา
79) ศิลปหัตถกรรม(รูปพรรณและเครื่องสาน)
80) การออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี
81) ช่างทองหลวง
82) การออกแบบ
83) คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
84) คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
85) การถ่ายภาพและวิดีทัศน์
86) เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
87) นิติศาสตร์
88) อาหารและโภชนาการ/โภชนาการชุมชน
89) การโรงแรม/การโรงแรมและบริการ/ธุรกิจโรงแรม
90) เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
91) เคมีอุตสาหกรรม
92) วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
93) วิศวกรรมพลังงาน/พลังงานทดแทน
94) เทคโนโลยีระบบราง/วิศวกรรมขนส่งระบบราง
95) เทคโนโลยีอุตสาหกรรมบันเทิง/แอนนิเมชั่น
96) การตลาดดิจิตอล
97) อุตสาหกรรมศิลป์
และ 98) ช่างเครื่องเรือนและตกแต่ง
ในสาขาขาดแคลนนี้ เมื่อบุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเข้าปฏิบัติหน้าที่สอน จะต้องรีบพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ผิดต่อกฎหมายวิชาชีพครู
โฆษณา