Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Suchada Nimnuan
•
ติดตาม
29 ก.ค. 2021 เวลา 13:45 • การเมือง
บทความวิจัย เรื่อง "อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ในทวิตเตอร์ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกปี 2562"
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะสังเกตุเห็นว่าผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พลังของคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก มีจำนวนมากกว่า 7 ล้านคน ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา "พรรคพลังประชารัฐ" ชนะเลือกตั้งกุมเสียงข้างมากในสภา แต่ก็ไม่ได้ชนะขาดลอยจนสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ หากลองดูคะแนนเสียงของพรรคเกิดใหม่ อย่าง "พรรคอนาคตใหม่" กลับได้รับคะแนนเสียงมากพอสมควร ไล่ตามพรรคใหญ่มาติดๆ
.
ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในโลกทวิตเตอร์มาแรงมาก โดยเฉพาะช่วงหาเสียงเรื่องตั้ง มีเหตุการณ์สำคัญที่พอจะแบ่งช่วงเวลาได้ 4 เหตุการณ์
1. ช่วงแสดงวิสัยทัศน์ ดีเบทของพรรคการเมือง
2. การคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา สว. 250 คน
3. เหตุการณ์ยุบพรรคไทยรักษาชาติ
4. ช่วงการจัดการเลือกตั้งโดย กกต.
กลับมาที่โลกทวิตเตอร์ มีปรากฎการณ์เกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างแฮชแท็ค# ที่เป็นกระแสร้อน ทั้ง #ฟ้ารักพ่อ #จินนี่เอฟเฟค ถูกรีทวิตอย่างถล่มทลายจนติดเทรนด์อันดับหนึ่ง
.
ข้อสังเกตุอีกจุดที่น่าสนใจคือ เริ่มมีอินฟลูเอนเซอร์ทางการเมืองออกมาเคลื่อนไหวมาขึ้น แม้แต่สื่อหลักก็หยิบฉวยไปเล่นข่าว ที่สำคัญคนกลุ่มนี้มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น และส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ทั้งนั้น เด็กๆกลุ่มนี้เขากระโดดเข้ามามีส่วนร่วมในสนามการเมืองในโลกออนไลน์ ยิ่งส่งผลให้การสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ "ทรงพลัง" มากขึ้นไปอีก ทำให้เฟิร์นอยากศึกษาปรากฎการณ์นี้เพื่อหาคำตอบว่า อินฟลูเอนเซอร์ทั้ง 5 คน มีพลังเปลี่ยนแปลง โน้มน้าวใจให้คนรุ่นใหม่เห็นคล้อยตามอุดมการณ์ทางการเมืองได้มากแค่ไหน
ผลวิจัยชัดว่า" อินฟลูเอนเซอร์ มีอิทธิพลต่อการจูงใจในให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ระดับนึง พวกเขาสะท้อนปัญหาการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. และมีส่วนทำให้คนรุ่นใหม่ นำข้อมูลการสื่อสารการเมืองของพวกเขา เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ใคร"
.
ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อแวดวงการเมืองและสื่อสารมวลชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่สาธารณะที่คนรุ่นใหม่มองว่า มีอิสระทางความคิดและมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ไร้ขีดจำกัด เพราะพวกเขาถูกกดทับมานานจากเหตุการณ์ยึดอำนาจ และได้แสดงออกถึงพลังทางการเมืองที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นจากการใช้อำนาจตามหลักประชาธิปไตยผ่านการออกเสียงเลือกตั้งนั่นเอง
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย