24 ธ.ค. 2022 เวลา 11:50 • หนังสือ
ทำไมเราจึงควรยอมแพ้และพักผ่อนบ้าง
หลาย ๆ คนคงรู้กันดีว่าการพักผ่อนนั้นดีอย่างไร การพักผ่อนทำให้เราหายเหนื่อยจากงานที่เราทำ การพักผ่อนทำให้จิตใจเราได้รับการฟื้นฟูขึ้น
แต่ทำไมเราไม่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนละ
1
คุณเป็นแบบนี้ไหมครับ
รู้สึกผิดที่ปล่อยเวลาผ่านไปเฉย ๆ อยากใช้เวลาทำงานให้ได้มากที่สุด
รู้สึกผิดที่วันนี้ไม่ได้ทำอะไรที่พัฒนาตัวเองเลย
หรือกล่าวโทษตัวเองว่า ทำไมเป็นคนที่ไม่ขยันแบบนี้หรือไม่มีวินัยแบบนี้
ดังนั้นการที่ "ยอม" ให้ตัวเราเองได้มีเวลาพักบ้างไม่ได้แค่ทำให้คุณรู้สึกหายเหนื่อยหรือจิตใจฟื้นฟูเพียงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้คุณด้วย และไม่ใช่แค่เรื่องของการทำงานเท่านั้น การเรียน ความสัมพันธ์ หรือเป้าหมายของชีวิตไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลับฟลอริดาสเตดชี้ชัดว่า ผู้เข้ารับการทดลองที่ตอบว่า "อยากได้พลังสมาธิสูง ๆ รวมทั้งความสนใจในการควบคุมตัวเอง" เป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มไม่สามารถใช้สมาธิจัดการกับงานที่อยู่ตรงหน้าได้
ยิ่งพยายามไขว่คว้าพลังสมาธิมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างผลงานได้ในระดับต่ำลง
แต่ถ้ายังฝืนที่จะต้องการสมาธิทั้ง ๆ พลังสมาธิหมดแล้ว อาจทำให้เกิดความคิดที่ว่า เราเป็นคนไม่มีความสามารถในการมีสมาธิ และเมื่อเจอกับความคิดนี้มากเท่าไหร่ ก็จะเกิดปัญหาตามมาที่เรียกว่า "การตำหนิตัวเองมากเกินไป"
วงการจิตวิทยาหลายปีที่ผ่านมามีการยืนยันว่า "การตำหนิตัวเอง" ส่งผลร้ายอย่างใหญ่อย่างมากต่อการสร้างผลงาน
มีวิจัยของมหาวิทยาลัยซัลซ์บูร์กถามผู้เข้ารับการวิจัยซ้ำ ๆ ว่า "คุณเคารพตัวเองหรือไม่" หรือ "คุณมีความรู้สึกในแง่ลบมากเท่าไร" เพื่อตรวจดูว่าแต่คนละมีความรู้สึกผิดต่อตัวเองหรือไม่ และนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับข้อมูล MRI ของทุกคน
จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
ยิ่งเป็นคนที่กล่าวโทษตัวเองมากเท่าไร ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนเนื้อเทาในเปลือกสมอง(Gray Matter)น้อย ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ให้ความรู้สึก ทั้งประสาทสัมผัส ความนึกคิด ความจำ การเห็น การพูด การได้ยิน และเป็นส่วนที่รวบรวมเซลล์ประสาทซึ่งมีหน้าที่ควบคุมอารมณ์อีกด้วย ดังนั้นถ้าส่วนของสมองสีเทาลดลง พลังสมาธิก็จะลดลงไปด้วย
สมองจะหดเล็กลงเมื่อเรากล่าวโทษตัวเอง เพราะส่วนเนื้อสีเทาในสมองจะพ่ายแพ้ต่อความเครียด ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากการถูกคนอื่นโกรธ รู้สึกไม่ดีกับที่ทำงาน หรือทะเลาะกับเพื่อน เป็นต้น
ความเครียดทุกประเภทคือภาระทางจิตใจที่ทำลายเซลล์สมอง ถ้าเรารับมือกับมันไม่ได้ ส่วนเนื้อเทาในสมองก็จะลดลง
และความเครียดที่เกิดจากการ"โทษตัวเอง"คือความเครียดที่แย่และส่งผลต่อสมองมากที่สุด
ถ้าหากคุณเกิดความเครียดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือผู้คน คุณก็สามารถถอยห่างออกมาพักได้ แต่สิ่งแวดล้อมจากภายในที่เรียกว่า "ความคิด" เป็นสิ่งที่โจมตีเราและหลีกหนีได้ยาก
ทุกครั้งที่คุณทำงานพลาดก็จะรู้สึกวน ๆ อยู่ในสมองว่า "ฉันใช้พลังงานสมาธิไม่ได้อีกแล้ว" หรือ "พยายามแค่ไหนก็ไม่พอ" ทุกครั้งที่เป็นแบบนี้ ส่วนเนื้อเทาของสมองก็จะค่อย ๆ ลดลงและอาจจะทำให้คุณผู้อ่านตกอยู่ในสภาวะแบบ "ศัตรูก็คือตัวฉันนี่เอง"
ปัญหาที่เกิดจากความคิดเช่นนี้ถ้าเป็นหนักอาจจะต้องทำการบำบัดด้วยเทคนิคต่าง ๆ อาทิ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) ซึ่งก็มีหลายวิธีที่ช่วยบรรเทาความคิดเราได้
แต่มีวิธีหนึ่งที่ผมคิดว่าเรียบง่ายและในหนังสือเขียนว่า "ข้อสรุปของวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันบอกว่า "ให้ยอมแพ้"
แม้เราจะทำตามเป้าหมายไม่ได้ หรือพ่ายแพ้ต่อสิ่งยั่วยุที่อยู่ตรงหน้า "ก็ให้ยอมรับสิ่งเหล่านี้อย่างบริสุทธิ์ใจ"
ถึงแม้ทุกครั้งที่เราทำพลาดก็อยากให้เข้าใจว่า มนุษย์เราก็เกิดความล้มเหลวได้เหมือนกัน ทางออกที่ดีที่สุดคือการค่อย ๆ หันกลับไปทำสิ่งที่ทำใหม่อีกครั้ง
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการยอมรับตัวเองคือคำแนะนำว่า "อย่าไปสนใจความผิดพลาด" หรือ "เป็นตัวของตัวเองแหละที่ดีสุด"
เพราะจริง ๆ แล้วความผิดพลาดที่แหละที่จะทำให้คุณรู้ว่า "อะไรคือสิ่งที่ถูก" เพื่อที่จะเดินไปเป้าหมายถูกทาง และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เราต้องยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบและวิเคราะห์ความผิดพลาดของตัวเองอย่างสุขุมเพื่อที่เราจะได้เดินทางสู่เป้าหมายได้ถูกทาง
การยอมรับตัวเองคือวิธีฟื้นฟูสายสัมพันธ์ที่ไม่ดีขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
หนังสือ พลังสมองของคนทำเรื่องยากได้ ทำเรื่องง่ายเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ
"พลังงานสมองของคนทำเรื่องยากได้ ทำเรื่องง่ายเร็ว"
เขียนโดย ยู ซึซึกิ
สำนักพิมพ์ How to
สามารถติดตามเพจ SIT TO THINK ได้นะครับ ผมจะนำความรู้ดี ๆ มาแชร์ให้ได้อ่านกันนะครับ หวังว่าคุณผู้อ่านจะชอบและนำกลับไปพัฒนาชีวิตตัวเองนะครับ
โฆษณา