30 ก.ค. 2021 เวลา 11:28 • บ้าน & สวน
Interior Designer คือใคร?
Interior Designer : M , Ahe
ปัจจุบัน ยังมีใครหลายคนที่สับสน
และไม่เข้าใจว่า Interior Designer หรือ
มัณฑนากร หรือ นักออกแบบภายใน
คือใคร ทำอะไร และทำไมต้องจ้าง
หากพูดถึงคนส่วนใหญ่ที่มีบ้าน อาคาร
พานิชย์ต่างๆอยู่แล้ว หรือสร้างใหม่ซึ่ง
ออกแบบโดยสถาปนิก อันนี้เป็นที่รู้กัน
ว่าโครงสร้างต้องออกแบบและคำนวณ
โครงสร้างโดยสถาปนิก
โครงสร้างออกแบบโดยสถาปนิก
แล้วถ้าอยากตกแต่งภายในละ?
คนส่วนใหญ่จะนึกถึงผู้รับเหมาตกแต่ง
ภายในเป็นอันดับแรก จากการคาดเดา
คิดเองเออเอง ผมคิดว่า...คนมักมองว่า
การจ้างมัณฑนากร เป็นการสิ้นเปลือง
ในเมื่อผู้รับเหมาตกแต่งภายในก็ออก
แบบได้ แถมผลิตชิ้นงานได้เลย ทำไม
ต้องเสียเวลาในการจ้างออกแบบด้วย
การทำเช่นนี้ ไม่ผิดครับ ต้องบอกว่า
ผู้รับเหมาทั่วไปก็สามารถออกแบบได้
จริง หรือบางครั้งลูกค้าอาจจะมีภาพ
งานดีไซน์ แล้วบอกช่างว่าเอาแบบนี้
ก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง แต่อยู่ที่ว่าชิ้นงาน
ที่ผลิตขึ้นมานั้น เหมือนในรูปหรือตรง
ตามที่ลูกค้าอยากได้แค่ไหน
ขอออกตัวก่อนครับ บทความนี้ไม่ได้
มีเจตนาจะโจมตีหรืออคติต่อผู้รับเหมา
แต่อย่างใด เพราะผมเอง ก็เกิดมาใน
ครอบครัวที่มีพ่อเป็นผู้รับเหมาตกแต่ง
ภายใน เรียกว่าตั้งแต่เด็กจนทำงาน
ด้านออกแบบมาเป็น 10 ปี ปัจจุบัน
พ่อก็ยังเป็นผู้รับเหมารับตกแต่งภายใน
ที่ต่างจังหวัด
ภาพผู้รับเหมาขึ้นชิ้นงานในสถานที่จริง
กลับเข้าเรื่องสักนิดนึง...
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับ มัณฑนากร
หรือ Interior Designer ที่มากขึ้น
ขออธิบายให้เห็นภาพชัดๆแบบนี้ครับ
อย่างแรก มัณฑนากร คือ ผู้ที่ผ่านการ
กระบวนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
หรือเข้าคอร์สอบรมจากสถาบันต่างๆ
ซึ่งในหลักสูตร จะมีวิชาต่างๆให้ฝึกฝน
ตั้งแต่การวาดภาพ การใช้สี สัดส่วน
หรือมาตรฐานการใช้งานของมนุษย์
การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับงานดีไซน์
ไปจนถึงประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทย
และต่างประเทศ นอกจากนี้ยังรวมถึง
คนที่มีใจรักด้านงานออกแบบภายใน
ที่ผันตัวเองมาจากอาชีพอื่น ซึ่งทำด้วย
ความหลงไหล และมีความเข้าใจใน
Details, การ Mix & Match หรือ
เรียกง่ายว่ามีหัวทางด้านศิลปะ
มัณฑนากร มีหน้าที่ในการออกแบบ
ภายใน โดยเริ่มตั้งแต่การพูดคุย
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ
ของลูกค้า นำมาวิเคาระห์และค้นหา
สิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ พร้อมกันนั้น
จะต้องนำข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และ
บริบทมาทำการออกแบบ ให้สอด
คล้องกับฟังก์ชันและพฤติกรรม
ของผู้ใช้งาน จนออกมาเป็นแปลนที่
แสดงตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
การรับ Brief จากลูกค้า
การเช็คระยะหน้างานก่อนทำการออกแบบ
จากนั้นคือการใส่ Concept/ Mood&
Tone วัสดุ หน้าตาเฟอร์นิเจอร์ และ
สไตล์ เพื่อกำหนดทิศทางการออกแบบ
ตัวอย่างแปลนเฟอร์นิเจอร์
ต่อไปคือการออกแบบโดยนำเสนอเป็น
ภาพ Perspective อาจเป็นภาพสเก็ต
พร้อมลงสี หรือ ภาพ 3D ที่สร้างภาพ
เหมือนจากโปรกแกรม ซึ่งเราจะเห็น
สัดส่วนและวัสดุที่ใกล้เคียงของจริง
มากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคและฝีมือ
ของนักออกแบบที่เราใช้บริการ
ภาพ 3D Perspective
สุดท้ายคือการแปลงงานออกแบบเป็น
แบบก่อสร้าง หรือคู่มือที่ประกอบด้วย
ขนาด วัสดุ และดีเทลต่างๆ สำหรับให้
ผู้รับเหมาใช้ในการประเมินราคา และ
ใช้ผลิตชิ้นงานบิวท์อิน ให้ตรงตามที่
ผู้ออกแบบได้นำเสนอไว้กับลูกค้า
รวมไปถึงการเป็นที่ปรึกษาให้ทั้งลูกค้า
และผู้รับเหมาในระหว่างงานก่อสร้าง
ก็เป็นหน้าที่ของมัณฑนากรพึงกระทำ
ตัวอย่างแบบก่อสร้างบิ้วท์อิน
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า หน้าที่
ของ มัณฑนากร ค่อนข้างซับซ้อนและ
มีขั้นมีตอนในการผลิตงานออกแบบ
ซึ่งราคาก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ที่
ประสบการณ์ / สไตล์การออกแบบ /
ปริมาณงานซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการ
ของลูกค้าเป็นหลัก
ณ จุดนี้ ขออนุญาตเล่าเรื่องจากที่ได้
ร่วมงานและพูดคุยกับผู้รับเหมาหลาย
คน มักพูดเป็นเสียงเดียวกัน ลูกค้าไม่
ค่อยมีแบบมาให้ช่างผลิตชิ้นงาน จึงทำ
ให้การทำงานค่อนข้างยุ่งยาก เพราะ
ต้องคิดเองทำเอง หรือช่วยกันคิดกับ
ลูกค้า บางครั้งงานไม่ผ่านทำให้ต้อง
รื้อแก้ไข จนงานเกิดความล่าช้าและช้ำ
กว่าจะเสร็จต่างคนต่างเหนื่อย ทั้งช่าง
และลูกค้า อีกทั้งงานที่ได้ก็ไม่ตรงใจ
และสัดส่วนแปลกๆ คำแนะนำของช่าง
คือ ให้ลูกค้าไปหาคนออกแบบก่อน
ส่วนงานก่อสร้างบิวท์อินค่อยว่ากัน
อย่างไรก็ตาม การที่เราได้อยู่ในบริบท
และสภาพแวดล้อมที่ดี กับครอบครัว
อันเป็นที่รักนั้น คือคุณภาพชีวิตที่ทุกคน
ควรได้รับเป็นอย่างยิ่ง ไม่จำเป็นสวยหรู
ดูแพง แค่รู้วิธีที่จัดการสภาพแวดล้อม
ของเราให้สะอาดเป็นระเบียบ ก็ทำให้
พื้นที่ของเราน่าอยู่ได้เช่นกัน
#interiordesigner
โฆษณา