31 ก.ค. 2021 เวลา 03:30 • สุขภาพ
อย่างที่เรารู้กันดีว่าการกิน “กาแฟ” ในช่วงเช้าๆจะช่วยให้เราตื่นตัวและมีสมาธิมากขึ้น แต่บางคนอาจจะไม่รู้ว่าการดื่มกาแฟนี่แหละ ที่ทำให้มนุษย์พัฒนามาเป็นอารยธรรมได้ถึงจุดนี้
แล้ว มันทำอะไรกับร่างกายเรา กินเยอะๆจะมีอันตรายไหม
บทความนี้จะมาอธิบายกระบวนการทำงานของ คาเฟอีน (สารที่อยู่ในกาแฟ) แบบเข้าใจง่ายๆ กัน
Caffeine (ที่พบในกาแฟ ชา ชาเขียว โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง บลาๆ) สามารถทำให้เราหายง่วงได้, เป็น psychoactive drug ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก, สามารถเพิ่ม effectiveness ใน painkiller หลายประเภท นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความจำและป้องกัน neurodegenerative disease ได้อีกด้วย
ความสำคัญของคาเฟอีนมันสูงขนาดที่ว่า “หากคนในสมัยก่อนไม่ค้นพบและดื่มมัน โลกนี้ก็ไม่สามารถพัฒนาได้มาถึงจุดนี้“
นี่คือประวัติย่อของคาเฟอีน ก่อนที่การดื่มชาและกาแฟจะแพร่หลาย ผู้คนส่วนมากในยุคนั้นมักจะดื่มแอลกอฮอล์ แทนน้ำดื่ม เพราะตอนนั้นเขาไม่มีเทคโนโลยีที่ทำให้นำ้เปล่าสะอาด และ alcohol ช่วยฆ่าแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ ปัญหาคือมันทำให้คนมึนหัวและไม่สามารถคิดอย่างเป็นระบบได้
ต่อมากาแฟก็ได้รับความนิยมเพราะมันทำให้คนมีแรงในการทำงานมากขึ้น มีความคิดที่ดีขึ้น และทำให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การเมือง และอื่นๆ เป็นไปอย่างก้าวกระโดด หากขาด caffeine ไป โลกนี้คงพัฒนาได้น้อยกว่านี้มาก
โดยปกติแล้วร่างกายจะใช้พลังงานจากสารที่เรียกว่า ATP (Adenosine TriPhosphate) และเมื่อใช้ไปแล้วจะเหลือแค่ Adenosine ซึ่งจะออกนอกเซลล์ไปจับกับ receptor ที่ชื่อว่า Adenosine Receptor ซึ่งจะสั่งให้สมองพักผ่อนเมื่อมันจับกับ adenosine เยอะ (= ร่างกายใช้ ATP เยอะ = ควรพักผ่อน = เหนื่อย)
This is where caffeine comes in. เนื่องจากว่าโครงสร้างของ caffeine และ adenosine มันคล้ายกัน มันเลยจับกับ receptor ตัวเดียวกันได้ แต่ต่างกันที่ caffeine มันแค่จับ receptor เฉยๆ ไม่ได้ activate มัน (พูดง่ายๆคือมันไปปิด/แย่งจับ receptor ไม่ให้ adenosine ไปจับแล้วเกิดผลให้ร่างกายง่วง) มันเลยช่วยให้ร่างกายรู้สึก energetic เมื่อ intake caffeine ไป
อย่างไรก็ตาม หากเรากิน caffeine ไปทุกวัน ผลของมัน (หายง่วง) ก็จะค่อยๆน้อยลงเช่นกัน สิ่งนี้เรียกว่า caffeine tolerance นี่เป็นเพราะว่าร่างกายได้เพิ่ม receptor ให้ adenosine มาจับเท่าตอนแรก (เพื่อให้ร่างกายได้เหนื่อยและพักผ่อนอย่างที่ควรจะเป็น) ดังนั้นเพื่อที่จะได้ผลลัพธ์เดิม ร่างกายจึงต้องการคาเฟอีนเพิ่ม เพื่อมาปิด receptors ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพิ่ม และเมื่อเราขาดคาเฟอีนไป adenosine ก็สามารถจับกับ receptor ในปริมาณเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง
แต่ว่าๆๆๆ แม้ว่าการขาดคาเฟอีนสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟจะมี side effects แต่มันก็ไม่ได้ร้ายแรงใกล้เคียงการคำว่า addict หรือ เสพติดเลย และอาการขาดคาเฟอีนเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเองใน 1 สัปดาห์ หรือ ตอนที่ adenosine receptor มันลดลงไปเท่าเดิม ดังนั้นหากมีอาการปวดหัวหลังหยุดกินกาแฟทันทีก็ไม่ต้องไปหาหมอนะ ให้ค่อยๆลดปริมาณกาแฟโดยไม่มี side effect จะดีกว่า
โฆษณา