31 ก.ค. 2021 เวลา 00:30 • อสังหาริมทรัพย์
ย้อน Timeline เกิดอะไรกับ Ashton Asoke ทำไมถึงโดนสั่งเพิกถอนก่อสร้าง??
14
วันนี้ หลายคนน่าจะได้เห็นข่าวใหญ่ของวงการอสังหา เรียกได้ว่าสะเทือนวงการกันไปเลย เมื่อศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนใบอณุญาตก่อสร้างของโครงการคอนโดหรูติดแยกอโศก “Ashton Asoke” ทั้งๆ ที่เปิดขาย สร้างเสร็จ แถมลูกบ้านเข้าอยู่มาแล้วเป็นปีๆ 🤔
8
หลายคนอาจจะงงว่าอยู่ๆ เกิดอะไรขึ้น ทำไมคอนโดที่สร้างเสร็จจนขายไปเรียบร้อยแล้วมูลค่าก็หลายพันล้านอยู่ มาเจอคำสั่งเพิกถอนแบบนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร? แล้วเรื่องจะจบลงตรงไหน จะต้องทุบไหม?? เราเลยขอสรุปเรื่องราวของเหตุการณ์นี้แบบคร่าวๆ สำหรับใครที่อาจจะไม่ได้ตามเรื่องนี้มาก่อนครับ
8
เริ่มจากประมาณ 2014 อนันดาได้เตรียมที่จะเปิดโครงการคอนโด Ashton Asoke เป็นอาคารสูง 50 ชั้น ที่บริเวณใกล้สี่แยกอโศก บนถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21) ติดกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสุขุมวิท ถือว่าเป็นโครงการที่ทำเลดีมากๆ ครับ ติดทั้งรถไฟฟ้า 2 สาย อยู่ใจกลางเมือง
2
ปกติที่ดินสำหรับการทำคอนโด หลายๆ โครงการจะใช้วิธีรวมที่ดินหลายๆ แปลงเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่พอให้สร้างตึก อย่างของที่นี่ ก็จะเป็นการรวมที่ดินประมาณ 3 แปลงเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้พื้นที่ขนาด 2 ไร่กว่า
6
แต่ปัญหาก็คือ ที่ดินแต่ละแปลง บางแปลงก็ติดแค่ซอยเล็กๆ ที่เป็นซอยย่อยของซอยสุขุมวิท 19 ที่อยู่ด้านหลังถัดออกไป และบางแปลง เป็นที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออกเลยด้วยซ้ำ แต่ ห๊ะ ที่ดินอะไรไม่มีทางเข้าออก??
9
อันนี้ก็ต้องย้อนกลับไปครับ จริงๆ ที่ดินแปลงนี้เดิมที มันก็ติดกับถนนอโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 เนี่ยแหละ เรียกได้ว่าทำเลก็ดีเลย แต่ทีนี้พอมีรถไฟฟ้ามาสร้าง เกิดการเวนคืน ที่ดินแปลงนี้ก็โดนเวนคืนบางส่วนทำให้ด้านหน้าถูกตัดหายไป กลายเป็นที่ดินไม่ติดถนนในเวลาต่อมา ที่ดินส่วนที่เวนคืน ก็กลายมาเป็นรถไฟฟ้าสถานีสุขุมวิท รวมถึงที่จอดรถด้านบน
13
อ๊ะ แต่ก็รวมแปลงที่ดินกันแล้วหนิ ก็ยังมีทางไปออกซอยสุขุมวิท 19 ได้นี่นา อย่างงี้ก็สร้างตึก แล้วไปออกซอยสุขุมวิท 19 ได้สิ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
7
ตรงนี้ก็ต้องบอกว่า ต้องมาดูกฎหมายผังเมืองบ้านเราครับ ซึ่งกฎหมายบ้านเราบอกไว้ว่า ไม่ใช่ทุกที่ ที่จะสร้างตึกสูงได้นะ!! ถ้าที่คุณไปอยู่ในซอยเล็กๆ รถดับเพลิงเข้าไม่ได้ สร้างตึกสูงมันอันตราย อย่าเลย เลยกำหนดไว้ว่า ถ้าคุณจะสร้างตึกสูงเนี่ย คุณต้องมีที่ดิน แล้วด้านที่ติดถนนใหญ่ต้องกว้าง 12 เมตรขึ้นไป เพื่อที่จะทำทางให้รถดับเพลิงเข้ามาที่ตัวอาคารได้ ส่วนถนนใหญ่ที่ว่าเนี่ย ก็ต้องเป็นถนนใหญ่ 18 เมตรขึ้นไปด้วยเหมือนกันนะ
18
มาถึงตรงนี้ จะเห็นแล้วว่าที่ดินตรงนี้ ถึงจะมีทางเข้าออก แต่ก็ยังสร้างตึกสูงไม่ได้
4
แต่!! แต่ครับ ยังมีแต่ ถ้าเป็นอย่างงั้น ที่ดินแปลงที่ติดถนนอโศกมนตรีที่ถูกเวนคืนก็โคตรน่าสงสารเลยสิ จากเคยมีที่ดินติดถนนใหญ่ใจกลางเมืองอยู่ดีๆ อยู่ๆ กลายเป็นที่ตาบอด จากจะขายได้ตารางวาละ 2 ล้าน กลายเป็นที่ทำอะไรไม่ได้เลยหรอ จะให้มาเป็นที่เลี้ยงยุงลายอยู่ข้าง Terminal 21 แบบนี้เนี่ยนะ!!
13
จริงๆ ทางรฟม.ที่เวนคืนที่ดินไป ก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดนั้นซะทีเดียวครับ ยังมีข้อกำหนดที่บอกไว้ว่า “ที่ดินซึ่งถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าของรฟม. อนุญาตให้ผ่านทาง ได้แก่ ที่ดินก่อนถูกเวนคืนติดทางสาธารณะ ภายหลังถูกเวนคืนทำให้ไม่มีทางเข้า-ออก” หรือสรุปก็คือ ถ้าที่ดินโดนเวนคืนไปแล้วทำให้ที่กลายเป็นที่ตาบอดไม่มีทางเข้าออก สามารถใช้ที่ดิน รฟม. เป็นทางเข้าออกได้
14
อย่างที่ดินตรงนี้ก่อนจะมาเป็น Ashton ก็มีการใช้พื้นที่จอดรถของสถานี เป็นทางสำหรับเข้าออกที่ดินเดิมครับ โดยมีขนาดทางเข้ากว้าง 6.4 เมตร
7
แต่แน่นอนว่า 6.4 เมตรก็ยังไม่พอกับที่กฎหมายกำหนด มาถึงตรงนี้ ทางโครงการ ก็เลยมีการคุยกับทาง รฟม. เพื่อย้ายทางเข้าออกไปอีกฝั่งของลานจอด เพื่อให้ทำทางได้กว้างขึ้น และทำทางกว้าง 13 เมตร เข้าออกจากที่ดินไปถนนอโศกมนตรี เพื่อให้มีพื้นที่ติดถนนใหญ่มากกว่า 12 เมตร แล้วสร้างตึกสูงได้ตามที่กฎหมายกำหนด
9
โดยที่ดินของรฟม.ก็ยังเป็นของ รฟม. นะ แต่จะให้สิทธิใช้ในการเป็นทางผ่าน
2
🌟🌟 เท่าที่ทีมงานหาข้อมูลมา ทางที่รฟม.ทำให้ปกติจะมีขนาดความกว้าง 4 เมตร ถ้าต้องการมากกว่านี้จะมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม (มีเขียนอยู่ในกฎชัดเจน) ตรงนี้เข้าใจว่าทางโครงการได้จ่ายเงินเพิ่มไปประมาณ 90 กว่าล้านบาท ซึ่งสรุปสุดท้ายก็คือทางรฟม.อนุญาตให้ใช้พื้นที่เป็นทางเข้าออกกว้าง 13 เมตรให้
7
และเพื่อความชัวร์ จะสร้างโครงการใหญ่ ที่ดินที่ใช้ที่ดินรฟม.เป็นทางเข้าออกแบบนี้จะสร้างได้ไหมนะ โครงการเลยทำหนังสือถามไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ได้คำตอบมาว่า
7
ก็คือจากข้อกำหนดที่ต้องมีที่ดินส่วนที่ติดถนนใหญ่ หน้ากว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตรเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกของรถดับเพลิง แม้ที่ดินจะไม่ได้อยู่ติดถนนสาธารณะ แต่ถ้ามีที่ดินแปลงอื่นที่ใช้เข้าออก แล้วหน้ากว้าง 12 เมตร และสามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้ไปตลอดอายุของอาคาร ก็ถือว่ายังเป็นไปตามกฎกระทรวง แปลง่ายๆ ว่าสามารถใช้ทางเข้าออกของรฟม. เพื่อเป็นทางเข้าที่ดินสำหรับสร้างตึกสูงได้นั่นเอง แต่ทางต้องอยู่ตลอดอายุตึกนะ
4
หลังจากนั้นในช่วงปลายปี 2014 โครงการก็ได้มีการเปิดขาย เรียกได้ว่าช่วงนั้นคนแย่งกันจองเลยทีเดียว กับคอนโดแบรนด์ระดับท็อปของอนันดาอย่าง Ashton มาในทำเลที่ก็เรียกได้ว่าน่าจะหาไม่ได้อีกแล้ว บวกกับความเท่ของตึกสไตล์อนันดา และแปลนห้องที่โดดเด่นอย่างห้อง 2 ห้องนอนกระจกโค้งรอบทิศของที่นี่ ที่ตอนนั้นใครเห็นก็ว้าว ใครที่จองห้อง 2 ห้องนอนได้ไปก็บวกราคาขายต่อได้กำไรกันเป็นแถว ตัวโครงการก็ SOLD OUT ไปได้ตั้งแต่เปิดขายอย่างไม่ยากเย็น
8
ซึ่งหลังจากนั้น การขอ EIA เพื่อก่อสร้างก็ผ่านตามปกติ โครงการก็ได้เริ่มทำการก่อสร้าง
3
ในช่วงปี 2016 ระหว่างที่ตึกกำลังก่อสร้าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และตัวแทนชุมชนถนนสุขุมวิท 19 แยก 2 ได้ฟ้องกับศาลปกครองกลางให้เพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง รวมไปถึงเพิกถอนการที่รฟม.อนุญาตให้ใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกโครงการ โดยยื่นฟ้องหน่วงงานรัฐ 5 แห่ง เพราะมองว่าตึกนี้ขออนุญาตไม่ถูกต้องจากการที่ที่ดินไม่ได้ติดกับถนนใหญ่
8
ผ่านมาถึงช่วงปลายปี 2017 หลังจากผ่านไป 3 ปี ตึกได้สร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย เริ่มเรียกลูกบ้านที่ซื้อไว้เข้ามาทำการตรวจห้อง
2
แต่ก็เริ่มมีเรื่องแปลกเกิดขึ้น คือทางโครงการไม่สามารถโอนห้องให้กับลูกบ้านได้ เนื่องจากตึกยังไม่ได้มีใบอนุญาตในการเปิดใช้อาคาร หรือ “อ.6” ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากทางกทม. ซึ่งทางกทม. ณ ตอนนั้นได้แจ้งว่าเนื่องจากโครงการยังปฏิบัติตามข้อกฏหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่ครบถ้วน รวมไปถึงมีคดีฟ้องร้องอยู่ด้วย จึงต้องรอบคอบรัดกุมก่อนอนุมัติ
5
ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงในตอนนั้น นอกจากเรื่องคดีฟ้องร้องโครงการก็มีหลายจุดที่ต้องปรับ อย่างเช่นพื้นที่สีเขียวในโครงการที่ไม่ได้ตรงตามที่ยื่นขอ eia ไว้
3
ทำให้จากสวนหินอ่อนด้านข้างของโครงการ สุดท้ายต้องถูกทุบทิ้ง เพื่อเปลี่ยนมาเป็นปลูกต้นไม้ ให้ได้พื้นที่สีเขียวตามที่กฎหมายกำหนดแทนครับ
11
ล่วงเลยมาจนช่วงเดือนมีนาคม 2018 ผ่านมา 6 เดือนก็ยังไม่สามารถเปิดโอนโครงการได้ ซึ่งเป็นกำหนดเสร็จของโครงการตามในสัญญา จน CEO ของทางอนันดา คุณชานนท์ เรืองกฤตยาต้องออกมาทำคลิปขอโทษลูกค้า และมีการประกาศเลื่อนโอนออกไป พร้อมส่วนลด 7.5%/ปี จากจำนวนเงินดาวน์ที่ลูกค้าจ่ายไปแล้ว ส่วนลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนที่ก็สามารถเลือกเป็นโครงการอื่นของอนันดาแทนได้ รวมไปถึงลูกค้าที่ต้องการขอเงินคืน ก็สามารถคืนได้เช่นกัน
8
จนกระทั่งในเดือนมิถุนายนปี 2018 ทางด้านกทม.ก็ได้เซ็นเอกสาร อ.6 สามารถเปิดใช้งานอาคารเป็นที่เรียบร้อย โครงการก็เริ่มโอนและให้ลูกบ้านเข้าอยู่ ทุกอย่างก็เหมือนจะไม่มีปัญหา หลายคนก็ลืมไปแล้วว่ามีเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ที่ยังไม่จบ (ทีมงานเองก็ลืมเช่นกัน)
9
30 กรกฎาคม 2021 หลังจากผ่านมา 3 ปี ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง เนื่องจากที่ดินไม่มีด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนใหญ่ แล้วทำไมที่ดินถึงไม่มีส่วนติดถนนใหญ่?
9
ก็เพราะศาลพิจรณาว่า การที่ รฟม. นำที่ดินไปให้โครงการใช้เป็นทางเข้าออก ไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อใช้ในกิจการรถไฟฟ้า แต่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจกับของโครงการเอง ซึ่งถึงแม้จะมีการจ่ายเงินค่าใช้ที่ดินก็ตาม ดังนั้นศาลจึงตัดสินว่ารฟม.ไม่สามารถอนุญาตให้ใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกได้ จึงเท่ากับโครงการก็ไม่มีทางเข้าออกจากจากถนนอโศกมนตรี ก็ไม่สามารถสร้างตึกสูงได้นั่นเอง
27
บางส่วนของคำพิพากษาศาลปกครองกลาง (อ่านฉบับเต็มได้จากที่มาท้ายบทความ)
ทางด้านอนันดาก็ได้ออกมายืนยันในวันเดียวกันว่าทางโครงการได้ทำทุกอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน
1
สุดท้ายเรื่องนี้ยังไม่จบครับ เพราะนี่ยังเป็นคำตัดสินของศาลปกครองกลาง โดยทางอนันดาจะใช้สิทธิอุทธรณ์ไปศาลปกครองสูงสุดต่อไป ทำให้คำสั่งศาลปกครองกลางตอนนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด
4
ดังนั้นถ้าถามว่าต้องทุบไหม คำตอบก็คือยังครับ รอดูศาลต่อไปก่อน
4
🌳 ความเห็นส่วนตัวของทีมงาน 🌳
1
จริงๆ คดีนี้ต้องบอกว่าเป็นคดีที่ค่อนข้างใหญ่โตมากทีเดียวครับ กับการเพิกถอนใบอนุญาตโครงการใหญ่ขนาดนี้ ซึ่งความน่าสนใจคือเคสนี้อาจจะไม่ได้กระทบแค่โครงการเดียว ถ้ามองว่าเป็นการนำที่ดินเวนคืนไปใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของโครงการ ไม่เกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้า เพราะเคสของการใช้ที่ดินอื่นเป็นทางเข้าของโครงการคอนโด ที่นี่ก็ไม่ใช่ที่แรกที่ใช้วิธีนี้ครับ
4
อย่างเช่นโครงการ Noble Revolve Ratchada 1-2 ทางเข้าโครงการก็จะตัดผ่านที่ดินของรฟม.ที่เลี้ยวเข้าอู่ มีความกว้าง 13 เมตร หรืออย่างโครงการ Whizdom Avenue ลาดพร้าว ก็ใช้ที่ดินของรฟม.ในการทำทางเข้า 12.5 เมตร เข้าโครงการจากถนนลาดพร้าว เช่นเดียวกัน
3
หรือนอกจากที่ดินของรฟม.แล้ว ในด้านของทางด่วนเองก็มีการใช้ที่ดินในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน อย่างเช่นโครงการ The Base Garden พระราม 9 ที่ด้านหน้ามีทางด่วนตัดผ่าน ก็ได้ทำทางเข้าจากที่ดินใต้ทางด่วนเข้ามายังบริเวณโครงการเพื่อสร้างตึกสูง ซึ่งที่ทั้ง 3 เคสที่ว่ามาก็เป็นรูปแบบคล้ายกับ Ashton Asoke คือเดิมที่ดินเคยติดถนนใหญ่มาก่อน แต่โดนเวนคืนทางเข้า-ออกไป ทำให้ต้องสร้างทางเข้า-ออกทดแทน
16
ซึ่งจะผิดหรือถูก ก็คงต้องว่ากันตามความเห็นของศาลครับ เราคงบอกว่าอันไหนผิดถูกไม่ได้ แต่ถ้าผลออกมาว่าการสร้างแบบนี้ผิด จะกระทบกับอีกเป็น 10 โครงการที่เป็นลักษณะเดียวกันได้ด้วยหรือไม่ อันนี้ก็น่าสงสัยเช่นกัน
9
ส่วนตัวแอบสงสารลูกบ้าน เงินที่จ่ายไปไม่ใช่น้อย กับการที่ไม่รู้ว่าอนาคตบ้านตัวเองจะเป็นอย่างไร ก็หวังว่าเรื่องนี้จะจบในทางที่ทุกฝ่ายแฮปปี้ครับผม 😊
8
อ้างอิง
Eia ของโครงการ : http://eia.onep.go.th/projectdetail.php?id=7707
โฆษณา