Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตาโย้โสเหล่
•
ติดตาม
31 ก.ค. 2021 เวลา 05:53 • ประวัติศาสตร์
อารยธรรมโรมัน
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ก่อให้เกิดอารยธรรมโรมัน
1. อารยธรรมโรมันก่อกำเนิดบริเวณ คาบสมุทรอิตาลี โดยเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นเนินเขา และเทือกเขา มีพื้นที่ราบลุ่มน้อย จึงส่งผลให้ประวัติศาสตร์ของโรมัน ทำสงครามเพื่อขยายพื้นที่หรือหาที่ดินใหม่ เพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. การเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลกลับส่งผลดีต่อการติดต่อกับประเทศข้างเคียง อีกทั้งโรมันอยู่ตรงกลางระหว่าง กรีก และอียิปต์
อารยธรรมโรมันสมัยประวัติศาสตร์
ชาวโรมันมีความเชื่อตามตำนานว่า กรุงโรมสถาปนาขึ้นบนเนินเขา 7 ลูก โดยมีพี่น้องฝาแฝด ชื่อ โรมุสัล และ เรมุส ซึ่งเติบโตจากน้ำนมของหมาป่าจากมมหากาพย์ AENEID โดย VERGIL
อารยธรรมโรมันแบ่งออกได้ 3 ยุคสมัย
ยุคกษัตริย์ (Impeium) 753 – 509 B.C.
สาธารณรัฐ (Roman Republic) 509 – 273 B.C. กษัตริย์คนสำคัญ Julius Caesar
จักรวรรดิ (Roman Empire) 273 – 476 B.C. กษัตริย์คนสำคัญ Octavian
แต่ตามหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เชื่อว่าเป็นมีชนเผ่าดั้งเดิมอาศัยอยู่ ชื่อว่า อิทรุสกัน Etruscan ซึ่งสันนิษฐานกันว่าชาว อิทรุสกัน เป็นชาวกรีกเดิม แต่ได้เดินทางหาดินแดนใหม่เพื่อตั้งถิ่นฐาน จึงมาอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว อิทรุสกัน จึงได้นำวัฒนธรรม ความเชื่อแบบกรีก เข้ามายังในดินแดนนี้ด้วย เช่น ด้านศิลปะ การแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา อักษรกรีกที่ปัจจุบันกลายมาเป็นอักษรโรมัน เป็นต้น อิทรุสกันเข้ามาปกครองบริเวรโรมันในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก่อนที่จะถูกผสมกลมกลืนกลายเป็นชาวโรมันในที่สุด
ในโรมันมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ชนชั้นสูงเรียกว่า พาทริเชียน (Patrician)
2. ส่วนคนชั้นล่าง ประชาชน เรียกว่า เพลเบียน (Plebeian)
ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นตลอดเวลา
เมื่อ 466 B.C. เกิดคณะตรีบูน (Tribunes) >> สามารถให้สิทธิ “วีโต้” (Veto)
เมื่อ 494 B.C. พวกเพลเบียนได้มีสิทธิออกกฎหมายร่วมกับพวกพาทริเชียน ถือเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโรมันเรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables)
เมื่อ 264 – 146 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมันทำสงครามพิวนิก กับอาณาจักรข้างเคียง โรมันสามารถรบชนะประเทศตอนเหนือของแอฟริกา ชนะอียิปต์ ชนะกรีก ทำให้โรมันมีอำนาจเหนือดินแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด แม่ทัพผู้นั้นคือ จูเสียส ซีซาร์ แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งโรมัน
การดำเนินการของซีซาร์สรุป เป็นสาระดังที่เขากล่าวในสภาซีเนตว่า “ข้ามา ข้าเห็น ข้าชนะ” การขยายอาณาจักรยิ่งใหญ่ของโรมันส่งผลให้เกิดการสร้างถนนสายต่าง ๆ มุ่งเข้าสู่กรุงโรม ซึ่งกลายเป็นวาทศิลป์อันมีชื่อเสียง
เมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้เปลี่ยนการปกครองแบบสาธารณรัฐ มาใช้การปกครองแบบ จักรวรรดิ แทน โดยจักรพรรดิโรมันองค์แรกในการปกครอบแบบจักรวรรดิ คือ ออคเตเวียน (Octavian) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ออกัสตัส หรือ ออกุสตุส (Augustus) ในยุคนี้เรียกว่า จักรวรรดิโรมัน เป็นช่วงที่จักรวรรดิโรมัน แพร่ขยายพื้นที่ไปทั่วยุโรปตะวันออก นับเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ณ เวลานั้น
การเสื่อมของอาณาจักรโรมัน
คริสต์ศตวรรษที่ 1 คริสต์ศาสนาเริ่มแพร่ขยายเข้ามายังโรมัน แต่จักรวรรดิโรมันต่อต้านอย่างรุนแรง
ตั้งแต่ ค.ศ. 180 จักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อมอำนาจลง เนื่องจากไม่สามรถปกครองจักรวรรดิที่มีขนาดกว้างใหญ่มากๆได้
ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช จึงออกประกาศกฤษฎีกาให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา
ในยุคนี้เกิดการย้ายเมืองหลวงจากโรม ไปเป็น กรุงคอนสแตนตินโนเปิล เรียกว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) ปัจจุบันกรุงคอนสแตนตินโนเปิล อยู่ในประเทศตุรกี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันเริ่มอ่อนแอลงตามลำดับ ส่งผลให้ ชนเผ่าอานารยชนเข้ามาทำสงครามจักวรรดิโรมันตะวันตกอ่อนแอลงเพราะถูกทำลายโดยพวกอารยชนสำคัญ 2 เผ่า คือ เผ่าเยอรมันและพวกฮั่น (Huns) ซึ่งเป็นเชื้อสายเอเชีย
พวกเยอรมันโจมตีกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 410 และปล้นสะดมทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เกิดความระส่ำระสายขึ้นในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในที่สุดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ถูกโค่นใน ค.ศ. 476
นับเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโรมัน
มือใหม่หัดเขียนหากมีข้อมูลผิดพลาดหรือบิดเบียนต้องขอความรู้จากท่านผู้รู้ช่วยแนะนำให้บทความนี้สมบูรณ์ด้วยครับ ที่สำคัญ ขอขอบคุณแหล่งที่มาของการเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ครับ
- อาจารย์ธนภูมิ พุ่มจันทร์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
- นันทนา กบิลกาญจน์. ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 9 โอเดียนสโตร์ 2550
- ศฤงคาร พันธุพงศ์. อารยธรรมตะวันตก (WESTERN CIVILIZATION). พิมพ์ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2549
1 บันทึก
1
6
1
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย