31 ก.ค. 2021 เวลา 06:37 • การเมือง
เผด็จการกับระบอบเศรษฐกิจที่หลากหลาย
หลายคนคงจะสงสัยกันว่าระบอบการปกครองเเบบนี้ของเเต่ละประเทศคืออะไร เเล้วระบอบการปกครองเเบบนี้ดีจริงไหม ไม่ต้องมองไปไหนไกล มองประเทศไทยที่เราอยู่ในปัจจุบัน สรุปเเล้วเป็นระบอบการปกครองเเบบไหนกันเเน่?
1
ประเทศไทยเป็นระบอบการปกครองเเบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งกว่าจะได้ระบอบการปกครองเเบบนี้มานั้น ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งเคยอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือกระทั่งระบอบเผด็จการมาก่อน
วันนี้เราจะมาดูระบอบการปกครองกับระบอบเศรษฐกิจกันเพราะทั้งสองต่างสัมพันธ์กัน
1
ประเทศไทยกับระบอบการปกครองเเบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ระบอบเผด็จการ คือ ระบอบทางการเมืองที่รวมอำนาจไว้เพียงกลุ่มๆเดียวหรือเพียงคน
คนเดียว โดยมีหลักการ เช่น ควบคุมสื่อหรือข่าวสาร ประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ทำให้ขาดเสรีภาพในการเเสดงออก
3
ก่อนที่จะได้อำนาจมาส่วนใหญ่เริ่มจากการเป็นทหารมาก่อนเเล้วค่อยยึดอำนาจ
ผู้ที่เป็นเผด็จการส่วนมากจะไม่ได้บอกว่าตัวเองมาจากเผด็จการหรือยึดอำนาจจากประชาชนจะเลี่ยงใช้ว่า เข้ามาเพื่อปราบจราจล อยากให้ประเทศสงบสุข หรือเข้ามาในช่วงชุลมุน
อย่างไรก็ตามถึงปกครองในระบอบเผด็จการก็สามารถจัดการเลือกตั้งได้
เเต่อาจจะมีการโกงโหวต หรือ ไม่ยอมรับผลโหวตจากประชาชน
1
ต่อมาเรามาดูประวัติความเป็นมาของระบอบเผด็จการกัน ขอบอกก่อนว่าเผด็จการในสมัยก่อนไม่เหมือนสมัยนี้ โดยเริ่มต้นมาจากวุฒิสภาของโรมัน ในช่วง 510 ปีก่อนคริสต์ศักราชตั้งเผื่อเหตุฉุกเฉิน โดนตัดสินใจว่าจะต้องมีคนใดคนนึงที่เป็นผู้นำตัดสินใจ เพราะมีที่ปรึกษา 2 คน คนที่ถูกเลือกมีหน้าที่ในการกุมอำนาจนักการเมือง ห้ามดำรงตำเเหน่งเกินกว่า
6 เดือน เเละมีกฎกำหนดที่ชัดเจนของการมีอำนาจ
ความเเตกต่างของระบอบเผด็จการในสมัยก่อนกับสมัยนี้ที่เห็นได้ชัด คือ ผู้นำสามารถอยู่
ในอำนาจกี่ปีก็ได้ ปัจจุบันยังมีประเทศที่ใช้ระบอบเผด็จการอยู่ เช่น เกาหลีเหนือ ประเทศเเถบเเอฟริกา หรือ เมียนมาร์ เป็นต้น
คิมจองอึน ผู้นำของเกาหลีเหนือ
‘เมื่อเกิดการเเข่งขัน ต้องมีผู้เเพ้เเละผู้ชนะ’ ประโยคนี้เหมาะกับระบอบเศรษฐกิจที่เรียกว่าทุนนิยม เเล้วทุนนิยมคืออะไร? เป็นเเบบไหน? ใครได้ใครเสียประโยชน์?
ทุนนิยม คือ ระบอบเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เอกชนหรือบุคคลทั่วไปสามารถทำธุรกิจ
เป็นเจ้าของกิจการ โดยรัฐไม่เข้าไปเเทรกเเซงกิจการ สามารถทำการค้าขายเเบบเสรีได้ ปล่อยไปตามกลไกราคา ยิ่งมีผู้ขายเหมือนเรามาก เรายิ่งต้องพัฒนาสินค้าของเราให้ดีกว่า เกิดการเเข่งขันซึ่งมีกำไรเป็นเเรงจูงใจ
1
เเต่ผลที่ตามมาคือ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยความสามารถเเละโอกาส
ที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เเละสูญเสียทรัพยากรอย่างมาก
เพราะคนหันมาค้าขายประกอบธุรกิจมากขึ้นจากระบอบทุนนิยม
ต่อมาเรามาดูประวัติความเป็นมาของทุนนิยมที่มีมาตั้งเเต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เเละถูกพัฒนาเรื่อยมา ก่อนที่ Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวสกอตเเลนด์ จะมาทำเป็นทฤษฎี
โดยมีหลักการว่าทุนนิยมจะเข้าข้างผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต เเต่ที่มาของคอนเซ็ปท์ทุนนิยมในสมัยนี้ก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าใช่คอนเซ็ปท์ที่ใช้ในสมัยก่อนหรือเปล่า
Adam Smith ผู้เขียนหนังสือ The Wealth of Nations
ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ใช้ระบอบเศรษฐกิจเเบบผสม ( รัฐบาลควบคุมกิจการบางส่วน)
รวมถึงประเทศไทยที่ใช้ระบอบนี้
เมื่อมีทุนนิยมที่เอกชนสามารถประกอบกิจการเสรีได้นั้นก็ต้องมีสังคมนิยม
ที่รัฐบาลเข้ามาควบคุม เรามาดูกันว่า สังคมนิยมมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
1
สังคมนิยม คือ ระบอบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการ เอกชนทำได้เพียงกิจการขนาดย่อมนิดเดียวเท่านั้น ประชาชนต้องพึ่งพารัฐบาลไม่ว่าจะเป็น การรักษาสุขภาพ อาหาร ต่างๆ เพื่อความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมากไปกว่าใคร เเต่เศรษฐกิจจะไม่เติบโตเท่าทุนนิยมเพราะไม่มีการเเข่งขัน ทุกคนได้รับเท่ากันหมด
ประวัติความเป็นมาของสังคมนิยมเกิดในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 เรื่อยมาจนถึง
Karl Marxเเละ Friedrich Engels ทั้งสองเป็นชาวเยอรมันเป็นทั้งนักเศรษฐศาสตร์
นักปรัชญา นักประวัติศาตร์ เเละอื่นๆอีกมากมาย ทั้งสองเชื่อในเรื่องของสภาวะไร้ชนชั้น
ไม่มีแรงงาน ไม่มีนายทุน ทุกคนเท่ากัน
Karl Marx ( ขวา )เเละ Friedrich Engels ( ซ้าย ) ทั้งสองเขียนหนังสือชื่อ The Communist Manifesto
ขออนุญาตออกความคิดเห็นส่วนตัว : ส่วนตัวคิดว่าสังคมนิยมกับคอมมิวนิสต์ค่อนข้าง
ใกล้เคียงกันมาก ในหนังสือจะสอนว่า Karl Marx เป็นคนคิดค้นระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้น
เเต่ลองsearch หาหลายๆที่สังคมนิยมก็ Karl Marx คิดเหมือนกัน จึงคิดว่าใกล้เคียงกัน โดยมีหลักการว่าทุกคนเท่าเทียมกัน สภาวะไร้ชนชั้น เเต่เท่าที่สังเกตความเเตกต่างคือ คอมมิวนิสต์จะสนับสนุนชนชั้นเเรงงานเพราะถ้าไม่มีเเรงงาน นายทุนก็ไม่สามารถไปต่อได้ ( เป็นเพียงอุดมคติเท่านั้น ) ส่วน สังคมนิยมนั้นไม่ได้บอกเเน่ชัดว่าสนับสนุนใคร เเต่ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน โดยมีรัฐบาลคอยช่วยเหลือ ประเทศเเถบสเเกนดิเนเวียที่เป็นรัฐสวัสดิการก็นำเเนวคิดระหว่างประชาธิปไตยกับสังคมนิยมมาใช้ให้พอดีกัน คือ รัฐบาลมีหน้าที่
รับผิดชอบสวัสดิการต่างๆ เเต่ก็ยังเปิดเสรีในการค้าขายของเอกชนได้เเต่อยู่ในพอดี
อย่างไรก็ตามนี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว
ทุกคนคิดเห็นเป็นยังไงกันบ้างคะ สามารถเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะต่างๆ รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ🥰
เเหล่งที่มา
โฆษณา