Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Beach For Life
•
ติดตาม
31 ก.ค. 2021 เวลา 14:32 • สิ่งแวดล้อม
Beach for life จัดรายการ Beach Talk ชวนคุยเรื่องหาดทรายในหัวข้อ "กำเเพงกันคลื่นไปต่อหรือพอเเค่นี้ ?" โดยคุยกับ ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ได้ติดตามการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น เเละงบประมาณรายจ่ายปี 2564 เเละร่างรายจ่ายงบประมาณปี 2565 ซึ่งข้อมูลรายจ่ายงบประมาณนี้จะสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า หน่วยงานต่างๆจะให้กำเเพงกันคลื่นได้สร้างต่อ หรือ พอเเค่นี้ ? จาก Live ในเพจทำให้ Beach for life เรียบเรียงเนื้อหาจากการพูดคุยมีสาระใจความดังนี้
สถานการณ์การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นในประเทศไทย
หากพูดถึงสถานการณ์ภาพรวมของการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในประเทศไทย เราจะพบว่าฝั่งอ่าวไทยจะมีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นค่อนข้างเยอะกว่าฝั่งอันดามัน เนื่องจากชายฝั่งอ่าวไทยมีลักษณะเป็นเส้นตรง ไม่เหมือนฝั่งอันดามันมีลักษณะเป็นกระเปราะ ซึ่งการเป็นกระเปาะทำให้ความเสียหายจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นไปลุกรามบานปลายไปชายหาดอื่นๆใกล้เคียง ในภาพรวม 3000 กว่ากิโลเมตร ของประเทศไทย โดยการดูจากภาพถ่ายดาวเดียม ประกอบกับการสำรวจภาคสนาม ซึ่งเราลงเก็บข้อมูลปลายปี 2562 พบว่ามีโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น 179 ตำแหน่ง ใน 23 จังหวัด หรือก็คือในทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งรวม 164.67 กิโลเมตร
ภาพ เเสดงตำเเหน่งกำเเพงกันคลื่นบนชายหาดในประเทศไทย ข้อมูล ธันวาคม 2562
หากเราเจาะลึกลงไปในเเต่ละชายหาด ซึ่งอยากยกตัวอย่างชายหาดสัก 1 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่พิเศษเพราะมีงบประมาณก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ มาเป็นตัวอย่าง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวชายหาดประมาณ 250 กิโลเมตร ถ้าดูในแผนที่ดาวเทียมจะพบว่า กำแพงกันคลื่นมันกระจุกตัวอยู่บริเวณหัวหิน และอีกตำแหน่งคือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งหากเราเอากำแพงกันคลื่นวิเคราะห์พบว่า ตลอดแนวชายฝั่ง 250 กิโลเมตร มีกำแพงกันคลื่น 15 % ตัวอย่างกำแพงกันคลื่นในจังหวัดประจวบฯ เช่น หาดปราณบุรี ที่ได้พูดถึงผลกระทบอยู่บ่อยๆในสื่อต่างๆ อ่าวน้อย ซึ่งมีการฟ้องร้องกันในชั้นศาลปกครองเพชรบุรี ต่อมาคือ อ่าวประจวบ เป็นกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง อีกพื้นที่หนึ่งคือ ทุ่งประดู่ กำแพงกันคลื่นยังสร้างไม่เสร็จ แต่โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นที่ทุ่งประดู่ มีผลกระทบต่อชาวบ้าน จึงมีการฟ้องร้องกัน
พื้นที่ที่กล่าวมาเป็นกำแพงกันคลื่นที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพว่านี่คือกำแพงกันคลื่นหลายๆรูปเเบบที่หน้าตากเเตกต่างกันไป เป้าหมายของการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น คือ เพื่อการป้องกันพื้นที่ด้านหลังกำเเพงกันคลื่นให้ปลอดภัย เเต่สิ่งที่ตามมาในเชิงผลกระทบคือ การกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่องเเบบโดมิโน่ รวมถึงการสูญเสียพื้นที่ชายหาดหน้ากำเเพงกันคลื่นไป
ชวนดูกำเเพงกันคลื่นทั่วทั้งประเทศไทย
- หาดชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นแบบขั้นบันไดขั้นเดียว ซึ่งยังสร้างไม่เสร็จ
- หาดพยูน จ.ระยอง ซึ่งเป็นกำแพงกันคลื่นแบบท่อซีเมนต์ธรรมดาวางอย่บนชายหาด
- หาดบางสัก จ.พังงา ซึ่งอย่างกรณีหาดบางสัก ดูเหมือนจะไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอะไร แต่ก็มีกำแพงกันคลื่น
- หาดดงตาล สัตหีบ จ.ชลบุรี มีงบปี 2564-2565 ก็น่าจะมีการสร้างต่อ ซึ่งหาดดงอ่าวน่าจะโดนขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นทั้งหมดแล้ว
- หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี เป็นลักษณะของอิลักโตรโครน่าจะเป็นที่แรกๆที่มีการใช้อิลักโตรโครท
- หาดทรายรี จ.ชุมพร
- หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต ที่มีทางลาดลงไปและมีกำแพงแบบตั้งตรง
- หาดจอมเทียน พัทยา มีกำแพงกันคลื่น และกำลังจะมีการเติมทราย เหมือนหาดพัทยา เร็วๆคงจะมีการดำเนินการ
- แหลมตาชี จ.ปัตตานี เป็นแบบหินทิ้ง
- แหลมงู เกาะลันตา จ.กระบี่ กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได
- บางเนียน จ.พังงา เมื่อก่อนเป็นหาดทรายที่สวย แต่เมื่อรีสอร์ทแห่งหนึ่งเริ่มทำกำแพงกันคลื่น ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง จากนั้น รีสอร์ทที่เหลือก็เริ่มก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบ้าง เมื่อทำกำเเพงกันคลื่นเเบบตั้งตรง ทำให้คลื่นสะท้อนกลับ เเละโครงสร้างกำเเพงกันคลื่นที่ทำมีเสถียรภาพต่ำ จึงเป็นที่มาที่ทำให้มีการวางหินหน้ากำเเพงกันคลื่นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับโครงสร้างกำเเพงกันคลื่น
- หาดเทพา จ.สงขลา เป็นของเอกชนเเห่งหนึ่ง เป็นลักษณะกำเเพงกันคลื่นตั้งตรง
- หาดปากบารา จ.สตูล ทางทิศใต้ของลาน 18 ล้าน ตรงใกล้ทางขึ้นเรือไปเกาะหลีเป๊ะ
- หาดชลาทัศน์ เป็นกำแพงกระสอบทราย ซึ่งอยู่คู่หาดชลาทัศน์มา 10 ปีแล้ว
- หาดนางทอง เขาหลัก
- หาดคุ้งวิมาน จ.จันทรบุรี ทราบว่าทางหน่วยงานก็กำลังจะมีโครงการซ่อมแซมกำแพงกันคลื่นอันเก่าเพราะชำรุดเสียหาย
- บางปู จ.สมุทรปราการ กำแพงกันคลื่นตัวนี้เป็นกำแพงที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงสุด เท่าที่มีข้อมูลคือ 172 ล้านบาท ซึ่งเขาตั้งใจที่จะโปรโมทการท่องเที่ยวด้วยโดยมีการทำลานกิจกรรม ทางจักรยาน เป็นพื้นที่สาธารณะในการพักผ่อนหย่อนใจของคน และด้านหน้ากำแพงกันคลื่นก็มีหินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับกำแพงกันคลื่น
- หาดนพรัตน์ธารา จ.กระบี่ เป็นกำเเพงกันคลื่นลักษณะเกเบี้ยน
- หาดบาเฆะ จ.นราธิวาส การวางหินทิ้ง
- เกาะยาวน้อย จ.พังงา
- หาดสวนสน จังหวัดระยอง เป็นกำแพงแนวดิ่ง
- เกาะสุกร จังหวัดตรัง กำแพงกันคลื่นนี้ยังสร้างไม่เสร็จ และกำลังจะมีโครงการต่อไป
ที่กล่าวมาคือกำแพงกันคลื่นที่สร้างเสร็จเเล้ว และหลังจากนี้จะพาไปดูกำแพงกันคลืนที่ยังสร้างอยู่ในปัจจุบัน
- หาดเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา ก่อสร้างโดยกรมเจ้าท่า ระยะทาง 3 กิโลเมตรกว่า เเบบเรียงหินใหญ่
- หาดบางเพล
- หาดทรายเเก้ว ชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบเเนวดิ่ง สร้างโดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดปากน้ำแขมหนู ลักษรณะขั้นบันได โดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดมหาราช จังหวัดสงขลา เป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได ความยาว 3 เฟส รวม 1,300 เมตร
- หาดปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นลักษณะหินเรียงใหญ่ ก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชายหาดที่ต่อเนื่องจากปากเเตระ โดยมีปากคลองระวะ เป็นตัวกัน มีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบเรียงหินใหญ่ โดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ทั้งหมดนี้คือโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นที่เกิดขึ้นบนชายหาดทั่วทั้งประเทศไทย อันนี้เป็นบางส่วนของการก่อสร้างทั้งหมด ถ้าไม่เรียกว่า "กำเเพงกันคลื่นระบาด" เราก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร เพราะมันเต็มไปหมดทั่วชายหาดในประเทศไทย
ติดตามต่อตอนถัดไป
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beach Talk Message
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย